Mar 29, 2010

Twitter Isn’t Down As Much As You Think – 99.74% Uptime Since March 2009

Some interesting stats over at Pingdom.com, which tracks Twitter.com uptime since March 2009, as well as downtime and average response.
Twitter Uptime Averages 99.74%
Twitter has seen just 55 minutes of downtime thus far in March, a massive improvement on some of the frightening numbers we saw last year (although most of these can be traced back to one or two very bad days).
The uptime number is pretty impressive, but it’s interesting that the average response has been steadily getting slower since last November’s benchmark. Certainly not enough to notice, but that’s a trend that Biz Stone et al will want to see (at least) flattened. A significant reversal might be an unreasonable expectation given the growth we’ve seen in monthly tweet numbers.
Still, it does give confidence in the system, and makes you realise that Twitter isn’t as down anywhere near as much as it used to be. Although you might think otherwise judging by the number of tweets about it, even if asking ‘Is Twitter down?’ on Twitter is about as surreal as you can get.
If you enjoyed this article, please share it!
  • Twitter
  • Facebook
  • StumbleUpon
  • Digg
  • del.icio.us
  • Reddit
Related posts:
*twittercism.com

Mar 25, 2010

Sweden tops rankings of the Global Information Technology Report 2009-2010

Sweden tops the rankings of The Global Information Technology Report 2009-2010, released by the World Economic Forum. The report highlights the key role of Information and Communication Technology (ICT) as an enabler of a more economically, environmentally and socially sustainable world in the aftermath of one of the most serious economic crises in decades. Sweden is followed by Singapore and Denmark, which was in the number one position for the last three years. The Networked Readiness Index (NRI), featured in the report, examines how prepared countries are to use ICT effectively on three dimensions: the general business, regulatory and infrastructure environment for ICT; the readiness of the three key stakeholder groups in a society - individuals, businesses and governments - to use and benefit from ICT; and the actual usage of the latest information and communication technologies available.
Networked Readiness Index 2009-2010 (Top 10)
Economy
Rank 2010
Rank 2009
Change
Sweden
1
2
1
ä
Singapore
2
4
2
ä
Denmark
3
1
-2
æ
Switzerland
4
5
1
ä
United States
5
3
-2
æ
Finland
6
6
0
à
Canada
7
10
3
ä
Hong Kong SAR
8
12
4
ä
Netherlands
9
9
0
à
Norway
10
8
-2
æ
“Sweden, Singapore and Denmark’s superior capacity to leverage ICT as an enabler of sustainable, long-term economic growth is built on similar premises, relating with a long-standing focus placed by governments and private sectors alike on education, innovation and ICT access and diffusion,” said Irene Mia, Senior Economist of the Global Competitiveness Network at the World Economic Forum and co-editor of the report. Watch the full interview with Irene Mia below.




Published for the ninth consecutive year with an extensive coverage of 133 economies worldwide, the report remains the world’s most comprehensive and authoritative international assessment of the impact of ICT on the development process and the competitiveness of nations.
The report is produced by the World Economic echnology and Telecommunications Industries.

