Dec 24, 2009

ศิลปะในแบบ บอริส ปาสเตอร์แน็ก


ฉันคิดเสมอว่า ศิลปะมิได้เป็นสิ่งแบ่งแยกออกเป็นชั้นๆ มิได้เป็นอาณาจักรซึ่งภายในมีแนวคิดมากมายเหลือคณานับ และมีสิ่งแปลกๆแตกต่างกัน แต่ทว่าตรงกันข้าม มันเป็นบางอย่างที่มารวมอยู่ในจุดเดียวกัน และอยู่ในวงจำกัดอย่างแท้จริง มันเป็นหลักอย่างหนึ่งซึ่งหลักนั้นจะเข้ามาอยู่ในงานศิลปะทุกชิ้น นั่นคือใช้พลัง ความคิดกับมันและใช้ความจริงในการสร้างมันขึ้น ฉันไม่เคยเห็นศิลปะเป็นสิ่งมีระเบียบแบบแผน แต่เป็นสิ่งที่บรรจุอยู่ด้วย ส่วนประกอบอันซ่อนเร้นและลี้ลับเสียมากกว่า 

*ทั้งหมดนี้ฉันมองเป็นอย่างกระจ่างชัดเช่นเดียวกับกลางวัน ฉันตระหนักในเรื่องศิลปะเป็นอย่างดี ทั่วตลอดกระดูกทุกชิ้นในร่างกายของฉัน แต่ลำบากเหลือแสนที่จะแสดงเป็นคำพูดออกมาหรือจำกัดความหมายของมัน

งานศิลปะสามารถเร้าใจเราโดยวิธีต่างๆมากมายหลายชนิด โดยเนื้อหา ใจความ เหตุการณ์ ลักษณะพิเศษของมัน แต่เหนือสิ่งอื่นใด มันเร้าใจเราโดยมีศิลปะอยู่ภายใน "ไม่มีพหูพจน์อยู่ในศิลปะ ศิลปะสมัยมนุษย์ยังเป็นคนป่า ศิลปะของอียิปต์ ของกรีซและของเราเองในยุคปัจจุบันจะเป็นศิลปะ สมัยใหม่ หรือศิลปะที่ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลาหลายพันปี ฉันคิดว่าเป็นประเภทเดียวกัน และเหมือนกันทั้งหมด 

ท่านอาจจะเรียกมันว่าเป็นความคิดที่ใหม่และแปลก เป็นสิ่งบอกกล่าวเกี่ยวกับชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รวบรวมเข้าไว้เป็นศิลปะ โดยทั่วตลอดไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นถ้อยคำอื่นๆต่างหากได้ และถ้างานใดมีศิลปะอยู่เพียงเล็กน้อย หากมีสิ่งอื่นๆปะปนอยู่ ศิลปะจะพุ่งขึ้นมาอยู่เหนือส่วนผสมเหล่านั้นให้เห็นความสำคัญของมันและจะกลายเป็นดวงจิต หัวใจและวิญญาณของงานชิ้นนั้น
บอริส ปาสเตอร์แน็ก
บางตอนจากนวนิยาย เรื่อง Doctor Zhivago


Dec 21, 2009

KIV: Content Analysis in Communication Research


Study of communication as subject is new in comparison to other subject of social sciences and natural sciences. The study of communication is generally branched under social sciences. So the methods of communication research are adopted from social research. Communications research undertakes the scientific study of communication process. It is objective, deterministic and parsimonious. The study of communication is multidisciplinary so its research method can be also adopted from behavioral science, natural science and management keeping its root with social sciences. Media is emerging as industry and its products are available with the price tag attached with them and its audience as market leading to the use of market research methods for media studies. In short communication research adopted its methods from various disciplines.

Areas of communication research- communication research deals with the study of communication process so it working areas are “the elements of communication process”.

1. Sender /communicator /source research

2. Message /text research

3. Channel/media research

4. Receiver/ audience research

5. Effect Research

The above macro elements of communication process provide the wide area for research. These macro elements are analyzed in micro elements which provide selected field for communication studies. Berlo’s SMCR model analyzed these macro element in micro elements.

1. Source/communicator research- source has been analyzed as

a) Communication skill

b) Attitude

c) Knowledge

d) Social system

e) Culture

To understand the nature of particular communicator these micro elements can provide the area of study to the communication researcher. For example if the research look for the essential characteristics of good reporter, editor or other media personnel he can study these above elements. Also other characteristics such as credibility, expertise, intent and attractiveness can also be judged.

Yale communication research group of USA Hovland and Weiss conducted an experiment in which they presented an identical communication to two groups. But the message was attributed to high and low credibilility sources. It was considered to be more biased and unfair when it was attributed to low credibility source. The high credibility source has greater immediate effect on opinion of the audience than low credibility source.

Message M is tagged with low credibility source as Ml

Message M is tagged with high credibility source as Mh


CONSIDERED ---------------> CONSIDERED FAIR



Thus the same message attributed to different credibility source produce different reactions.

2. Message /content /text research- message is analyzed as

a) Element

b) Structure

c) Content

d) Treatment

e) Code

Message is most important element which has the above micro element which provides the basic field for research work.

3. Channel/media research- though SMCR has analyzed the channel having following microelements:-

a) Seeing

b) Hearing

c) Touching

d) Smelling

e) Tasting

Based on the reception patterns of above senses media is divided into visual, audio and audio-visual. These media are the field of investigation and their effectiveness for particular campaign.

4. Receiver / audience research-This micro element of communication is studied maximum for market purpose. Advertisers are manufactures find their prospective customer of their product out of media audience so they encourage and fund the audience research. Receiver perceives the message send by the source using the following microelements.


a) Communication skill

b) Attitude

c) Knowledge

d) Social system

e) Culture

5. Effect research-SMCR model does not describe the effect element of communication. But it is one of the most sought offer research field in communication research. Sociologist, Psychologist, Advertisers Parents all are worried about the effect of media on the adoption of culture, behavior, attitude formation, buying pattern etc of audience.

Content Analysis in Communication Research- After knowing the basic fields/areas of communication research we try to find out how content analysis is used in these areas. According to Bernard Berelson content analysis is “a research technique for objective, systematic and quantitative description of the manifest content of communication.”

According to Klaus Krippendorff in his book ‘Content Analysis: An introduction to its Methodology’

‘In any single written message one can count letters, words or sentences. One can categorize phrases, describe the logical structure of expressions, ascertain association, connotation, denotation, elocutionary forces and one can also offer psychiatric, sociological or political interpretations. All of these may be simultaneously valid. In short, a message may convey a multitude of contents even to a single receiver.’

Content analysis follows a systematic process for coding and drawing inferences from the texts. It starts by determining which units of data will be analyzed. In written or verbal texts, data, units are of four types.

1. Syntactical units- these units can be words, phrase, sentences or paragraphs. Words are the smallest and reliable data unit.

2. Referential units are described by words, phrases and sentences; they may be objects, events, persons to which the text refers.

3. Propositional units are assertions about an object, event, person and so on

4. Thematic units are topic contained within text; they represent higher level abstractions inferred from the text and its context.

Use of content analysis to study the source- content analysis of an informal interview conducted to the employees of newspaper. The main question asked ‘How might the newspaper house increase its circulation?’

The sample of response yielded as follows.

¨ We should keep readers priority over advertiser’s priority.

¨ We should switch to new printing technology.

¨ We should change our newspaper’s layout and give it a new look.

¨ We should increase the reader’s involvement by encouraging feedback.

¨ We should invite reader’s suggestion for ‘what they want to read’?

¨ We should provide training to the cub journalist and refresher programs for the old employee.

¨ Freedom should be given to sales department for promotional campaign.

