Feb 14, 2010

พม่า: 48 ปีแห่งการต่อสู้ระหว่าง"พลังประชาธิปไตย"กับ"พลังเผด็จการ"



จากเหตุการณ์นองเลือดในการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าเมื่อหลายวันที่ผ่านมานับเป็นบท สะท้อนถึงความโหดร้ายของระบอบเผด็จการทหารพม่า ระบอบที่มิได้เป็นภัยคุกคามต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของอาเซียนเท่านั้นแต่ยังเป็นภัยคุกคามต่อทั้งสันติภาพและความมั่นคงของโลก ดังที่จอห์น โบลตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเอ็นได้เคยกล่าวถึงพม่าไว้เมื่อปีที่แล้วว่า

"พม่า นั้นเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก ภายในประเทศเอง รัฐบาลพม่าก็กดขี่ข่มเหงประชาชน จนต้องเดินทางหลบหนีภัย ไม่ต่างอะไรกับสถานการณ์อ่าวเปอร์เซียหลังสงครามอ่าวครั้งแรก "

ใน ขณะเดียวกันโบลตันก็ได้สะกิดยูเอ็นว่า ยูเอ็นนั้นได้รับฟังการบรรยายสรุปพัฒนาการที่เกิดขึ้นในพม่าจากนายอิบราฮิม กัมบารี รองเลขาธิการยูเอ็นมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้งแต่ก็ไม่เคยมีความคืบหน้าเกิดขึ้นเพราะปัญหาของพม่ายังไม่ได้ถูกนำเข้า สู่วาระการประชุมอย่างเป็นทางการเนื่องจากมหาอำนาจรัสเซียและจีนไม่ ยอมให้ความร่วมมือกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการอย่างใดอย่าง หนึ่งเพื่อยับยั้งการกระทำอันป่าเถื่อนของทหารพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพม่าเพราะ รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบันคือตัวแทนของรัฐบาลปักกิ่งในขณะที่ ออง ซาน ซูจี คือตัวแทนของมหาอำนาจตะวันตก

แม้รัฐบาลทหารพม่าจะเปลี่ยนจาก ‘สลอร์ค’ เก่ามาเป็น SPDC ย่างกุ้งก็ยังคงดำเนินนโยบายการกดขี่ของตนอย่างไม่ขาดตอน

รัฐบาลทหารพม่าได้ใช้กำลังเข้ากวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงซึ่งประกอบไปด้วยคนหนุ่ม สาว พระสงฆ์และประชาชนนับแสนคนที่รวมตัวประท้วงโดยสันติคัดค้านการขึ้นภาษีและ ราคาน้ำมันเป็น 2 เท่าของกลุ่มรัฐบาลทหารเนื่องจากประชาชนไม่สามารถออกไปจับจ่ายซื้อของได้ตาม ปกติเพราะสินค้าขาดตลาด คนงานรวมไปถึงข้าราชการเองก็ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้เพราะค่าโดยสารที่ พุ่งสูงขึ้นอย่างลิบลิ่ว รถโดยสารประจำทางจำต้องหยุดให้บริการเพราะไม่สามารถแบกรับภาระราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไหว การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของรัฐบาลทหารพม่าได้สร้างความเดือดร้อน ให้กับประชาชนทั่วประเทศ ชาวพม่าไม่สามารถทนต่อการกดขี่ข่มเหง การริดรอนสิทธิเสรีภาพ การผูกขาดทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องรุนแรงทั้งต่อประชาชนเชื้อสายพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ โดยระบอบเผด็จการทหารได้อีกต่อไปและนี่คือจุดเริ่มต้นแห่งการลุกขึ้นมาต่อสู้กับเผด็จการทหารพม่าในวันนี้

เหตุการณ์นองเลือดในพม่าที่เกิด ขึ้นในช่วงหลายวันที่ผ่านมายังผลให้มีผู้สูญหายมากกว่า 1,000 คน ผู้ถูกจับกุมมีอยู่กว่า 1,500 คน ประกอบด้วยแกนนำการประท้วงอย่างน้อย 85 คน พระสงฆ์มากกว่า 1,000 รูป นักเรียน นักศึกษาและกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ราว 300-400 คน แหล่งข่าวหลายแหล่งรายงานว่าพระสงฆ์ที่ถูกจับกุมเกือบทั้งหมดถูกทหารบังคับ ปลงจีวร เปลี่ยนสวมเครื่องแต่งกายแบบพลเรือนถูกทารุณกรรม ทุบตีและเตะอย่างไร้เกียรติและความปรานี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียหรือเอเอชอาร์ซีระบุว่ามีพระสงฆ์ถูกจับกุม กว่า 700 รูป พลเรือนถูกจับกุมกว่า 500 คนผู้ถูกจับกุมทั้งหมดถูกนำตัวไปคุมขังในสถานที่ที่ไม่เปิดเผย