*forumblog.org

Mar 17, 2010

25 Years of Dot-Com. What Do You Predict for the Future?

March 15, 2010 marked the 25th anniversary of the first “dot-com” registration on the Internet.  With over 100 million domain registrations and counting, we’ve witnessed an explosion of communication, commerce, idea-sharing, and human connectivity unlike anything else in human history. This truly marks a revolutionary and transformational shift in the way we live, gather information, do commerce, and connect with each other. No domain is unaffected. From societies, governments, communities, businesses to individuals and families, we have all been profoundly impacted by the massive migration to the Internet. 
The impact on societies across the globe cannot be understated as the Internet has provided a democratization tool for people to access information in real time across all boundaries. Still, there are some countries battling the policy of free access to the Internet as evidenced recently by China’s confrontation with Google. However, people find a way to get what they thirst for and eventually get around firewalls in ingenious ways.  
Who can forget the Twitter-revolution in Iran last year as thousands and thousands of Iranians took to the streets to give voice to their aspirations for legitimacy in their election outcomes? The human voice is deep and relentless. It cannot be suppressed. Our new Internet technology literally gives voice to countless people of all ages, ethnicities, race, gender, religions, political persuasions, rich or poor.  People who were previously disenfranchised are now empowered and equipped to express their voice! 
Recently, with the cataclysmic disaster in Haiti, donations poured instantly as people used their social networks and texting to pour their generous funds to the people of Haiti. It’s never been easier to click your way to making an instant impact in the lives of people in one’s own neighborhood or to far away neighbors across the globe.  
What Do You Predict for the Future of the Internet?
At the 25th Anniversay of .Com Policy Impact Forum in Washington DC on March 16, many prominent leaders from different fields discussed the impact of the dot-com sensation. These leaders shared their excitement along with their concerns for a free-wielding Internet/ technology. They looked through their “crystal ball” to predict what the future would hold with this powerful but challenging medium.  
So what are your thoughts? What do you predict is the future of the Internet? Are you better off today being connected 24/7? Are you feeling overwhelmed or do you feel more in charge of your life? Has your productivity increased or decreased? How do you discern the credibility or truth behind all the countless messages, ideas or agendas online? How are you using the Internet to find solutions to your pressing problems? How has the Internet brought you new opportunities or brought you closer to your family, friends, or loved ones? 
I encourage you to ask yourself: Where do I need to connect more? Where do I need to simply disconnect to gain better balance and control in my life? I know my grandchildren are already natives to the Internet. I am not. They face many great opportunities if they choose to anchor themselves on guiding principles that will help them determine what is good and what is not, and what is simply distracting or negative on the Internet. Without that anchor they are at risk of being enslaved by forces that will pull them in conflicting directions, leaving them without a principle-centered compass to help them take charge of their own lives.  
This is an exciting time with great opportunities for good. I look forward to the future and the promise of people all around the world and their desire for greatness. The Internet can be a powerful tool to fulfill that greatness!

*stephencovey.com

Mar 11, 2010

The Truth About the Average Twitter User [STATS]

A new study from security firm Barracuda Labs provides some interesting insights into the state of the Twitterverse. Unfortunately for the microblogging startup, the stats say that most of its users aren’t very active.The study looked at around 19 million Twitter accounts (PDF) in order to figure out how people are using Twitter. It started with one assumption: an active or “True” Twitter user has at least 10 followers, follows at least 10 people, and had tweeted at least 10 times. By that definition though, only 21% of Twitter users are active users.
There’s a great deal of interesting data in the breakdown. Only 26% of Twitter users had 10 followers or more by December 2009, while only 40% were following 10 people or more (in fact, a majority of Twitter users, 51%, were following less than five people).
In terms of tweets, the report estimates that 34% of Twitter users hadn’t tweeted even once, while a whopping 73% of Twitter’s users tweeted less than 10 times. That means nearly all of the tweets on the social network were coming from about 1/4 of the userbase. Power users dominate.
Barracuda Labs also analyzed Twitter’s growth over time, and the numbers are consistent with previous reports that show while Twitter grew like wildfire in early 2009, it has dramatically slowed down in recent months. Going back further to early 2008, the report estimates that the microblogging tool grew by just 0.31%. However, with the quick rise of media coverage and the influx of celebrities such as Oprah and Shaq, Twitter use grew by 20% in April 2009 before dropping off to 0.34% growth in December 2009.
While the news isn’t stellar, it isn’t all bad for Twitter — these metrics are moving in the right direction. A full 79% of users had less than ten tweets in June 2009, but that number dropped to 73% by December. 80% of users had less than 10 followers in June 2009, but that percentage dropped to 74% by December. If that trend continues, you’ll hopefully see a more diverse and active Twitterverse going forward.
[via MediaMemo]

*mashable.com

Mar 10, 2010

ทวิตเตอร์ทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย :p

เล่นทวิตเตอร์ตอนเช้ามักจะเจอ link ดีๆ อยู่เสมอๆ หลังจากที่เจอแอพฯ ที่มีมีประโยชน์อย่าง TwitPic, TweetLater and TwitterFeed วันนี้เปิดมาเจอนี่เลยค่ะ แอพพลิเคชันฮาๆ (และแปลกๆ อย่างที่ไม่คิดว่าจะมี) สำหรับชาวทวิตเตอร์ไปลองเล่นดูค่ะ เริ่มด้วยนี่เลยค่ะ TwitterLoo (น่าจะเหมาะสำหรับ @sugree…แอบพาดพิงเล็กน้อย :p)

