Sep 3, 2010

'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร

สรุปข่าว : 'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร
Ref: www.mba2010.wikidot.com

ปัจจุบันสื่อสังคม (Social media) เช่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมในยุคปัจจุบัน โดยที่ social media ถูกใช้สำหรับการบริโภคข่าวสารของคนยุคใหม่ เพราะการนำเสนอข่าวสารรวดเร็วกว่าสื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ที่เราใช้ในการบริโภคข่าวในอดีตค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตามสื่อสังคมยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากโซเชียลมีเดียเป็นสื่อที่ใครๆ ก็นำเสนอข่าวได้หรือที่เรียกว่าผู้สื่อข่าวประชาชน ปัญหาของสื่อสังคมคือการที่ใครๆ สามารถนำเสนอข่าวทำให้มีทั้งข่าวเท็จ และข่าวที่เกินจริง โดยจากผลการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพของธุรกิจบัณฑิตย์โพลพบว่า ร้อยละ 42 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความแตกแยกในสังคมให้มากขึ้น และร้อยละ 30 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความสมานฉันท์ รวมถึงประเด็นในเรื่องความถูกต้อง จากผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 56 ไม่แนใจว่าข่าวจากสื่อสังคมเป็นข่าวลวงหรือจริงมากกว่ากัน และส่วนใหญ่(ร้อยละ 26) ให้ความเชื่อถือข่าวเพียงครึ่งเดียวจากสื่อสังคม

ด้วยเหตุนี้ ผู้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคม (Social media) จะต้องทำการคัดกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว เพราะสื่อสังคมเป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา โดยเฉพาะในทวิตเตอร์ที่มีคนติดตามข่าวสารกันค่อนข้างเยอะ เช่น ติดตามจากนักข่าว สำนักข่าวต่างๆ หรือผ่านทางผู้ใช้บริการด้วยกันเอง ซึ่งบางทีอาจจะมีการบิดเบือนมุมมองของข่าวบางข่าวไป หรืออาจมีการปล่อยกระแสขึ้นมาแต่ข้อดีของทวิตเตอร์คือการรวมตัวกันของผู้ ติดตามและคนที่ติดตามเหล่านี้จะเป็นตัวกรองข่าวที่ดี หากมีการให้ข่าวที่ไม่เป็นความจริงจะส่งผลให้ความน่าเชื่อถือจะลดลงไปเอง นอกจากนี้สื่อสังคมยังสามารถช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ได้ บางครั้งมีสื่อสังคม ทำให้การนัดพูดคุยแลกเปลี่ยน ตามมาด้วยเกิดการรวมตัวกันจัดกิจกรรมดีๆ เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเซิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์ ในทางกลับกันก็อาจมีกลุ่มคนบางกลุ่มนำกลุ่มบนสื่อสังคม มาใช้ในการปลุกปั่น บิดเบือนข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน

อนาคตสื่อสังคมจะขยายขึ้นอีกแต่คงไม่สามารถแทนที่สื่อกระแสหลัก แต่สื่อสังคมก็เป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคข่าวสารที่สามารถที่จะเลือกรับ ข่าวสารได้ และมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะมีบทบาทในเชิงการตลาดและเชิงการเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยในอนาคตจะมีนักการเมืองใช้สื่อสังคมในการสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ ด้านต่างๆมากขึ้นตามลำดับ


วิเคราะห์เนื้อหาข่าว : 'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร


ปัจจุบันวิธีการใช้อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่าง รวดเร็ว ในอดีตการรับข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตจะถูกกำหนดโดย Web Master ผู้บริโภคทำได้เพียงบริโภคข่าวสารตามที่ Web Master ของเว็บไซต์นั้นๆได้ให้ข้อมูลไว้ หรือที่เรียกว่ายุค “Web 1.0” แต่ในปัจจุบันเทรนด์ของการใช้อินเตอร์เน็ตเปลี่ยนไปสู่ “Web2.0” คือเว็บไซต์ที่ข้อมูลข่าวสารจะถูกปรับเปลี่ยนโดยผู้ใช้บริการเอง จึงเกิดคำว่า “Prosumer” กล่าวคือ ผู้ใช้บริการเป็นผู้สร้างและบริโภคข้อมูลไปในขณะเดียวกัน จึงทำให้เว็บไซต์ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันก็คือ Social Media