นอกจากนี้กลุ่มเคลือนไหวทางการเมืองในพม่ายังให้ข้อมูลว่ารัฐบาลทหารพม่าได้ สั่งให้ทหารหลายนายแต่งตัวเป็นพระภิกษุสงฆ์ปลอมตัวแทรกซึมเข้าไปในกลุ่มผู้ ชุมนุมประท้วงเพื่อก่อเหตุวุ่นวายขึ้นในหมู่ผู้ชุมนุมอันเป็นการเปิดโอกาส ให้ทหารหาข้ออ้างในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม(สงสัยรัฐบาลทหารพม่าคงยืม แทคติคนี้มาจากคณะรัฐประหารของไทย)

ทางการพม่ารายงานว่ามีผู้เสีย ชีวิตแล้วอย่างน้อย 13 รายแต่ด้านสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักเชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้ สูญหายมีมากกว่านี้หลายเท่าตัว โดยอดีตสายลับของรัฐบาลทหารพม่าได้เปิดเผยกับแหล่งข่าวว่า เหตุการณ์ประท้วงในพม่าเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีผู้ประท้วงนับพันเสียชีวิต และซากศพเป็นร้อยๆ ของพระสงฆ์ที่ถูกฆาตกรรมหมู่ถูกทิ้งไว้ในป่าลึกตามหนองน้ำ ซากศพสามารถนับได้เป็นพันๆศพ มากกว่าที่ประชาคมโลกได้รับรู้จากการรายงานของสื่อที่ออกไป

เหตุการณ์ กองทหารพม่าพร้อมอาวุธหนักเข้าทำการสังหารประชาชนในครั้งนี้นับเป็น เหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนขวัญต่อสายตาชาวโลกเป็นอย่างมาก ภาพของพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งที่โดนทุบน่วมมรณภาพหน้าคว่ำลอยอืดกลางน้ำจาก สำนักข่าว เอ เอฟ พีช่างเป็นภาพที่ดูแล้วเศร้าสลดยิ่งนัก เหตุการณ์มิคสัญญีที่เกิดขึ้นครั้งส่าสุดในพม่าตอนนี้สะท้อนให้เห็นถึงการ ต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายอย่างชัดเจนและเป็นคู่ต่อสู้ที่อยู่คู่กับประวัติ ศาสตร์โลกมายาวนานนั่นคือ "พลังประชาธิปไตย" กับ "พลังเผด็จการ"

การ ชุมนุมประท้วงของประชาชนชาวพม่าในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ ในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่กองทัพพม่าได้เข้าปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรงเมื่อปี 2531 ในเหตุการณ์ประท้วงบนท้องถนนเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยที่นำโดยวีรสตรี ที่โลกกล่าวขาน ออง ซาน ซู จี เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ 19 ปีที่แล้วยังผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการสังหารหมู่โดยกองทัพพม่ากว่า 4,000 คน ... มิน โค นายนักเคลื่อนไหวชื่อดังของพม่าถูกจับกุมในครั้งนั้น และยังคงมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอีกกว่า 1,400 คน ออง ซาน ซู จี เลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ เอ็น แอล ดี (National League for Democracy – NLD) ถูกกักตัวให้อยู่ในบ้านพักของเธอตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซู จีปฎิเสธที่จะเดินทางออกนอกประเทศตามข้อเสนอของรัฐบาลทหารแต่เลือกที่จะอยู่ เป็นสัญญลักษณ์ปลุกเร้าความกล้าหาญของประชาชนพม่าในการเรียกร้องต่อสู้ ประชาธิปไตยในประเทศเพื่อความถูกต้อง

แม้พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของเธอจะสามารถกวาดชัยชนะถล่มทลายในการเลือกตั้งปี 2533 แต่เธอก็ไม่เคยได้รับโอกาสให้ปกครองพม่านับตั้งแต่วันนั้น เมื่อแพ้แบบผิดคาดรัฐบาลที่เตรียมการโกงไว้ทุกด้านจึงเล่นบทพาลเกเรไม่ยอม รับผลเลือกตั้งและมอบอำนาจการปกครองให้เอ็นแอลดี จัดการยึดอำนาจและปกครองด้วยระบอบทหารเหมือนกับที่เคยเป็นมาตั้งแต่การ ปฏิวัติเมื่อปี 2505 สำนักงานหลายแห่งของพรรคก็ถูกคณะปกครองทหารพม่าสั่งปิดมาแล้วนับครั้งไม่ ถ้วนรวมทั้งสมาชิกพรรคจำนวนมากก็ถูกจับเข้าคุก ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยแลนด์ที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติของไทย (คมช.) ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่เลือกพ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทยเข้า มาบริหารประเทศพวกเขาลุแก่อำนาจใช้การทำรัฐประหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลที่ มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ได้รับฉันทามติจากประชาชนด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นในการบริหารประเทศ และยืมมือตุลาการฯที่พวกเขาแต่งตั้งขึ้นยุบพรรคไทยรักไทย ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเลือกตัวแทนของตนเข้ามาบริหารประเทศ