ถูกเรียกว่าเป็นแอพพลิเคชันสำหรับทวิตเตอร์ที่แปลกประหลาดที่คุณจะได้เคย ใช้ คือว่ามันเอาไว้สำหรับป่าวประกาศให้โลกรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างที่คุณ เข้าห้องน้ำวันนี้

โดยทั้งหมดจะมี 3 step ง่ายๆ ก่อนอื่นก็ต้องเลือกภาพประกอบอันน่าเย้ายวน (อี๊พอใช้ได้เลยอ่ะ) ว่าชุดใหญ่ของคุณวันนี้คล้ายคลึงกับภาพไหนมากที่สุด มีทั้ง “A Sticky” (แบบเหนียว) “A Veggie” (แบบมังสวิรัติ) แล้วก็แบบ “A Neverending Story” (แบบที่ไม่มีสิ้นสุด) พอเลือกได้แล้วคุณก็ต้องเลือกสถานที่ว่าวันนี้คุณไปปล่อยชุดใหญ่ของคุณไว้ ที่ไหน อย่างเช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน บนถนน ในกางเกง (อันนี้ออกแนวอันไม่อยู่ :p) สถานที่ลับ และอื่นๆ อีกมากมาย เสร็จแล้วก็ใส่ชื่อเสียงเรียงนามของคุณ ทุกอย่างก็โชว์ขึ้นไปบน Profile ของคุณ … มีแบบนี้ด้วยอ่ะ!! (ต้องขออภัยที่บทความนี้จะสกปรกเล็กน้อยนะคะ :p)
ส่วนใครที่มีความลับอัดอั้นตันใจอยู่ในอกมานาน ไม่เคยบอกใคร บอกใครไม่ได้ แต่อยากบอกใจจะขาด ลองนี่ค่ะ Secret Tweet …คุณสามารถเข้าไประบายความในใจของคุณได้โดยที่จะไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นใคร หรือถ้าคุณกำลังอยากอ่านความลับของคนอื่น ก็เข้าไปดูได้ค่ะ (เพื่อ??)

และสำหรับใครที่กำลังทำหน้าที่คุณครูเจ้าระเบียบ ตรวจจับผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่บังอาจทวีตคำหยาบ ไปที่ Curse Bird ค่ะ มันจะรวบรวมทวีตที่มีคำหยาบอย่าง “fuck”, “shit” and “bastard” จาก timeline ส่วนรวมมาค่ะ มีกราฟให้ดูด้วยนะคะว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการใช้คำหยาบบนทวิตเตอร์มากน้อย แค่ไหน!

สำหรับนักทวีตยามค่ำคืน…ลองเข้าไปที่ Zzzz …เป็นที่รวบรวมทวีตที่มีคำว่า “Zzz” อยู่ในข้อความ แล้วก็นำเสนอออกมาได้แบบ Film Noir หม่นมืด เหมาะสำหรับการนอนมากมาย :p

ใครที่ชอบลุ้นรางวัล ชอบเล่นลอตเตอรี่ เอานี่ไปเลย Click & Win …เป็น การลุ้นรางวัลผ่านทวิตเตอร์ แถมได้รางวัลจริงด้วยนะ วิธีก็คือเข้าไปคลิ๊กทวีตของเขา 1 คลิ๊กต่อ 1 IP address คนที่โชคดีก็แค่เข้าไปเคลมของรางวัลได้ผ่านอีเมลของคุณ ตอนนี้ของรางวัลเป็นบัตรของขวัญ มูลค่า 10 เหรียญสหรัฐฯ จาก Amazon …แต่ในอนาคตอาจจะมีของรางวัลอลังการกว่านี้ก็ได้นะ

สาวๆ คนไหนที่กำลังพยายาม keep track ว่าในหนึ่งวันคุณกินอะไรไปบ้าง ไปที่นี่เลยค่ะ Tweet What You Eat …มันจะช่วย คุณจดบันทึกรายการอาหารที่ทานในแต่ละวัน เป็นการ keep track ผ่านทวิตเตอร์