Social Media คือ สื่อทางสังคมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสร้างชุมชน สำหรับการสร้างเครือข่ายการแชร์ข้อมูล ความรู้ และความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งคนไทยนิยมใช้สื่อสังคมประเภท Social Network, Video Sharing, Blog, Wiki และ File Sharing เป็นส่วนใหญ่ โดย 10 อันดับ Social Media ยอดนิยมในประเทศไทย ที่ถูกจัดอันดับในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 โดย Alexa มีดังนี้


1.Facebook (Social Network)
2.Youtube (Video Sharing)
3.Hi5 (Social Network)
4.Blogger (Blog)
5.Wikipedia (Wiki)
6.shared (File Sharing)
7.mediafire (File Sharing)
8.exteen (Blog)
9.bloggang (Blog)
10.multiply (Blog & Photo Sharing)


สื่อสังคม (Social Media) จึงเข้ามามีบทบาทต่อนักเล่นอินเตอร์เน็ตไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบ Social Network อย่าง Facebook,Hi5 และ Twitter ที่ตามมาในอันดับที่11 และมีแนวโน้มในการใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากอิทธิพลของ “Network Effect” โดย Social Network มีอิทธิพลต่อการบริโภคข่าวสารในรูปแบบใหม่ คือ การบริโภคข่าวสารจากคนในเครือข่ายด้วยกันเอง สังเกตได้จากเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่าน ทาง Social Network ค่อนข้างมากและติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความทันต่อเวลาแบบ Real Time มากกว่าสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะใน Facebook และ Twitter ซึ่งการบริโภคข่าวสารผ่าน Social Network เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งจะทำการวิเคราะห์ในลำดับถัดไป


วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ Social Media ต่อการบริโภคข่าวสาร

ข้อดี :
• ทำให้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรูปแบบของ Web 2.0 ผู้ใช้บริการคือ “Prosumer” กล่าวคือ ผู้ใช้บริการเป็นผู้สร้างและบริโภคข้อมูลไปในขณะเดียวกัน จึงมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ทราบให้แก่ผู้ร่วมเครือข่ายแบบ Real Time
• สำนักข่าว สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆทั้งของไทยและต่างประเทศก็มีการนำ Social Media มาเป็นช่องทางหนึ่งในการส่งข้อมูลข่าวสารสู่ผู้บริโภค เช่น CNN (http://twitter.com/cnnbrk) , ช่อง7 ( http://twitter.com/BBTVChannel7 ) , จส100 (http://twitter.com/js100radio) ,Positiongmag(http://www.facebook.com/positioningmag) เป็นต้น ซึ่งมาใช้ในการส่งข่าว ให้กับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามผ่าน Social Media ได้ทันที ซึ่งไม่มีข้อจำกัดต่างๆเหมือนช่องทาง วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสารต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ หรือมีข้อจำกัดในด้านเวลา เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว ขึ้น
• เว็บไซต์ Social Media มีการออกแบบ Application ต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเสนอสื่อรูปแบบต่าง ๆ ทั้งข้อความ รูปภาพ วีดีโอ หรือเพลง ซึ่งทำให้รับข่าวสารได้มีความชัดเจนมากขึ้น
• เว็บไซต์ Social Media สามารถนำมาใช้เป็นเคริ่องมือสำหรับบุคคลหรือองค์กร ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ในด้านต่างๆแก่ผู้บริโภค โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เช่น PM_Abhisit , GTH ,We love SF , ร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น นอกจากจะเป็นผลดีต่อบุคคลหรือองค์กรนั้นๆแล้ว ซึ่งทำให้เกิดข้อดีแก่ผู้บริโภค เนื่องจากสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากขึ้น รวมถึงสามารถเปรียบเทียบข้อมูลข่าวสารก่อนการตัดสินใจได้
• ทำให้เกิดการบริโภคข่าวสารและก่อให้เกิดกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์สังคม เช่นมีการรวมกลุ่มกันของคนที่ทำสิ่งดีๆ เพื่อชาติเพื่อสังคม เคยมีการนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางเพื่อเตรียมทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเสิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์

วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ Social Media ต่อการบริโภคข่าวสาร