เหตุการณ์ ในพม่าและไทยนั้นเป็นตัวอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มีเสถียรภาพทาง การเมืองที่เกิดขึ้นกับประเทศด้อยพัฒนาเนื่องเพราะการเปลี่ยนรัฐบาลและตัว ผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกาหรือผ่านทางกระบวนการประชาธิปไตยด้วย การเลือกตั้งและการกระทำที่ละเมิดต่อหลักการพื้นฐานแห่งประชาธิปไตยที่ว่า ด้วยเรื่องการเคารพอำนาจอธิปไตยของปวงชนทั้ง...สองสิ่งนี้ชัดเจนที่สุดเพราะ เมื่อคุณฉีกกติกา ประชาธิปไตยย่อมก้าวเดินไปได้ยาก

พม่า..ปัจจุบัน ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นเมียนมาร์หลังจากที่รัฐบาลพม่าซึ่งมีแกนนำมาจากนาย ทหารที่เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อปี 2531 แต่ผู้เขียนขอเลือกที่จะเรียก Burma (พม่า) แทนคำว่า Myanmar เพราะคำว่า Myanmar(เมียนมาร์) นี้รัฐบาลทหารพม่าซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลเถื่อนเป็นผู้นำคำว่าเมียนมาร์มาใช้ ดังที่นางออง ซาน ซู จีได้เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารบิสเนสวีคว่า

“เมียนมาร์เป็นชื่อที่รัฐบาลทหารเลือกขึ้นมาเมื่อพวกเขาเข้ายึดอำนาจการปกครอง เราไม่คิดว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาชนจะมีสิทธิมาเปลี่ยนชื่อประเทศได้ อย่างง่ายๆเพียงเพราะพวกเขาคิดว่าชื่อนี้เก๋ไก๋”

พม่าเปลี่ยน ชื่อประเทศเป็นเมียนมาร์( Myanmar)ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสห ประชาชาติแต่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้เนื่อง จากรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรม

นับตั้งแต่ปี 2505 ที่คณะทหารภายใต้การนำของนายพลเนวินโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือก ตั้งของอูนุ พม่าที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบเผด็จการกลายเป็นประเทศที่ถูกโดดเดี่ยว จากประชาคมโลก ประชาชน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลถูกจำกัดสิทธิ เสรีภาพทางการเมืองอย่างเข้มงวดและถูกทารุณกรรมอย่างโหดร้าย

รัฐบาล นายพลเนวินเลือกดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยมีนายทหารเป็นผู้ปฏิบัติงานแต่ก็ต้องประสบความล้มเหลวในทุกด้าน คณะนายทหารพม่า หรือ สลอร์ค( SLORC) ภายใต้การนำของนายพลเนวินได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ของชาติและใช้อำนาจกดขี่ ประชาชนให้อยู่ภายใต้ปลายกระบอกปืนเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 26 ปี

พม่า ที่เปลี่ยนผ่านอำนาจจากรัฐบาลทหาร ‘สลอร์ค’ เก่ามาอยู่ภายใต้การนำของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC) ที่นำโดยพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย นั้นมิได้ทำให้ชาวพม่ามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแม้รัฐบาลของนายตาน ฉ่วยจะประกาศเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของพม่าจาก "Burmese Way to Socialism" ไปเป็นระบบตลาด เปิดประเทศรองรับและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอกก็ตามแต่ในทางปฏิบัติ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของพม่าไม่คืบหน้าเพราะรัฐบาลยังคงคุมและแทรกแซง ภาคการผลิตต่าง ๆ อย่างเข้มงวด รายได้ของประเทศมิได้กระจายเข้าสู่กระเป่าของประชาชนแต่ไปตกอยู่ในกระเป๋า ของคณะนายทหารที่ปกครองประเทศเท่านั้น ในด้านการเมืองความหวังที่ประชาชนจะได้สัมผัสกับประชาธิปไตยอีกครั้งยังคง ไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แม้คณะนายทหารยืนยันตลอดมาว่าจะอยู่ในอำนาจเป็น การชั่วคราวเพื่อวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนแต่ก็อยู่ในอำนาจมา แล้วถึง 17 ปีเต็ม(คล้ายกับเผด็จการทหารของไทยที่บอกกล่าวกับประชาชนว่ารัฐประหาร 19 กันยาเกิดขึ้นเพราะพวกตนต้องการเข้ามาปฏิรูประบอบประชาธิปไตย) ดังคำเปรียบเปรยที่ว่างาช้างไม่เคยงอกออกจากปากสุนัขฉันใด ประชาธิปไตยย่อมไม่งอกเงยออกจากปลายกระบอกปืนฉันนั้น