The first step in analysis requires that the units selected or developed help to answer the research question. In our example the research question is concerned with the learning what the employees think is the source for increasing circulation. The 1st pas through the data produces the few general categories in one concept dimension: source of responsibility is shown in table. The response can be categories as

Locus of responsibility

Frequency(n=100)

Human relation

30

Training

10

Technology

10

Strategic planning

40

Other areas of action

10

Thus the above table can be analyzed to give the result of the particular research. Using content analysis the communication contents like speech, written text, interviews, images, cartoon, and movies can be coded. These coding leads the communication content in the form of machine readable text, the input is analysed for frequencies and coded into the categories for building up inferences. The methods of coding show high reliability. Many software are available for coding, the research can spend much less time coding the text. What used to take the coding staff several days may now be done in few hours. Content analysis software applies statistical algorithms to open-ended question responses. This permit stemming, aliasing and exclusion process. Stemming uses derivations of common root words to create aliases (e.g. using searching, searches, searched for search). Aliasing searches for synonym (wise or smart for intelligent). Exclusion filters out trivial words (be, is, the, of) in search for meaning.

Use of content analysis for message research- early content analysis was limited to the measuring of space provided by the newspaper/ magazine on particular topic i.e. coverage given to an event. The comparative study of regional and national daily on the coverage and importance they give to a particular event. Using content analysis biasness in coverage and slant in the view can also be inferred. Content analysis is done to show how women are represented in media. Content analysis methodology was adopted to show in Indian television women are stereotyped as house wife. If working they are shown working as secretaries, airhostesses, school teacher, receptionist etc.

Use of content analysis in Channel /media research-content analysis of channel/ media is done to study their effectiveness of a particular campaign. Advertisers do media research for best suited medium for their campaign before putting their advertisement in particular media. Many research works had done using content analysis to study television violence. A content analysis conducted by a team lead by Professor George Gerbner of University of Pennsylvania in 1976, found that around 80% of all program contained one or two violent incidence. The violence shown was far from realistic. For example, televisions beating produce little visible pain; the details of injury were shown in 14% of all programs. Such portrayal made it difficult for viewers to appreciate the downside of violent behavior. Violence rather than the rule of law was depicted as the solution to the problem in 80% of the cases.

In investigating the actual world of violence, the commission found that only tiny percentage of population had any real experience with the violence as victim, assailant or observer. From this the research concluded that violence was depicted unrealistically on TV when compare to real life.

Use of content analysis in audience and effect research- audience research is very important for manufacturers, advertisers, media and politicians. Sociologist and psychologist are also worried about the shaping of media audience and effect of media on them.

Dr. Fredic Wertham’s ,a psychiatrist in 1950’s conducted a content analysis that documented a gory details found in comics. He reproduced the cover of one comic, which depicted two men tied up and dragged, face down, behind a speeding car. There were two hoodlums in the car, with their dialogue in the balloons. The driver says, ’these -%*@^# gravel roads are tough on tires!’ The other says, “but ya gotta admit, there is nothing like’ em for ERASING FACES!”

Wertham provided examples of what he said were the many way comics taught kids techniques for committing crime. Wertham’s research later considered unscientific but extremely influential in 1950s.

Conclusion-content analysis provides a strong instrument to learn and understand all the aspects of communication process. It not only provides with the tool for quantitative study of media contents but also qualitative study. Content analysis consists with the research and investigative question that we select and want to export to a data file or in tab-delimited format. The table and plots, serves as the modules for final report. With the advent of software coding techniques the work of coding becomes easy and more reliable making the study more scientific.

References

B.Berelson, Content Analysis in Communication Research, Free Press, New York,1952.

Klaus Krippenendorff, Content Analysis : An Introduction to its Methodology, Sage Publication, Beverly Hill, CA,1980.

Cooper Donald R. and Schindler Pamela S, Bussiness Research Methods, McGraw-Hill/Irwin,NY,2006.

Rodman George, Making Sense of Media: An Introduction to Mass Communication, Allyn & Bacon, Needham Heights, MA,2001

Gupta Baldev Raj, Modern Journalism and Mass Communication, Vishwavidyalaya Prakashan, Varansi,1997

Cothari C R, Research Methodology,Wishwa Prakashan ,New Delhi ,2002.

John W.Best and James V.Kahn, “Research in Education”, Prentice-Hall of India Pvt. Ltd, New Delhi,1986.

Nov 2, 2009

จตุอัปลักษณะของ “ร่าง” รัฐธรรมนูญ 2550

สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม ่
มติชนรายวัน 14 สิงหาคม 2550 หน้า 6


บทความชิ้นนี้ต้องการเสนอการวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อชี้ให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของโครงสร้างหรือระบอบการเมืองที่ถูกสถาปนาให้บังเกิดขึ้น โดยบทวิเคราะห์นี้จะเกิดขึ้นจากการพิจารณารัฐธรรมนูญด้วยมุมมองใน 3 ด้าน ประกอบกันคือ

-พิจารณาจากเนื้อหาทั้งหมด มิใช่การดูเพียงมาตราใดมาตราหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพื่อ “อ่าน”
ฐานความคิดของคณะผู้ร่างที่ถูกสะท้อนออกมาในบทบัญญัติมาตราต่างๆ

-พิจารณาบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญประกอบกับกฎหมายอื่นทั้งที่เป็นร่าง และที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เนื่องจากในระบบกฎหมายและสังคมการเมืองไทย
เนื้อหาของรัฐธรรมนูญอาจถูกจำกัดหรือยกเว้นได้โดยกฎหมายแทบทุกประเภท การทำความเข้าใจ
รัฐธรรมนูญจึงต้องอ่านกฎหมายอื่นประกอบไปด้วย

-พิจารณาจากประสบการณ์ในสังคมการเมืองไทยว่าในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ มีอุปสรรค
และปัญหาที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงอย่างไร

ด้วยการอ่านร่างรัฐธรรมนูญจากมุมมองที่กล่าวมา ใคร่ขอเสนอบทวิเคราะห์ว่าร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1. ระบบรัฐสภาที่พรรคการเมืองอ่อนแอ

ร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบระบบรัฐสภาบนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจต่อนัก/พรรคการเมือง และไม่ต้องการให้เกิดพรรคการเมืองที่มีความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งพิจารณาได้จากการกำหนดให้ระบบเลือกตั้งเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ (ม. 94) อันทำให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ผู้สมัครต้องพึ่งบุคคลที่เป็นเจ้าพ่อหรือนายทุนท้องถิ่น ระบบการเลือกแบบนี้จะทำให้กลุ่ม ก๊วน ในพรรคมีความเข้มแข็งและสามารถต่อรองตำแหน่งหรือเก้าอี้กับพรรคการเมือง เมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติอื่น เช่น การลดระยะเวลาในการสังกัดพรรคลง (ม.101) ก็มีผลทำให้นักการเมืองสามารถย้ายพรรคได้สะดวกยิ่งขึ้น อำนาจของพรรคการเมืองเหนือ
สมาชิกพรรคก็จะลดลงและพรรคการเมืองก็สามารถถูกยุบได้ หากสมาชิกพรรคกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้ง การเปิดช่องให้พรรคการเมืองสามารถถูกยุบได้โดยเหตุกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ย่อม
ทำให้โอกาสที่พรรคการเมืองอาจถูกยุบสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อ
สร้างพรรคในฐานะ “สถาบัน” จึงมีความยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่พรรคการเมืองถูก
มองว่าเป็นอัปรียชนที่ต้องถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด

พรรคการเมืองที่อ่อนแอจะดำรงอยู่ในรัฐสภาควบคู่ไปกับ ส.ว. ที่มาจากการสรรหา (ม. 111-114) การสรรหา ส.ว. กระทำโดยผ่านตัวแทนจากระบบราชการเป็นหลัก การเปลี่ยนที่มาของ ส.ว.จากการเลือกตั้งมาเป็นการแต่งตั้งจำนวนเกือบกึ่งหนึ่ง สะท้อนความไม่เชื่อมั่นในอัตตวินิจฉัยของประชาชนว่าจะสามารถตัดสินใจและเลือกในสิ่งที่ถูกต้องได้คำถามพื้นฐานมีอยู่ว่าระบบรัฐสภาที่พรรคการเมืองอ่อนแอจะพัฒนาไปสู่ระบบการเมืองแบบใด หากพิจารณาจากประสบการณ์ของหลายประเทศ พรรคการเมืองที่เข้มแข็งมีความสำคัญต่อ
การพัฒนาระบบรัฐสภา แต่ความเข้มแข็งในที่นี้หมายความถึงการทำให้ประชาชนมีความสามารถใน
การกำกับพรรคการเมืองซึ่งก็ไม่ได้ปรากฏอย่างชัดเจนในร่างรัฐธรรมนูญ การกำกับนัก/พรรคการเมืองกลับไปอยู่ในมือของข้าราชการระดับสูงแทน

2. ระบบการสรรหาองค์กรอิสระที่ไร้ความรับผิด

ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้สืบทอดองค์กรอิสระมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ด้วยความมุ่งหมายจะให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ การทำงานและบทบาทของนักการเมืองในด้านต่างๆ เช่น การเลือกตั้ง การทุจริตประพฤติมิชอบ อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ปรับเปลี่ยนสาระสำคัญขององค์กรอิสระเป็นอย่างมาก ด้วยการสร้างระบบการสรรหาที่ไร้ความรับผิด ดังเห็นได้ว่าในกระบวนการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ม. 231) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ม. 243) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ม. 246) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ม. 252) จะมาจากการสรรหาของคณะกรรมการ ซึ่งโครงสร้างของคณะกรรมการสรรหาจะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
ตัวแทนจากศาลทั้งสาม (ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม) และตัวแทนจากรัฐสภา

ทั้งนี้องค์ประกอบในส่วนของตัวแทนจากศาลจะมีจำนวนที่มากกว่ากึ่งหนึ่ง และถือเป็นองค์ประกอบหลักของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าในการปฏิบัติหน้าที่คัดสรรบุคคลตัวแทนจากศาลจะมีความรับผิด (Accountability) และจุดเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างไรหากเปรียบเทียบกับการทำหน้าที่ของตัวแทนรัฐสภา เช่น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรก็มีที่มาจากการเลือกตั้ง และสามารถถูกตรวจสอบการทำงานในระบบรัฐสภาหากเป็นการกระทำที่มีความผิดพลาด ขณะที่การทำหน้าที่ของตัวแทนจากศาลขาดจุดเชื่อมโยงและปราศจากการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ระบบการสรรหาในองค์กร
อิสระเป็นระบบที่ไร้ความรับผิด

3. สิทธิเสรีภาพแบบพ่อขุนอุปถัมภ์

มีการโฆษณาว่าร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนขึ้นเป็นอย่างมากและเป็นเหตุผลให้มีความเห็นจำนวนไม่น้อยเสนอว่าควรรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพมีข้อพิจารณาดังนี้

ประการแรก จะพบว่าสิทธิเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นและได้รับความสำคัญเป็นสิทธิในเชิงปัจเจกบุคคลเป็นสำคัญ และเป็นสิทธิในลักษณะของการ “ประทานให้” โดยรัฐจะแสดงบทบาทในฐานะของผู้ปกป้อง (Protector) เช่น การศึกษาฟรี 12 ปี (ม. 49), การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยแก่คนยากจน (ม. 53), การให้ความคุ้มครองในกระบวนการยุติธรรม (ม. 39, 40) เป็นต้น

แต่จะให้ความสนใจน้อยในสิทธิของประชาชนที่เป็นสิทธิในการลักษณะกลุ่ม และเป็นการเปิดให้ประชาชนใช้สิทธิในฐานะเครื่องมือในการแสดงความเห็นหรือเจรจาต่อรองกับรัฐอย่างเท่าเทียม เช่น สิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน สิทธิในการชุมนุมของประชาชน บทบัญญัติในลักษณะนี้ไม่ได้มีความแตกต่างจากที่เคยเป็นมาในอดีต ทั้งที่ในรอบ 10 ปีของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มีตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการใช้สิทธิในลักษณะเช่นนี้ เช่น การชุมนุมที่อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญแต่ถูกขัดขวางโดยการอ้างกฎหมายอื่น, การเลิกจ้างลูกจ้างที่กำลังก่อตั้งสหภาพแรงงงาน

แม้จะมีการบัญญัติถึงสิทธิชุมชน (ม. 66, 67) แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าบทบัญญัติที่เขียนไว้จะมีผลบังคับเกิดขึ้นในทางใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนกับชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม การตีความจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาลเป็นสำคัญ ซึ่งในหลายคดีที่เกิดเป็นข้อพิพาทขึ้นได้แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการยุติธรรมของไทยยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิชุมชนค่อนข้างน้อยจึงทำให้ยากจะเชื่อมั่นได้ว่าบทบัญญัติเพียงเท่าที่ปรากฏจะได้รับการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ

ประการที่สอง แม้จะมีการรับรองสิทธิเสรีภาพต่างๆ เอาไว้มากมาย แต่ขณะเดียวกันก็มีความพยายามในการบัญญัติกฎหมายหลายฉบับซึ่งมีเนื้อหาขัดแย้ง ลิดรอนและตัดทอนสิทธิเสรีภาพอย่างรุนแรงปรากฏขึ้น พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งจะทำให้สิทธิเสรีภาพที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญสิ้นผลบังคับไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในเคหสถาน ไม่เพียงกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงเท่านั้น ยังมีชุดของกฎหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับ
สื่อสารมวลชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งล้วนแต่เพิ่มอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการควบคุม
ตรวจสอบประชาชนไว้อย่างเบ็ดเสร็จสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่บัญญัติไว้อย่างสวยหรูในเรื่องต่างๆ จึงไม่เกิดขึ้น และประชาชนอาจถูกคุกคามได้มากขึ้นมากกว่าเดิม

4. สถาปนาระบบการเมืองแบบอำนาจนิยม

ปรากฏในบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้

-ยอมรับให้การรัฐประหารเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งและการกระทำของคณะรัฐประหารให้เป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (ม. 309) การยอมรับให้มีการบัญญัติในลักษณะเช่นนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญจะทำให้เป็นการรับรองความชอบธรรมต่อการรัฐประหารว่าเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และได้รับการยอมรับไว้ในรัฐธรรมนูญ หากเป็นเช่นนี้การรัฐประหารก็ยิ่งเป็นสิ่งที่สามารถจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

-ยอมรับให้องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหารทำหน้าที่ได้ต่อไปหากมีการรับร่างรัฐธรรมนูญและมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งที่องค์กรเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นโดยอำนาจที่ปราศจากความชอบธรรมแต่มาจากการยึดและฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตุลาการรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ม. 299,300)

-เปิดช่องให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสามารถเข้ามามีบทบาททางการเมืองต่อได้ แม้จะมีบทบัญญัติห้ามมิให้กรรมาธิการร่างจำนวน 35 คน เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ภายใน 2 ปีนับจากพ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการ (ม. 294) แต่ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามสมาชิกของสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีจำนวน 101 คน และนอกจากนี้ก็เป็นการห้ามเฉพาะตำแหน่ง ส.ส., ส.ว. เท่านั้น หากไม่รวมถึงตำแหน่งอื่น เช่น ตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ

หากพิจารณาจากรายชื่อของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมาธิการ แทบทั้งหมดเป็นข้าราชการระดับสูงในหน่วยงานของรัฐที่ยากจะลงรับสมัครเลือกตั้ง การห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งส.ส.หรือ ส.ว. จึงเป็นการห้ามในสิ่งที่ยากจะบังเกิดขึ้น หากต้องการป้องกันมิให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นประโยชน์กับกลุ่มตนเองก็ควรรวมไปถึงการห้ามดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ อันเป็นตำแหน่งที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีโอกาสอย่างมากจะเข้าไปนั่งทำงานต่อแต่ก็ไม่ปรากฏข้อห้ามในลักษณะนี้เกิดขึ้น จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่าจะปรากฏรายชื่อบุคคลเหล่านี้อยู่ในองค์กรอิสระต่างๆ
จากการพิจารณาถึงโครงสร้างสำคัญของระบบการเมืองดังที่ได้กล่าวมา จึงสะท้อนให้เห็นถึงจตุอัปลักษณะของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อันประกอบไปด้วยการมุ่งทำลายพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา, การสร้างระบบการสรรหาที่ไร้ความรับผิด, การบัญญัติสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ไม่มั่นคงและการสนับสนุนระบบการเมืองแบบอำนาจนิยม