อันถัดมานี้คล้ายๆ กับ Secret Tweet ด้านบนคะ สำหรับคนที่มีพฤติกรรมส่วนตัวที่แปลกๆ แล้วอยากสารภาพให้โลกรู้ อย่างเช่นคุณชอบพูดกับตัวเอง หรือปิดตาข้างนึงเวลาสั่งน้ำมูก …เข้าไปสารภาพได้ที่ Weird Habit หรือถ้าใครกำลังเครียด ลองไปนั่งอ่านดูก็ได้ค่ะ บ้างอันก็แปลกดี -_-!

สุดท้ายก่อนไป FlipMyTweet เป็นแอพครีเอทีฟสนุกๆ ที่จะกลับหัวกลับหางข้อความทวีตของคุณ แล้วเอาไปทวีตต่อค่ะ …. ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำไปทำไม แต่ก็ฮาดีค่ะ :D


mashingup.wordpress.com

Mar 5, 2010

จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ "นักข่าว" 3.0 News Media in Transition?

วันนี้ 5 มีนาคม วันนักข่าว ไฮไลท์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันนักข่าวคือ การเปิดตัวหนังสือวันนักข่าว ซึ่งแต่ละปีจะหยิบปรากฎการณ์สำคัญในวงการมาเป็นเรื่องนำ สำหรับปีนี้ ทีมทำงานหยิบประเด็นเรื่อง " นักข่าว 3.0 โจทย์หินสื่อไทย " เนื้อหาเจาะลึก ปรากฎการณ์สื่อกระดาษที่กำลังค่อยๆ อัศดง และการปรากฎขึ้นมาของ สื่อใหม่ หรือ สื่อกระจก "ประชาชาติธุรกิจ" นำบทไฮไลท์จากหน้าปกมานำเสนอดังนี้