ข้อเสีย :
• เนื่องจาก Social Media คือเว็บไซต์ที่ข้อมูลข่าวสารจะถูกปรับเปลี่ยนโดยผู้ใช้บริการเอง ดังนั้นการลงข้อมูลข่าวสารบน Social Media เป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา บางครั้งอาจมีการตัดต่อปลอมแปลงข้อความก่อนส่งต่อ หรือการใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปในเนื้อหาข่าว ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาจจะบิดเบือนไปได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนรับข้อมูลข่าวสาร จะต้องมีการตรวจที่มาที่ไปของสาร รวมถึงต้องใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อเหล่านั้น
• หากผู้ใช้บริการนำ Social Media ไปใช้ในทางที่ผิด ก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการทำผิดได้ เช่นในเรื่องการเมือง หากใช้โฆษนาชวนเชื่อ บางคนบอกว่าสื่อสังคมเป็นผู้กำกับเช่นกลุ่มเฟซบุ๊คที่เรียกร้องให้ยุบและไม่ ยุบสภา รวมถึงพวกเว็บบอร์ดที่กลายเป็นเครื่องมือด้านการเมือง เพราะเว็บบอร์ดมีกลุ่มคนอยู่แล้ว การเอาเรื่องเข้ามาปลุกปั่นก็จะง่าย ที่สำคัญผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันสื่อ


การนำ Five Forces Model มาวิเคราะห์ Social Media

porter.jpg

1. ความเข้มข้นของการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Rivalry among existing firm)
การแข่งขันในอุตสาหกรรม Social Media มีสูง เนื่องจากมีผู้แข่งขันในตลาดหลายรายด้วยกัน นับเฉพาะที่เป็น Social Network ก็มีมากมาย เช่น Facebook Twitter Myspace Hi5 ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยโดยมีการแข่งขันกันในลักษณะของการพัฒนา Application ใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง ปรับรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมได้มากที่สุด และทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็น Friendly User
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์อื่นๆที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่าย ผู้ใช้ในประเทศไทย เช่น Google Me ที่มีการปรับ application ใหม่ๆเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงยังมีคู่แข่งภายในประเทศ อีก ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกับ ทวิตเตอร์ คือ Noknok และ Kapook OnAir ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ก็มีฐานผู้ใช้ในระดับหนึ่ง
ยังมีแนวโน้มว่าความเข้มข้นของอุตสาหกรรม Social Media จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนสามารถเข้าถึง Social Media ได้จากช่องทางต่างๆได้มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาจุด Hotspot ให้สัญญาณ Wi-Fi การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีค่าบริการถูกลงเรื่อยๆ รวมถึง Wi-Max และ เทคโนโลยี 3G ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในอนาคต จึงทำให้คนสามารถเข้าถึงสื่อสังคมได้ทุกที่ทุกเวลา และจะเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคข่าวสารของคนไปในเชิงของ Social Media มากขึ้นเรื่อยๆ

2.การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ (Potential New Entrants)
คู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้ามาสู่ธุรกิจได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาเรื่อยๆ เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเข้าสู่ธุรกิจไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามในสังคมออนไลน์ การที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้บริการเว็บไซต์ใดนั้น มีผลมาจาก Network Effect คือจำนวนคนที่เขารู้จักที่เล่นใน Social Media นั้นเช่นกัน ดังนั้นหากคู่แข่งรายใหม่จะสามารถแข่งขันได้ ก็จะต้องพัฒนา Application ต่างๆที่สามารถดึงดูดกลุ่มเครือข่ายให้ย้ายตามไปได้ โดยที่เขาไม่คำนึงถึง Switching Cost ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากพอสมควร

3.อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (The bargaining power of supplier)
อำนาจต่อรองต่อซัพพลายเออร์ค่อนข้างสูง เนื่องจาก ซัพพลายเออร์ของ Social Media คือ ผู้ให้บริการ Host ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลของ User ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายเจ้า ที่ธุรกิจจะสามารถเลือกพิจารณาถึง เทคโนโลยี ขนาดข้อมูลที่เก็บได้ ความเร็ว ฯลฯ จากผู้ให้บริการที่เหมาะสมที่สุดได้ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่สามารถพัฒนาระบบเก็บข้อมูลเองได้

4.อำนาจการต่อรองของลูกค้า (The bargaining power of buyer)
Social Media มีอำนาจต่อรองต่อลูกค้าต่ำ เนื่องจากมีผู้ให้บริการ Website Social Media หลากราย และมีการพัฒนา Application ใหม่ๆรวมถึงมีการปรับปรุง Platform ให้ Friendly User มากที่สุด ดังนั้นหากลูกค้าไม่พอใจก็สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการของคู่แข่งได้

5.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Substitute Products)
สินค้าทดแทน คือ สื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ ที่มีการปรับรูปแบบการให้บริการเหมือนกัน อาทิ บริการข่าวผ่าน sms หรือรูปแบบการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ซึ่งต้องดูต่อไปว่าจะมีการปรับรูปแบบกันอย่างไรอีก แต่อย่างไรก็ตามสื่อสังคมก็ยังมีความได้เปรียบสื่อกระแสหลักในเรื่องความ เร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าบริการ