หากบุคคลใดที่เห็นว่าโครงสร้างของระบบการเมืองเช่นนี้เป็นสิ่งที่ตนเองปรารถนา ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ก็ควรไปลงประชามติเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยสืบต่อไปตราบชั่วกัลปาวสานเทอญ

*www.law.cmu.ac.th

Aug 14, 2009

The Feminine Principle

By Gayatri Naraine

Author’s Bio: Gayatri Naraine is the Brahma Kumaris Representative at the United Nations in New York. This article, (copyright 1998 by Gayatri Naraine), was a featured article in “The Fabric of the Future—Women Visionaries Illuminate the Path to Tomorrow”, edited by M.J. Ryan, and published by Conari Press, Berkeley, California. Written 8 years ago, the article is still vitally relevant today.

Gayatri Naraine anticipates the emergence of the feminine at the level of spirit.

Personal growth and human development are perhaps two of the more popular banners flapping in the breeze at the eve of the 21st century. So what’s new? Aren’t these two old chestnuts that humanity has been chewing over throughout history? The issues may indeed be the same but what is new is the emergence of a suppressed part of the human dynamic that can be called the feminine principle. This principle does not cater to a prejudiced belief in the superiority or inferiority of one group compared to another. Nor does it seek to replace male chauvinism with female chauvinism. Its aim is to allow the blossoming of a full and balanced personality that is at once vigorous and serene in an era of both light and might.

The feminine principle is a subtle energy, which has remained untapped within the psyche of both men and women. It is merged in the essence of our spiritual identity and is marked by qualities attributed to the more gentle side of the human being—care, respect, trust, patience, loyalty, love honesty, empathy, and mercy. When this principle is understood and realised, it is a force so powerful that it awakens us to new realities and realigns us to the true purpose and meaning of life .Both men and women possess this feminine principle but throughout history it has often been equated with emotion, weakness, and vulnerability and, in the context of social, economic, and political issues, flushed from the mainstream of development to a backwater and then labelled as ‘women’s issues’. The feminine principle was thereby controlled and crushed by the iron hand of patriarchal power, which almost invariably demanded nothing less than the sacrifice of intuition at the altar of rigid logic, the suppression of gentleness for the sake of brute strength, and the compliance of women with the dominance of men.

If the problems which have arisen through the suppression and control of this principle are to be corrected in a way that will last, then this must be done through a change of consciousness rather than a reversal of positions, roles: a change of consciousness which takes its birth from a base of spirituality and not from a base of sexuality. The feminine principle, this untapped subtle potential that lies at the core of our being, must now be realised to restore a balance between intellect and intuition, facts and feelings, reason and realism.

At the brink of the new millennium, in the midst of the most turbulent of times, the feminine principle is the clear, cool spring that can give life to humanity’s arid wasteland; the sacred water from which to draw purpose and meaning.

Lessons Come From Hindsight
Looking back at the twentieth century, one my say that the progress of women has been slow and laborious, for up until the ‘60s women were best known for their roles as wives, mothers, sisters, nurses, and secretaries. As women’s liberation movements asserted that women were also entitled to human rights, the international community responded with a series of women’s conferences that have contributed to the great strides made in putting women’s concerns high on the global agenda. Yet most women who managed to claim the positions they deserved in the world did so at the expense of the feminine principle and were either caught in the power play of sexuality or achieved their positions only by developing an iron-fisted control over others. While such measures were doubtless successful in the short term, any individual who has to compromise on who she is, and knowingly or unknowingly deny herself access to the source of her own strength, will sooner or later succumb to the trap of exploiting, manipulating, and discriminating against others—the very evils she sought to dispel. Deprived of the strength that comes from within, these are the only tools available to a person living outside the borders of their own being.

Twentieth-century women will be remembered as pioneers of a hard and perilous path to freedom and liberation. Their efforts brought phenomenal breakthroughs and taught significant lessons. The starting point was action-oriented and was influenced by characteristics associated with the left hemisphere of the brain—courage, determination, will-power, and advocacy. The result was the formation of an international network of women’s organizations and groups whose fingers are on the pulse of political, social, and economic changes, and who know how these impact the lives of women all over the world. Faced with the paradox of some material and professional success but very little emotional and spiritual fulfilment, such women continued to feel a sense of inner depletion and a lack of self-worth and self-esteem. Recognizing that the advancement of women was an uphill task, a whole of many parts, it became apparent that progress on the outside had to be nurtured by growth on the inside. Soon, programs on self-development and personal growth began to mushroom. Conferences, seminars and forums were replaced by dialogues, discussions and conversations. The significant lesson learned was the patience to trust that whatever happened was part of a process that would lead to a successful outcome and the rediscovery of characteristics such as intuition, creativity, spirituality, nurturing, sustenance, care, love, and compassion. This shift in consciousness became the backbone of their stories.

Vision Comes From Foresight
Women of the twentieth century have developed guidelines and set standards for women of the twenty-first century to pursue and develop further. The feminine principle, which has come to be seen as the light at the end of the tunnel in the latter years of the twentieth century, will become a natural way of being in the future. Trust, respect, and wisdom will lie at the heart of authentic leadership by women and men; integrity and high moral standards will sustain it. Power will no longer lie in the hands of others who make decisions for us, but within the hearts of each one of us. As natural leaders, we will lead from the core of our inner strength and will follow our own inner principles, conscience, and truth, thus creating our own disciplines.

It will be an integral part of the awareness and attitudes of women responsible for the growth and development of children that every child has the right to participate fully in all areas of society and to equality of opportunity. These guardians of humanity’s future will ensure that the worth of an individual is not determined by gender and will bestow the love and respect with which the true self of each young person may flourish. To a great extent, it lies in the hands of women to master a process that will rescue us and succeeding generations from being restricted by discriminatory attitudes, abusive patterns of physical and emotional behaviour, and the limitations we may have put on ourselves. This will be the sine qua non of our ultimate freedom.

Wisdom Comes From Insight
“Who am I, always keeping an ‘eye’ on ‘I’?”
At the confluence of the two millennia, one of the most challenging insecurities to be overcome is that felt by people in relation to themselves—the question: Who am I?
By using the feminine principle as the premise to explore this mystery, we can embark on our journey of discovery from a perspective of faith in one’s self. We are often reluctant to look within ourselves because we lack the confidence to come face-to-face with the person we fear the most—our own true selves.

Spiritual knowledge gives a deeper level of understanding that can remove the fear of the unknown and open the door to insight. Insight gives the spiritual clarity to recognise the self and the inner strength to accept the self, including our present limitations. Insight also serves as a searchlight with which to see through the layers of limitations we have acquired by overemphasizing the temporary or physical aspects of our identity and with which to focus on the realization of our original and eternal identity— “Who I am always.”

To identify with the inner self is the method to free myself from the confines and constraints of the physical limitations. Faith in myself elevates and divinises my intellect and opens my third eye of wisdom. This is the kind of faith that creates trust and gives me the courage to accept the past, enjoy the present, and create the future I want. It is the wisdom that women must embody. This wisdom is born from the depth of a spiritual consciousness and has been remembered as shakti—will-power received directly from God. Such wisdom, when brought into action, has a truly transforming effect on our lives and the lives of those around us, bringing about integration with integrity.