... หนังสือพิมพ์กำลังจะตาย !!
.. ทางรอดหนังสือพิมพ์ ?
... วิกฤตวารสารศาสตร์ !!
.. Change คนข่าว ?
... สงครามทีวีเดือด!!
นี่คือ พาดหัวนิตยสาร ราชดำเนินประจำเดือน พฤศจิกายน 2552 ที่กลายเป็นหัวข้อถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในสนามข่าวและโรงพิมพ์แต่ละแห่ง
นั่นอาจเป็นเพราะ วินาที นี้ "นิวส์ มีเดีย" อยู่ชิดปลายจมูก คนทำสื่อ เข้าไปทุกที
ขณะที่ 3 จี และ social media หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทวิสเตอร์ หรือ เฟสบุ๊ค กลายเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังท้าทายนักข่าวยุคเก่าและนักข่าวในยุคดิจิตัล อย่างมีนัยยะสำคัญ
กระนั้นก็ตาม คำถามใหญ่ในวงการสื่อก็คือ ในยุคที่ "social media " มีเครือข่ายโยงใยทั่วโลก จนยากที่จะปฏิเสธได้เช่นนี้ สื่อกระแสหลัก จะปรับตัวไปในทิศทางใด ?
และที่สำคัญ นักข่าวต้องปรับตัวอย่างไรกันบ้าง ?
นี่คือ บทเสวนา "ประเด็นร้อนแห่งปี" เพื่อถกปัญหาร่วมสมัย ในวงการสื่อ ทั้งจากสื่อมวลชน นักวิชาการสื่อ รวมทั้งตัวแทนเอเยนซี่ ชื่อดัง ที่เกาะติดปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวนี้อย่างใกล้ชิด
"ดร. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล " คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดประเด็นว่า การศึกษาเรื่อง News Media in Transition ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า Journalism ว่า ไม่ได้หมายถึงสื่อหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว
แต่ Journalism คือการบันทึก เป็น กระบวนรวบรวม เขียน บรรณาธิกรและนำเสนอออกมาในรูปของข่าวและบทบรรณาธิการ ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสารข่าว ข่าวโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต เพียงแต่หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุดที่นำเสนอข่าว และกลายเป็นสถาบันหนึ่งที่ทรงอิทธิพลของสังคมมาเนิ่นนาน
ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดกับสถาบันที่เก่าแก่ ย่อมส่งผลถึงความรู้สึกของคนทั้งที่อยู่ในกระบวนการผลิตและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียจากกระบวนการผลิต
ดร. สุดารัตน์ กล่าวว่า จากงานวิจัยต่างประเทศหลายชิ้น ระบุพ้องกันว่า ท่ามกลางเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ธรรมชาติของการบริโภคสื่อ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ผู้รับสารมีลักษณะทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมๆกัน เช่น อ่านหนังสือไปพร้อมกับฟังรายการทางวิทยุ หรือดูทีวีไปพร้อมๆกับเล่นคอมพิวเตอร์และทานอาหารจานด่วนไปด้วย ส่งผลให้ สมาธิที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งน้อยลง ต้องการข้อมูลแบบฉับไวมากขึ้น
"ถ้ามองจากมุมนี้จะพบว่า สื่อออนไลน์และออฟไลน์จะเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญสำหรับหนังสือพิมพ์กระดาษแน่ นอน เพราะตอบสนองจริตของ "คนรุ่นใหม่" ได้ตรงกว่า มีความรวดเร็ว ฉับไว เลือกบริโภคเนื้อหาได้ตรงตามความสนใจ รวมทั้งก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่อีกด้วย เพราะสามารถรับข่าวสารโดยตรง หรือ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่วันนี้ได้กลายเป็นอุปกรณ์พื้น ฐานของคนทั่วๆไปแล้ว"
ปกตินักข่าวจะเคยชินกับการเก็บข้อมูลเฉพาะเนื้อหา โดยมีฝ่ายภาพแยกต่างหาก แต่ตอนนี้นักข่าวทำข่าวชิ้นหนึ่งต้องจินตนาการไปพร้อมๆกันว่า จะนำเสนอออกหลากหลายช่องทางอย่างไร ต้องใช้ภาพ เสียง กราฟิกประกอบ รวมใช้เทคนิคการเล่าเรื่องอย่างไร เหมือนนักข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์และอีกหลายองค์กรข่าวในต่างประเทศที่ทำได้ หลายอย่างในตัวคนเดียว
นอกจากนี้ยังต้องทำงานให้ได้เร็วอีกด้วย เพราะผู้รับสารยุคใหม่อยากเห็นข่าวนั้นมีความอัพเดทอย่างต่อเนื่องและแน่นอน ที่สุดเมื่อต้องเลือกความรวดเร็ว ความรอบคอบและความถูกต้องย่อมน้อยลง นักข่าวจึงควรเป็นคนฉับไว รอบรู้และมีไหวพริบ มีทักษะของการค้นคว้าตรวจสอบข้อมูลได้เร็ว ตัดสินใจได้ดี