---


ข่าวต้นฉบับ
'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร โดย : วริศ พันธุ์โอสถ
วันที่ 5 กรกฎาคม 2553 16:17
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20100705/341346/โซเชียลมีเดียกำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร.html
ตั้งแต่โซเชียลมีเดียเกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้ หน้าที่ของมันเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้า เช่นเฟซบุ๊คที่กลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการบริโภคข่าวสาร ปัจจุบันสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดีย (Social media) เช่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคม โดยเฉพาะในการบริโภคข้อมูลข่าวสารเวลาเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เช่นที่อิหร่านเมื่อปีที่แล้วที่สื่อกระแสหลักถูกรัฐควบคุม ในเมืองไทยเองเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็ถือว่าสื่อ สังคมมีส่วนสำคัญในการนำเสนอข่าวสารซึ่งรวดเร็วกว่าสื่อกระแสหลักเช่นทีวี หรือหนังสือพิมพ์มาก สื่อสังคมเป็นสื่อที่ใครๆ ก็นำเสนอข่าวได้หรือที่เรียกว่าผู้สื่อข่าวประชาชน ปัญหาของสื่อสังคมคือการที่ใครๆ สามารถนำเสนอข่าวทำให้มีทั้งข่าวเท็จ และข่าวที่เกินจริง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความแตกแยกมากกว่าสมานฉันท์ ซึ่งธุรกิจบัณฑิตย์โพลทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วยการสอบถามโยตรงและทางออนไลน์ พบว่าร้อยละ 42 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความแตกแยกในสังคมให้มากขึ้น และร้อยละ 30 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความสมานฉันท์
อย่างไรก็ตามร้อยละ 56 ไม่แนใจว่าข่าวจากสื่อสังคมเป็นข่าวลวงหรือจริงมากกว่ากัน และส่วนใหญ่(ร้อยละ 26) ให้ความเชื่อถือข่าวเพียงครึ่งเดียวจากสื่อสังคม

นายนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ ผู้สื่อข่าวจากเนชั่นแชนแนล หนึ่งในผู้ที่ใช้ทวิตเตอร์ในการสื่อข่าวและมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากกล่าวถึง เรื่องนี้ว่าต้องดูก่อนว่าสังคมมันแตกแยกอยู่แล้วหรือไม่ บทบาทของสื่อสังคมในช่วงวิกฤตทางการเมือง เป็นหมือนทั้งพระเอกและผู้ร้ายพร้อมๆ กัน ขึ้นกับคนฟังมากกว่า เพราะข่าวเดียวกันมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ถ้าเป็นข่าวที่คนนั้นชอบ นักข่าวก็จะกลายเป็นพระเอก ในทางกลับกันหากเป็นข่าวที่คนนั้นไม่ชอบ นักข่าวก็จะกลายเป็นผู้ร้าย

“สื่อเองก็ต้องทบทวนบทบาทตนเองบ่อยๆ” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวและว่า “บางทีเรากดข่าวที่แรงเกินไป ก็กลับมีคนมาบอกว่าในฐานะสื่อต้องแสดงออกมาหมด”

นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวว่าหน้าที่ของสื่อคือต้องนำเสนอแต่ความจริง ต้องสื่อให้มากที่สุด ต้องยอมรับว่าในบางสถานการณ์นักข่าวสามารถเปลี่ยนมุมมองของข่าวได้ แต่ข้อดีของทวิตเตอร์คือการรวมตัวกันของผู้ติดตามและคนที่ติดตามเหล่านี้จะ เป็นตัวกรองข่าวที่ดี เพราะจะคอยเช็กได้เวลานักข่าวเขียนผิด คนที่รายงานข่าวเท็จบ่อยๆ ความน่าเชื่อถือจะลดลงไปเอง สรุปแล้วสามารถกรองข่าวในระดับหนึ่งด้วยจำนวนคน
“ถ้าหากผมยังไม่มีคนเชื่อถือเหมือนตอนนี้ คนอื่นจะมากรอง การเป็นนักข่าวก็ต้องกรองเองอยู่แล้ว เช่นเราจะไม่บอกว่าระเบิดเอ็ม79 ลง บอกแค่ว่าเสียงระเบิดเหมือนเอ็ม 79” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าว

นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวว่าในการรายงานข่าวจะต้องเขียนให้อารมณ์ความรู้สึกน้อย กว่าอารมณ์จริง ตนเคยทำผิดพลาดที่เหตุปะทะที่ตลาดไท ตนได้ยินตำรวจคนหนึ่งบอกว่าสะใจที่ทหารตายเลยอัดวีดีโอแล้วนำไปเผยแพร่ ปรากฏว่าคลิปนั้นสร้างอารมณ์ให้คนรับข่าวมากเกินไป บางคนบอกมันเป็นใครจะไปจัดการ สุดท้ายก็เอาคคลิปนั้นออกไป ตอนนี้ทางเนชั่นกำลังร่างจริยธรรมการใช้สื่อสังคมในการเสนอข่าว
“บางคนไม่คิดจะกรองข่าวเลย ไปตัดต่อคลิปแล้วก็เผยแพร่ คือจะหลอกลวง ของเราถึงไม่ได้ตัดต่อก็ต้องกรองออกอยู่ดี เช่นมันจะเป็นการละเมิดคนอื่นหรือไม่” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าว
ส่วนการอาผิดคนปล่อยเรื่องเท็จนายนภพัฒน์กล่าวว่าจะเป็นเรื่องลำบากมากเพราะ ในสื่อสังคมมีทั้งคนจริงเช่นสิทธิชัย หยุ่น และคนปลอม

ส่วนนายพงศ์พัฒน์ เกิดอินทร์ ตัวแทนของกลุ่ม ทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์ (Twitter for Thailand) กล่าวว่า เชื่อว่าสื่อสังคมสามารถสร้างความสมานฉันท์ได้ ตัวทวิตเตอร์เองมีพลังเยอะมาก เช่นตอนวันเฉลิมพระชนม์พรรษา คำว่า We Love King กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโลกในทวิตเตอร์ ทั้งที่คนไทยที่เล่นทวิตเตอร์เป็นส่วนน้อยมากของประชากรทวิตเตอร์ทั้งโลก

กลุ่มทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์เป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่ทำสิ่งดีๆ เพื่อชาติเพื่อสังคม เคยมีการนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางเพื่อเตรียมทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตามนายพงศ์พัฒน์กล่าวว่า สื่อสังคมคงไม่ยิ่งใหญ่ขนาดทำให้เกิดการสมานฉันท์ แต่สื่อสังคมสามารถช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ได้ ทวิตเตอร์ดีตรงที่รวมตัวหรือความเห็นได้รวดเร็วมาก ถ้ารวมตัวทำดีก็สามารถทำดีได้มหาศาล เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเซิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์

ในเรื่องบทบาทของสื่อสังคมในช่วงวิกฤตการเมือง นายพงศ์พัฒน์กล่าวว่าเรื่องนี้ต้องมองรอบด้าน เพราะถึงแม้ทวิตเตอร์จะมีพลังมากแต่บางครั้งข่าวที่ส่งกันก็เชื่อถือได้แค่ ครึ่งเดียว ซึ่งตนก็จะไม่ส่งต่อไปเพราะไม่อยากให้เกิดความไม่แน่นอน

ในการสำรวจของธุรกิจบัณฑิตย์โพลระบุอีกว่าผู้ตอบแบบสอบถามติดตามเรื่องความ ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับนปช. ผ่านเฟซบุ๊คมากที่สุดถึงร้อยละ 39 รองลงมาคือยูทูบร้อยละ16และไฟว์ร้อยละ 15 อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสอบถามก็ยังรับข่าวสารจากสื่อกระแสหลักอยู่และร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ชื่อว่าสื่อสังคมถูกกลุ่มบุคคลใช้เป็นเครื่อง มือแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง

“อนาคตสื่อสังคมจะขยายขึ้นอีกแต่คงไม่สามารถแทนที่สื่อกระแสหลัก เพราะข่าวในสื่อสังคมส่วนใหญ่มาจากสื่อกระแสหลักอีกที เช่นวิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์อีกที แต่สื่อสังคมทำให้เราเลือกที่จะรับข่าวสารได้ และมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น” นายพงศ์พัฒน์กล่าว

ในเรื่องการควบคุมเนื้อหาในสื่อสังคมนายพงศ์พัฒน์กล่าวว่ากรณีที่มีการทำผิด พลาดแล้วออกมายอมรับก็มีอยู่ ในกลุ่มทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์ก็เคยคิดกันเรื่องการเซ็นเซอร์ แต่เห็นว่าคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะทวิตเตอร์เป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา บางครั้งอาจมีการตัดต่อปลอมแปลงข้อความก่อนส่งต่อ การตรวจที่มาที่ไปของสารจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนรับสาร

ผศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่าสื่อสังคมเป็นได้ทั้งผู้ร้ายและพระเอกเช่นเป็นผู้ร้ายหากใช้โฆษนา ชวนเชื่อ บางคนบอกว่าสื่อสังคมเป็นผู้กำกับเช่นกลุ่มเฟซบุ๊คที่เรียกร้องให้ยุบและไม่ ยุบสภา พวกเว็บบอร์ดที่กลายเป็นเครื่องมือก็มีเยอะ เพราะเว็บบอร์ดมีกลุ่มคนอยู่แล้ว การเอาเรื่องเข้ามาปลุกปั่นก็จะง่าย ที่สำคัญผู้บริโภคต้องเท่าทันสื่อ เพราะเดี๋ยวนี้มีการใช้เฟซบุ๊คในการประชาสัมพันธ์พรรคการเมืองหรือภาพลักษณ์ รัฐบาล สื่อสังคมก็จะตกเป็นเครื่องมือได้
บางครั้งนักข่าวสื่อกระแสหลักก็เอาข่าวจากสื่อสังคมไปนำเสนอโดยไม่ได้กรอง ซึ่งเรื่องพวกนี้ผู้บริโภคจะต้องคอยระวัง แต่ท้ายทีสุดแล้วสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับผู้รับสารก่อน ต้องเชื่อว่าผู้ใช้สื่อสังคมเป็นพลังบริสุทธิ์ ต้องเชื่อมั่นในผู้บริโภคและช่วยกันตรวจสอบ การใช้ภาพและภาษาที่จะดึงดูดก็อาจทำให้เกิดการใช้ภาพที่ไม่หมาะสมได้ ดังนั้นสังคมต้องเอาพวกดีเข้ามา และเอาพวกที่ไม่ดีออกไปจากสื่อสังคม

ส่วนเรื่องที่บางคนบอกว่าสื่อสังคมจะเป็นผู้เขียนบทของสังคม ผศ.ดร.กุลทิพย์กล่าวว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะความจริงทุกคนเขียนเองได้ มันเป็นกฎของประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องเป็นผู้ออกแบบสังคมเอง
นายนภพัฒน์จักษ์ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่าคงยาก ถ้ามองจากบทบาท ณ ปัจจุบันนั้น ตนไม่ได้อยากเป็นผู้เขียนบท แค่เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค

ในสังคมแตกแยกเล้วจะใช้สื่อเพื่อสร้างความสมานฉันท์อย่างไร มันยากเพราะที่สื่อเสนอความจริง สามเดือนที่ผ่านมาความจริงทำให้เกิดการแตกแยก สื่อก็ลำบาก ต้องระวังเรื่องความเห็น ตอนจะเริ่มเจรจากันตนถึงกล้าให้ความเห็นว่าการเจรจาเป็นความหวังสูงสุดของ ประเทศ หรือย่างตอนวันที่ 18 มิ.ย. ก่อนการสลายการชุมนุมซึ่งหน้าเวทีมีแต่เด็กและผู้หญิง ตนก็นำเสนอข่าวนี้ไปให้รัฐบาลรู้ว่าสภาวะการณ์เป็นอย่างไร และให้แกนนำรู้ว่าประชาชนทุกคนรู้ว่าเช่นกันว่าที่ชุมนุมเต็มไปด้วยเด็กและ ผู้หญิง

หลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบผ่านพ้นไป ดูเหมือนว่าบทบาทด้านการเมืองของสื่อสังคมก็ค่อยๆ ซาลงเช่นกัน แต่ในอนาคตสื่อสังคมคงจะมีบทบาทในด้านการเมืองเพิ่มขึ้น นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว. กระทรวงไอซีทีเคยออกมากล่าวว่าจะให้สส. และสว. ทุกคนมีทวิตเตอร์ ปัจจุบันนักการเมืองหลายคนใช้เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์เช่นนายกฯอภิสิทธิ์และใน อนาคตคงจะมีนักการเมืองอีกมากที่หันมาใช้สื่อสังคมเช่นเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20100705/341346/โซเชียลมีเดียกำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร.html
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20100303/103124/10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-Social-Media-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html
http://www.thairath.co.th/content/tech/80098
• เอกสารประกอบการเรียนวิชา MIS เรื่อง แนวโน้ม IT นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต โดย ผศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ

No comments:

Post a Comment