รัฐบาลของพลเอก อาวุโส ตาน ฉ่วย ปกครองประเทศด้วยหมัดเหล็กมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปีหลังจากที่พวกเขาได้เข้ากุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จจากเผด็จการสังคมนิยมที่ ปกครองพม่ามายาวนานกว่า 26 ปี รัฐบาลทหารพม่าได้เปลี่ยนพม่าจากประเทศที่เคยเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้(Jewel of South East Asia)ไปเป็นประเทศที่ล่มสลายทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

แม้ว่าประเทศพม่าในปัจจุบันจะปลอดจากศัตรูภายนอกมา รุกรานแต่กองทัพของพม่ากลับมีแสนยานุภาพใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลกเลยทีเดียว รัฐบาลทหารให้ความสนใจและจัดสรรงบประมาณให้กับกองทัพอย่างมหาศาล ขณะที่นโยบายด้านการศึกษาและประกันสุขภาพของประชาชนกลับไม่ได้รับการเหลียว แลเอาใจใส่จากรัฐบาล พม่าเป็นประเทศที่ใช้จ่ายเม็ดเงินในโครงการประกันสุขภาพให้กับประชาชนน้อย ที่สุดในโลกชาติหนึ่ง แรงงานทาสในพม่ามีให้เห็นทั่วประเทศ ขณะที่ประชาชนอยู่อย่างแร้นแค้น คณะนายทหารระดับสูงกลับร่ำรวยเป็นล่ำเป็นสัน พม่าภายใต้ระบอบทหารได้ กลายเป็นชาติที่ครองแชมป์การทุจริตคอรัปชั่นสูงที่สุดในโลกโดยรั้งอันดับ หนึ่งร่วมกับประเทศโซมาเลียได้ไป 1.4 จากคะแนนเต็ม 10 ตามรายงานล่าสุดขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency International). และเป็นที่น่าสังเกตุว่าประเทศที่ยืนอยู่แถวหน้า 10 อันดับแรกของการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุดในโลก(TEN MOST CORRUPT STATES) นั้นล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการหรือเคยถูกปกครองด้วย ระบอบเผด็จการมาเป็นระยะเวลายาวนานด้วยกันทั้งสิ้น

เมื่อย้อนกลับ มามองบ้านเราใครที่เชื่อว่า คมช. จะเข้ามาปราบปรามการคอรัปชั่นของนักการเมืองแล้วล่ะก็ให้ดูพม่าและโซมาเลีย เป็นตัวอย่างค่ะ

หากเอ่ยถึงประเทศพม่าเราอาจกล่าวได้ว่าประชาชน ชาวพม่าเป็นชนชาติหนึ่งในโลกที่ต้องทนทุกข์อยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จ การเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากที่สุดในโลกชาติหนึ่ง ... 45 ปีภายใต้การกดขี่จากรัฐบาลเผด็จการ ..45 ปีแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย .. 45 ปีแห่งการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการด้วยพลังบริสุทธิ์ แลกด้วยรอยเลือดและหยาดน้ำตาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ และเป็น 45 ปีที่ "พลังประชาธิปไตย" ยังไม่สามารถมีชัยชนะเหนือ"พลังเผด็จการ" ได้

การ ต่อสู้ของประชาชนชาวพม่าตลอดระยะเวลา 45 ปีนับเป็นบทสะท้อนของคำว่า " Freedom is not free เสรีภาพไม่เคยได้มาฟรี " โดยแท้ ถึงแม้พม่าจะปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาเกือบ 50 ปีแต่จิตวิญญาณของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวพม่ายังไม่ได้สูญหายไปไหน การต่อสู้ของพวกเขาเป็นที่กล่าวขานและได้รับการยกย่องจากทั่วโลก ประชาคมโลกมิได้งุนงงกับเหตุการณ์ "ดอกไม้ให้คุณ(ทหาร)" เหมือนประเทศบ้านไกล้เรือนเคียงของพม่า เสียงแห่งประชาธิปไตยในพม่ายังคงไม่จางหาย การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของประเทศที่ปกครองด้วยทหารแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นตำนานและยังคงดังกึกก้องสืบไปจนกว่าพลัง ประชาธิปไตยจะมีชัยชนะเหนือพลังเผด็จการอย่างสมบูรณ์

Source: shiningjessica.wordpress.com

No comments:

Post a Comment