Using the feminine principle to bring about integration with integrity is the most powerful tool now at our disposal. The practice of returning to one’s original identity and remembering “Who I am always”, as we play our different roles and honour our various responsibilities, is crucial—as it enthrones us on our seat of self-respect. When our subtle inner abilities are integrated in the wholeness of our being and allowed to be expressed with the support of self-respect, actions are performed with a high level of integrity.

The feminine principle has often been mistaken for femininity on a physical level and so respect for inner beauty has often yielded to an obsession with beauty that knows nothing deeper than the skin. A women’s worth comes from the original and innate qualities of the soul: truth, love, purity, joy, and peace, and it is from these values that a women’s beauty is derived and radiated through her features. To believe in the beauty of one’s innate worth and to see the self in the context of this eternal reality, rather than just the transitory physical appearance, gives a tremendous boost to one’s self-esteem and self-confidence.

To feel is a basic human trait, yet when it comes to expressing our feelings in a particular relationship, our passion for a task or admiration for a piece of art or music, often we either overindulge ourselves and lose our sense of reason or we suppress ourselves with the fear of being rejected or of being too emotional. Something somewhere has gone wrong with feelings and so we need to understand deeply what true feelings are. Feelings are linked to motives, intentions, desires, and expectations, and I can control the way I feel when I am in touch with these. I am empowered when my feelings are based on the strength of what is true to me and come from respecting and believing in myself. I am disempowered when I allow external influences to create doubts and fears in the way I feel, causing me to look outward to validate my own feelings. Looking outside myself is the way to let loose waves of victimisation, uncertainty, and insecurity and so feelings are often suppressed and never dealt with. This suppression of feelings leads to depression as I am unable to trust my own feelings and I am reluctant to talk about them, fearing being misunderstood, criticized, or rejected. Staying close to my own truth, innate values, and inner strength enables me to trust my feelings. I am responsible for the way I feel and I have the capacity to remove any painful feelings and to create pure feelings in their place.

Capacity building is the art of balancing feeling with reason. This balance is especially needed in areas of trust, honesty, loyalty, and love. Reason tells me that when I begin to cultivate and nurture any of these values, my own insecurities, fears, and doubts will arise to test the strength of my commitment and to stretch my capacity. Every test has a benefit merged in it. What needs to be understood during these battles is that I must not shrink my capacity to trust just because someone betrays this trust, or my capacity to be honest just because someone lies to me. It is so easy to be influenced by someone else’s behaviour and to internalise their weakness in a way that causes me to lose faith in my own capacity and to waver from staying in alignment with my own values. This is where space is required to maintain healthy and long-standing relationships and not to become so wrapped up in another that I lose all sense of who I am. This stepping back to maintain my own independence and integrity nurtures my growth and increases my capacity to exercise freedom of choice rather than succumbing to the pull of external influences or the expectations of others.

It has been observed that a woman’s intuition guides her ability to make decisions, almost like a sixth sense. However, intuition on its own is not enough for effective decision-making. It is only when motives are clean and devoid of selfish desires that the intuition can give clear signals to help make objective decisions. These subtle abilities must be applied or expressed in relation to facts and not fancy or imagination. Walking the tightrope of daily life can also challenge our ability to make decisions with integrity. This is why it is so important to periodically keep an ‘eye’ on ‘I’ to see whether my actions, words, thoughts, and values are in alignment with my principles. If they are not we must use our sense of self-worth to allow us to delay the decision and, if they are, then that alignment gives us the authority to take a stand, make the decision, and be committed to it.

Within the heart of the human soul, a new world is waiting to be born. The gift we can, and must, offer —to ourselves and to each other—is to rekindle within ourselves the flame of the feminine principle and then to keep that flame glowing strong and steady in our souls, sustaining it with the oil of pure feelings, faith and determination. A commitment to live by this principle is a commitment to ignite the spirit of the twenty-first century in the hearts of all humanity. If I don’t make this commitment, who will?

*www.bkwsu.org

Mar 14, 2009

แนวคิดของ ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] กับบางเสี้ยวแห่งวิกฤตการเมืองไทย



ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง นักประพันธ์เพลงที่ฝึกฝนด้วยตัวเอง แห่งยุคแสงสว่างและเป็นนักปรัชญาสังคมชาวสวิส เชื้อสายฝรั่งเศส ผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติ ฝรั่งเศส [French Revolution] ใน คศ.1789 รุสโซ เกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2255 มารดาของเขาเสีย ชีวิตหลังจากคลอดเขาได้เพียง 9 วัน บิดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตอนรุสโซ อายุ 6 ขวบ พ่อของเขาได้ติดคุก เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับลุง รุสโซหัดอ่านหนังสือมา ตั้งแต่เด็กและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตอนรุสโซ อายุ 16 ปี ได้ออกจากเจนีวา เดินทางท่องเที่ยวและได้หางานทำไป เรื่อยๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต ในปี พศ.2293

เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้าง ชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอย่างมาก อีก 11 ปี ต่อมาก็ตีพิมพ์นิยายเรื่องแรกชื่อ Julie,ou la nouvelle Holoise [The New Heloise] จากนั้นก็ได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ The Social Contract, or Principles of Political of political Right และ The Confessions of Jean-Jacques

Rousseau รุสโซ เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี แต่สังคมทำให้มนุษย์เป็นคนเลว แปดเปื้อน และมนุษย์ มีเสรีภาพตามธรรมชาติโดยไม่จำกัด แต่เมื่อมนุษย์มารวมกันเป็นสังคมจึงต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางส่วนโดยการทำสัญญาประชาคม “ [The social Contract] เพื่อไม่ให้เกิดการลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของกันและกัน รุสโซ กล่าวว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมเสรีภาพ แต่ทุกหนทุกแห่ง เขาต้องตกอยู่ในเครื่องพันธนาการ ความคิดของรุสโซ มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 2332 อย่างมาก และได้พัฒนาเป็นทฤษฎีสังคมนิยม [Socialist theory] และมีส่วนสำคัญ ของการพัฒนาการทางแนวคิด โรแมนติก [Romanticism]


แนวคิดโดยย่อ


-ปรัชญาของรุสโซ
รุสโซ สอนให้คนกลับไปหาธรรมชาติ [ Back to Nature ] เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า
ธรรมชาติ ของคนดีอยู่แล้ว แต่สังคมทำให้เป็นคนเลว เขาบอก ว่า เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล

-ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็นคนเถื่อนใจธรรม [Nobel Savage] เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ [เป็นสภาวะเดียวกับสัตว์ อื่นๆและเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรมและสังคม] แต่กลับถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
-ความเรียงชื่อ การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์ พศ.2293 ได้รับรางวัลเมือง ได้อธิบายว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่า พัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชนเขาสรุปว่า พัฒนาการเชิงวัตถุนั้นจะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉาความกลัว และความหวาดระแวงสงสัย

-การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค
ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่าง อิสระ [Free will] และเป็นสิ่งที่แสวงหาความสมบุรณ์ แบบ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุกเบิกนี้มีความต้อง การพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรูสึกห่วงหาอาทร หรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมาก ขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่นๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเองรุสโซ ได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่า เป็น จุดเริ่มต้น ของการผลิบานของมนุษย์

สาระของแนวคิด

ที่รุสโซ กล่าวว่า มนุษย์เกิดมาเสรีแต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ " เป็นการตกผลึกทางความคิดของรุสโซ ที่ได้ก่อตัวขึ้นก่อนหน้านี้ และงานเขียนชิ้นสำคัญของ รุสโซ ก่อน Social Contract คือ
Discourse on the Origin and the Foundations of Inequality Among Men หรือเรียกว่า The Second Discourse ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษา The Second Discourse ก่อน

The Second Discourse เป็นบทความที่ รุสโซ เขียนเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์และสัตว์ คือ มนุษย์ดำเนินชีวิตด้วยการเป็นผู้กระทำที่เสรี แต่สัตว์เลือกหรือปฏิเสธจากสัญชาตญาณ แต่มนุษย์กระทำด้วยเสรีภาพ เช่น การที่ธรรมชาติบังคับควบคุมสัตว์ทุกชนิด และสัตว์ ทั้งหลายต้องเชื่อฟัง มนุษย์เองรู้สึกถึงแรงกระตุ้นดังกล่าวเช่นกัน แต่มนุษย์ตระหนักดีว่า ตัวเขาเองนั้นมีเสรีภาพที่จะ นิ่งเฉยหรือต่อต้าน[ธรรมชาติ] และเหนือสิ่งอื่นใด ในจิตสำนึกแห่งเสรีภาพนี้ จิตวิญญาณของเขาได้แสดงออกมาซึ่งเป็นการกระทำของ จิตวิญญาณอันบริสุทธ์ นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีความสามารถในการทำตัวเองให้สมบูรณ์ [The faculty of self-perfection] อันเป็นคุณสมบัติของความสามารถที่พัฒนาคุณสมบัติอื่นๆทั้งหมดอย่างเป็นผลสำเร็จด้วยเงื่อนไขที่เอื้ออำนวย และได้นำมาซึ่งการเบ่งบานของปัญญาความรู้ และข้อผิด พลาด ความชั่ว และคุณธรรมความดีของเขา คุณสมบัตินี้เองที่ในระยะยาวจะทำให้เขาเป็นทรราชย์

คนป่า [Savage man] โดยธรรมชาติ ย่อมเริ่มต้นจากการกระทำแบบสัตว์แท้ๆซึ่งกระทำตาม
สัญชาตญาณแท้ๆ หรือชดเชยสัญชาตญาณที่เขาไม่มีด้วยคุณสมบัติที่ทดแทนกันได้ตั้งแต่แรก และจากนั้นก็ยกระดับให้อยู่เหนือธรรมชาติ การรับรู้และความรู้สึก คือสภาวะแรกของเขาซึ่งมีร่วมกับสัตว์ทั้งมวล
เจตจำนงมุ่งมั่นหรือไม่ ปรารถนาหรือกลัว ซึ่งก็คือการกระทำอย่างแรก และเหนืออื่นใดของจิตของเขา
จนกระทั่งเงื่อนไขใหม่ได้ก่อให้เกิดพัฒนาการใหม่ในตัวของมันเอง

การตีความสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ รุสโซ จินตนาการสภาวะธรรมชาติ หรือสภาวะแรกเริ่มของมนุษย์ว่า มนุษย์อยู่กันอย่างอิสระจากกันและกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆระหว่างกัน มิได้ต้องพึ่งพากันและกันไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดๆที่มนุษย์จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อการอยู่รอด มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตของตัวเอง ไปได้ สาเหตุที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตได้ดดยลำพังก็เพราะมนุษย์สามารถตอบสนองความ ต้องการของตัวเองได้ และสาเหตุที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตโดยลำพังก็เพราะความต้องการของมนุษย์ใน สภาวะแรกเริ่มนั้น มีไม่มากนักและไม่สลับซับซ้อน เพราะรุสโซเชื่อว่า ความต้องการของมนุษย์ในสภาวะแรกเริ่มจะจำกัดอยู่เพียงความต้องการทางชีวภาพเท่านั้น นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช โดยดูจากลักษณะของฟันและอวัยวะร่างกายของมนุษย์ที่ไม่เอื้อในการล่าสัตว์ และไม่กินเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุที่สภาพธรรมชาติของโลก ในระยะแรกเริ่ม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้โดยไม่ต้องมีปฏิ สัมพันธ์กัน เพราะรุสโซ เชื่อว่า เมื่อมนุษย์แต่ละคนสามารถตอบสนองความต้องการของตัว เองอย่างพอเพียงแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องไปปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม รุสโซ เชื่อว่าในสภาวะแรกเริ่ม หรือสภาวะธรรมชาติ ความต้องการทางเพศของมนุษย์ เกิดจากแรงขับทางชีวภาพ และมีระยะเวลาที่แน่นอน จำกัด ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อมนุษย์ต่างเพศมาพบเจอ กันต่างก็จำต้องสนองตอบความต้องการทางเพศของกันและกัน เพียงพอแล้ว ต่างก็แยกย้ายจากกันไป ดำเนินชีวิตอย่างอิสระตามปกติเหมือนเดิมในสภาวะธรรมชาติต่อไป มิต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์ไม่จำเป็นต้องสะสมอาหาร หรือของบริโภคใดๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของ คู่นอนที่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน เขาจึงไม่มีความจำเป็นต้องหวงแหน ริษยา หรือมุ่งมั่นที่จะได้หรือรักษาคู่นอนของเขา หรือแย่งชิงคู่นอนของคนอื่นมาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว ด้วยเหตุนี้ ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึงเรียบง่าย ไม่มีความขัดแย้งต่อกัน แต่กระนั้น มนุษย์ก็ยังดำเนินชีวิตอันดิบเถื่อน ไร้อารยธรรมไม่แตกต่างจากสัตว์ รุสโซ ขนานนามว่า เป็น คนป่าผู้ทรงเกียรติ “ [noble savage] คือ เขาเป็นคนป่าเถื่อน ก็เนื่องจากเขาดำเนินชีวิตเยี่ยงสัตว์ นอนกับดิน กินกับทราย เขาเป็นผู้ทรงเกียรติ ก็เนื่องด้วยเขามีจิตใจดีบริสุทธ์ มิได้มีกิเลสตัณหา ไม่มีความต้องการอันไม่เคยพอ ไม่มีความอิจฉา ริษยา มุ่งร้ายต่อกัน ดังนั้น มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึง ดำเนินชีวิตเยี่ยง คนป่าผู้ทรงเกียรติ และเป็น เสรีชน ที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในเงื่อนไข ที่เขาแต่ละคนมิได้มีปฏิสัมพันธ์ใดๆต่อกันและกัน
อิสรเสรีของมนุษย์ผู้หญิงในสภาวะธรรมชาติ

รุสโซ อธิบายไว้ว่าธรรมชาติได้สร้างมนุษย์เพศหญิงให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดได้ด้วยตัวเองโดยไม่ ต้องไปอาศัยมนุษย์ผู้ชาย อีกทั้งยังตั้งครรภ์ และคลอดบุตรได้เองโดยไม่ต้องพึ่งผู้ชายอีกด้วย ดังนั้น ผู้หญิงในสภาวะธรรมชาติมีความอดทนและมีความสามารถดูแลตัวเองได้โดยลำพัง หลังจากนั้นนางจะเลี้ยงดูบุตรไปอีกระยะหนึ่ง และจะดูแลเด็กอีกไม่นานเพราะเด็กสามารถดูแลตัวเองได้เร็วกว่าเด็กที่เติบโต มาจากสังคมที่เจริญแล้ว ในที่สุดเด็กก็จะจากแม่ไปเองมีชีวิตอิสระตามลำพังด้วยตัวเอง และแม้ว่าถ้ามีโอกาสได้พบเจอลูกผู้ให้กำเนิด นางก็ไม่สามารถจำกันแลกันได้ เป็นเหมือนคนแปลกหน้า
อารมณ์ความรู้สึกกับการกำเนิดชีวิตครอบครัว

รุสโซ เชื่อว่า การเกิดขึ้นของครอบครัวมนุษย์นั้น เป็นเรื่องของความบังเอิญ และอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเหตุผลสำคัญอื่นใดแฝงไว้ โดยบรรยายไว้ว่า ในช่วงฤดูสืบพันธ์ของมนุษย์ อาจมีบางครั้งบางคราวที่มนุษย์ เพศชายและหญิงจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันนานกว่าปกติ ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่หวานชื่นที่สุดต่อ กันและกัน ทำให้ทั้งสองมีความรู้สึกว่า การอยู่ร่วมกันนั้น ให้ความอบอุ่นและความรู้สึกที่ดีที่ผูกพันกว่าการ ที่แยกจากกันไปเฉยๆ ดังนั้น เขาทั้งสองจึงเลือกที่จะอยู่ด้วยกันต่อไป จะเห็นได้ว่า ครอบครัวของมนุษย์

ในความคิดของรุสโซ นั้นเกิดจากความบังเอิญและเสรีภาพในการที่จะเลือกทำเช่นนั้น อันเป็นการกระทำที่เสรี ซึ่งได้เบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติของมนุษย์ตามที่ได้เกิดมา คือ เขาทั้งสองนั้นมิได้มีอิสรเสรีสมบูรณ์เหมือนดังเดิม กลับมีความรู้สึกผูกพัน ต่อกันและกัน ซึ่งถือว่า เป็นบ่อเกิดแห่งพันธนาการของมนุษย์ซึ่งความผูกพัน ดังกล่าว ทำให้มนุษย์อ่อนแอลง เพราะมนุษย์มีห่วงใยกังวล ไม่สามารถตัดสินใจดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระโดยลำพัง เหมือนเช่นเดิม เมื่ออิสรเสรีภาพของมนุษย์สุญหายลดทอนลง แต่เขาได้มาซึ่งความสุข ความอบอุ่น และความผูกพันทางอารมณ์และจิตใจ จากเริ่มต้นที่เป็นมนุษย์เกิดมาเสรีแต่บัดนี้ เขาเริ่มเข้าสู่ พันธนาการจากการตัดสินใจโดยเสรีที่เลือกมาอยู่ร่วมกัน จึงได้เกิดการแบ่งงานกันทำอันเป็นผลมาจากพันธนาการ ของกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์พัฒนาความเป็นอยู่ของตนมีเวลาคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ นับว่าเป็นก้าวแรกของการพัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาติ จากสภาพคนป่าที่ดำเนินชีวิตเยี่ยงสัตว์ พัฒนาเป้นการอยู่กินเป็นครอบครัว แต่กระนั้น เค้าลางของการสูญเสียการเป็น ผู้ทรงเกียรติก็เริ่มต้นขึ้น ซึ่งเกิดจากความหวงแหนคู่ของตน และอารมณ์ความรู้สึกทางจิตใจอื่นๆที่ตามมาเขาไม่ สามารถรู้สึกผูกพันคู่นอนเพียงเท่าที่เขาผูกพันกับผลไม้ที่เขากินได้อีกต่อ ไปได้แล้ว และอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวนี้ ที่รุสโซ เรียกว่า “ Sweetest Sentiment”


กำเนิดสังคม

รุสโซ อธิบายการกำเนิดสังคมว่า มีสาเหตุมาจากการเกิดและการขยายการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวก็บังเกิดขึ้น รุสโซ ชี้ถึงปัจจัยสำคัญคือ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความ รักแบบโรแมนติก เขาเน้นถึงบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจที่มีต่อการก่อตัวของสังคมเมือง [civil –Society] ดังที่กล่าวไว้ว่าคน แรกที่กั้นรั้วแผ่นดินคือผู้เริ่มสังคมเมืองที่แท้จริงการคิดค้นการเกษตรกรรมที่นำไปสู่การสร้าง กฎ กติกา เพื่อความยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก และในที่สุดแล้ว ด้วยการแนะนำของผู้มั่งคั่ง[the rich] ก็จะนำไปสู่ การสถาปนาการเมืองการปกครองขึ้นมา หมายความว่า การเกิดการปกครองขึ้นมานั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าปราศจาก เงื่อนไขของการเกิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวในที่ดิน มาก่อนหน้า และแท้ที่จริงแล้ว พัฒนาการการเกษตรที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลพวงมาจากการเกิดครอบครัวก่อนหน้านี้ แต่กระนั้น ก็เสนอด้วยว่าเศรษฐกิจการเกษตรในตัวของมันเอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพัฒนาการของความ ต้องการทางเพศ [erotic developments] เรื่อง เพศ [sexuality] คือสะพานนำไปสู่การเมือง โดยมีนัยของการเปลี่ยนแปลงเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์เป็นปัจจัย เงื่อนไขที่จำเป็นอย่างยิ่งในการกำเนิดสังคมการเมือง รุสโซ อธิบาย ความขัดแย้ง ความไร้ระเบียบ [disorder] ที่อุบัติ ขึ้นเมื่อสังคมได้ถือกำเนิดไว้ดังนี้คือความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะของมนุษย์ในสังคมไม่เอื้ออำนวย หรือไม่เหมาะสมกับพวกเขา ความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมนุษย์มองมนุษย์ด้วยกันว่า เป็นศัตรูที่แข่งขันกับพวกเขา เพื่อความโดดเด่นหรือเพื่อความเหนือกว่า หรือเพื่อสิ่งที่พึงปรารถนา และสุดท้าย ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ภายในปัจเจก-บุคคล เมื่อจิตใจของเขาตกอยู่ภายใต้พันธนาการของกิเลส ตัณหา อันไม่มีขีดจำกัด อารยธรรมหรือความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการนี้ ทำให้ศีลธรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์เสื่อมทรามลง เสียมากกว่าที่จะทำให้ดีขึ้น เมื่อมนุษย์ตกเป็นทาสของศิลปะวิทยาการ เสรีภาพที่เคยมีและเป็นแก่นแท้ ของความเป็นมนุษย์ก็ได้สูญหายไป
ด้วยเหตุนี้เองที่ รุสโซ ได้กล่าวขึ้นต้นใน The Social Contract ไว้ว่ามนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาอยู่ในพันธนาการ ใครที่คิดว่าตนเป็นนายคนอื่น ย่อมไม่วายจะกลับเป็นเสียทาสยิ่งกว่า" ความผันแปรเช่นนี้เกิด ขึ้นได้อย่างไรข้าพเจ้าไม่ทราบ อะไรเล่าที่จะพึงทำให้ความผันแปรนั้นกลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฏหมาย ข้อนี้ข้าพเจ้าคิดว่าจะตอบปัญหาได้เพราะในสภาวะสังคมมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิด ระเบียบเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เหยียบหัว แย่งชิง หลอกลวง ทรยศ และทำลายซึ่งกันและกัน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมเขาเสนอให้มีการสร้าง หรือการจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นมา นั่นคือเราจะทำอย่างไรที่จะหารูปแบบของการอยู่ร่วมกันที่ สามารถปกป้องบุคคล และสิ่งที่พึงปรารถนาของสมาชิกแต่ละคนในสังคม โดยการร่วมพลังของทุกคน และเป็นรูปแบบการอยู่ร่วมกันที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคน แม้ว่าจะรวมตัวเข้ากันกับคนอื่น แต่ก็มิได้ต้อง เชื่อฟังใคร นอกจากตัวเขาเอง และยังคงมีอิสรเสรีเหมือนแต่ก่อน คำตอบนั้นคือสัญญาประชาคม “ [Social Contract ] คือ คำตอบสำหรับการหลุดจากสภาวะอันไม่อำนวยต่อการดำรงชีวิต ความเป็นมนุษย์ มาทำสัญญาร่วมกัน หมายถึง การยอมเสียเสรีภาพตามธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของ เขาเพื่อแลกกับเสรีภาพทางสังคมการเมือง รุสโซ กล่าวว่า แก่นของสัญญาประชาคม คือ การที่พวกเราแต่ละคนยอมสละตัวเอง และอำนาจหน้าที่ ที่เขามีอยู่ทั้งหมดให้กับส่วนรวม ภายใต้การนำสูงสุดของเจตจำนงร่วม และในฐานะองค์รวม เราได้รวมสมาชิกทุกคนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดที่แบ่งแยกไม่ได้ อันประกอบด้วยจำนวนสมาชิกที่มีจำนวนเท่ากับผู้ออกเสียงในที่ประชุมซึ่งทำให้ องค์รวม ดังกล่าวมีชีวิต มีเจตจำนง มีตัวตน และมีเอกภาพ ของตัวเองขึ้นมา องค์รวมทางการเมืองหรือ บุคคลสาธารณะที่ก่อตัวขึ้นนี้ คือสังคมเมือง หรือสาธารณรัฐ และในสถานะที่เป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งเรียกว่า รัฐ แต่ถ้าอยู่ในสถานะ ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า องค์อธิปัตย์ [the sovereign] และเมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่างองค์อธิปัต ย์ด้วยกัน เราเรียกว่า อำนาจ [power] และสำหรับผู้ ที่เข้าร่วมอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ เรียกว่าประชาชน และเรียกว่าพลเมือง ตราบเท่าที่พวกเขามีส่วนร่วมในอำนาจอธิปไตย และเรียกพวกเขาว่าราษฎร ตราบ เท่าที่พวกเขาอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ

รุสโซกับโลกปัจจุบัน

ในเรื่องมิติแห่งเวลา รุสโซ ไม่เชื่อว่า สังคมจะสามารถย้อนเวลากลับไปสู่สภาวะอันเปล่าเปลือยเหมือนเช่นตอนแรกเริ่มได้อีก และที่สำคัญ รุสโซ เชื่อในความสามารถในการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์


ดังนั้นเส้นทางประวัติศาสตร์ของ มนุษย์ย่อมต้องเดินหน้าต่อไปมากกว่าที่จะถอยหลัง มนุษย์และเจตจำนงเสรีในตัวเขาย่อมจะช่วยให้เขาก้าวเดินต่อไป และ รุสโซ เชื่อว่า มนุษย์สามารถคิดค้นและออกแบบสร้างสรรค์ เจตจำนงทั่วไป อันเป็นสิ่งประดิษฐ์ใน การสร้างระเบียบใหม่ให้กับสังคมที่ไร้ระเบียบ ที่มิได้เป็นผลผลิตของธรรมชาติที่มีระเบียบของมันเอง ที่ครั้งหนึ่งมนุษย์อาจเคยอยู่กับมันมานานแล้ว และไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนไปได้ จะทำได้เพียงแค่จินตนาการ

แนวคิดที่สำคัญของรุสโซ

1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ ถ้าไม่มีสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์
2.ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม เว้นแต่ผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยความชอบธรรมเท่า นั้น ต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรมถึงจะมีความชอบธรรม
3.การเป็นทาส ผู้ใดยอมรับความเป็นทาส ผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์ เพราะทาสไม่มีเสรีภาพ แนวคิดนี้ของรุสโซ แตกต่างกับ โทมัส ฮ๊อบส์ กล่าวว่า สันติภาพ หรือความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น แต่รุสโซ กล่าวว่าสันติภาพ และความปลอดภัยอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะต้องมีเสรีภาพด้วย เหมือนในคุก มีสันติภาพแต่ไม่มีเสรึภาพ จึงไม่มีใครอยากอยู่ในคุก
4.สัญญาประชาคม รุสโซ เสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน เรียกว่า สัญญาประชาคม [Social Contract] เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น
5.ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะ ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
6.ประชาชนทำหน้าที่เป็น พลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
7.เจตจำนงทั่วไป ในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนอง เจตจำนงทั่วไป ของประชาชน
8.การเลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่า การเลือกผู้แทนราษฎร คือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซ เห็นว่า ประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น แนวคิดรุสโซ เป็นแนวคิดการปกครองแบบตรง ที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรง แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมี ประชากรเป็นจำนวนมาก และในลกปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยโดย ตัวแทน ทั้งหมด

ข้อความที่ว่า มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ นั่นคือการตก ผลึกทางความคิด
รุสโซ ก่อนหน้างานเขียนชิ้นสำคัญ ก่อน “ Social Contract “ ก็คือ “ The Second Discourse “
จากเริ่มต้นที่ มนุษย์เกิดมาเสรี มีอิสรเสรีภาพ ภายใต้สภาวะธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึง
เรียบง่าย ไม่มีความขัดแย้ง แต่เมื่อมนุษย์ตัดสินใจโดยเสรี ไม่มีใครมาบังคับ และเลือกที่จะอยู่ร่วมกันเป็นคู่หลายๆ คู่ก็เป็นสังคมจนกลายเป็นรัฐ มีการแบ่งงานกันทำ อันเป็นผลมาจากการที่มี พันธนาการต่อกันและกัน ซึ่งเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ พัฒนาความเป็นอยู่ของตัวเอง มีเวลาสร้างสรรค์คสิ่งต่างๆ นั่นคือก้าวแรกของการ พัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาติ นั่นเอง

แนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้หรือนำมาใช้ในการพัฒนาการเมืองการปกครอง ของไทย

ความจริงที่ว่า รุสโซ คือต้นแบบประชาธิปไตยในโลกปัจจุบัน ตามที่นักวิชาการ นักการเมืองบางท่าน ได้กล่าวอ้างขึ้นมาเพื่อรองรับความชอบธรรมทางการ เมืองของตนเอง การที่รัฐบาลซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศทำหน้าที่ในการบริหารราชการของประเทศนั้นย่อมมีอำนาจในการ ปกครองประเทศโดยสมบูรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลควรจะปล่อยให้ภาคประชาชนได้มีสิทธิเสรีภาพ ในการที่จะแสดงออกทางความคิดเห็นอย่างเสรี ที่จะเห็นด้วย สนับสนุน หรือต่อต้าน คัดค้าน การทำหน้าที่บริหารของรัฐบาล แต่ภาคประชาชน ต้องกระทำภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้มีบทบัญญัติไว้หน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่มีแค่ บริหารบ้านเมือง ใช้งบประมาณแผ่นดิน และบังคับใช้กฎหมายเท่านั้นแต่ รัฐบาลจะต้องมีหน้าที่ส่งเสริม สนันสนุน เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในทางการเมืองของ ภาคประชาชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง พร้อมไปกับพรรคการเมือง ซึ่งมีหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วแต่รัฐบาลจะ ต้องคอยดูแล คอยกำกับ คอยปกกัน ภาคประชาชนไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตที่กำหนด ไว้ภายใต้กฎหมายโดยไม่ให้ไปกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือความ มั่นคงของประเทศ ตัวอย่างเช่น

- กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 นับว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึง การใช้สิทธิเสรีภาพของภาคประชาชนที่เกินขอบเขต ถ้ารัฐบาลไม่ยอมตัดสินใจทำอะไรหรือมีมาตรการอะไรที่จะดำเนินการกับภาค ประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพ ที่เกินขอบเขตที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมาย เช่นนี้ ถือว่ารัฐบาลส่งเสริมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย สังคม ประเทศชาติจะวุ่นวาย กระทบกระเทือนไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์ภายในประเทศไทย แต่การปิดสนามบินแห่งชาติ 2 แห่ง ได้ส่งผลกระทบถึงประเทศอื่นในภุมิภาคอาเซี่ยน ในที่สุดรัฐบาลก็จะเสื่อมอำนาจ และหมดอำนาจไปในที่สุดเพราะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ไม่มีคน คนเชื่อฟัง ทำตามคำสั่งของรัฐบาล ทำให้เกิด อนาธิปไตย ขึ้นได้
*ฉะนั้นการบริหารปกครองบ้านเมืองของรัฐบาล จำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางส่วนเพื่อความสงบสุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ แต่ต้องทำอย่างเหมาะสมและเท่าที่จำเป็นจริงๆ หากรัฐบาลนิ่งเฉยปล่อยให้กลุ่มคนมีเสรีภาพมากจนเกินขอบเขตไป จนไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นสาเหตุลุกลามใหญ่โต เกินแก้ไขได้ เกิดความวุ่นวายทุกหนแห่ง จนกลายเป็น เกิดการจลาจล และถึงขั้นกลายเป็น สงครามกลางเมือง อย่างแน่นอน

โดย ภัทรษมน รัตนางกูร

บทความที่เกี่ยวข้อง