ดังนั้น "นักข่าวยุคใหม่จะไม่ใช่เป็นแค่นักข่าว แต่เป็นเอดิเตอร์และโปรดิวเซอร์ไปพร้อมๆกัน " การเรียนการสอนทางวารสารศาสตร์จึงต้องปรับวิธีการเรียนการสอน เนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการแห่งอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ปรากฏการณ์มาถึง เพราะการผลิตบัณฑิตที่ดีเพื่อไปเป็นนักข่าวที่ดีหนึ่งคนใช้ระยะเวลานานหลาย ปี
"จักร์กฤษ เพิ่มพูล" บรรณาธิการอาวุโส กรุงเทพธุรกิจ มองว่า ในอนาคต เนื้อในหนังสือพิมพ์ต้องเปลี่ยนไป กองบ.ก.ต้องคิดให้หนักว่าจะบริหารเนื้อหาอย่างไรที่จะใช้ได้ทั้งกับสื่อสิ่ง พิมพ์ วิทยุ ทีวี หรือกระทั่งคิดเนื้อหาลงอินเทอร์เน็ต ฉะนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องสร้างคนทำงาน หรือกองบ.ก. ให้เป็น "multi Journalist" คือ สามารถที่จะมีทักษะทำงานได้หลายสื่อพร้อมๆ กัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย
"จักร์กฤษ" เห็นว่า ประเด็นที่น่าห่วงสำหรับวงการสื่อไทย คือ ไม่มีการศึกษาหรือตั้งรับการเปลี่ยนผ่านเรื่อง "นิวส์ มีเดีย" อย่างเป็นระบบ เหมือนต่างประเทศ มีเพียงความเป็นห่วง แต่ดูเลือนราง ไม่แน่ใจว่าเป็นผีหรือคน ฉะนั้น การตั้งรับกับการเปลี่ยนผ่านก็ยังดูเบลอๆ และกล้าๆ กลัว ๆ
"ผมพูดเสมอว่า 4-5 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์คือ ยอดขายมันลงมาเรื่อยๆ เราจะตั้งข้อสันนิษฐานว่า ยอดขายมันลงเป็นเพราะอะไร เหตุผลหนึ่งก็คือ ตัวเนื้อหาไม่เปลี่ยน หน้า 1 รายวัน เทียบกัน 3-4 ฉบับ เหมือนกันเกือบทุกข่าว ซึ่ง พบว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเลย คำถามคือ ใครจะมานั่งอ่านข่าวซ้ำ เพราะยุคต่อไป โครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่จะเติบโตมาเป็นผู้รับสารชุดใหม่ แทนคนรุ่นเก่ามากขึ้น"
ฉะนั้น คำถามใหญ่คือ ในกองบ.ก. จะปรับตัวอย่างไรที่จะ บริหารเนื้อหาออกสู่สื่อต่างๆ ให้ลงตัว และปรับตัวคนทำข่าว ให้เขียนข่าวให้หลากหลายกับสื่อที่เพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ในแง่การตลาด ผู้บริหารก็ต้องคิดว่า บริหารอย่างไรให้วัตถุดิบซึ่งเป็นข่าว ได้รับการเขียนใหม่ให้สัมพันธ์กับลักษณะของสื่อที่จะออกไป เพื่อเอื้อต่อธุรกิจ
รุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชนอิสระ แสดงทัศนะว่า ในขณะที่ต่างประเทศปรับตัวกับกระแส "นิวส์ มีเดีย" ไปหลายก้าว แต่ประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งจากเจ้าของสื่อเองและพฤติกรรมนักข่าว ไม่นับรวมเรื่องรายได้ที่ไม่แน่นอน กระทั่ง ปัญหาเรื่อง ฝ่ายโฆษณาขายไม่เป็น ฉะนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว เรายังวิ่งตามต่างประเทศอยู่หลายช่วงตัว และไม่เคยสรุปบทเรียนอย่างเป็นระบบ
อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ยังกล่าวว่า แม้แต่คณะต่างๆในมหาวิทยาลัย ที่สอนเรื่องนี้ กลับไม่มีการติดตามอย่างจริงจัง แม้จะมีการสอนและติดตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ในแง่เนื้อหาอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ประเด็นคือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดได้ด้วย และเมื่อมองไปในอนาคต ต้องอยู่รอดได้แบบยั่งยืน ไม่ใช่ทดลองเป็นของสนุก
"มองในมุมนักข่าว จริงๆ แล้ว คนที่เล่นสื่อใหม่เยอะๆ จะเข้าใจว่ามันสนุก ถ้าแบ่งเวลาเป็น มันทำงานได้เยอะมาก แต่นักข่าวอาจมองว่า เขาถูกบังคับว่าทำงานเกินเงินเดือนที่ตัวเองได้รับ เขาจึงไม่สนุกด้วย นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ถ้าเขาสนุก อย่างคุณสุทธิชัย หยุ่น เขาสนุก และทำงานกับสื่อใหม่ได้เยอะ ฉะนั้นต้องสนุกกับมัน อุปกรณ์เป็นเรื่องรอง แน่นอน ไม่ใช่ ทุกคน ที่มีไอโฟน หรือ บีบี แต่ประเด็นคือ เราไม่ได้ฝึกนักข่าว ในเชิงสปิริตกับการเป็น "มัลติ มีเดีย รีพอร์ตติ้ง" ฉะนั้น จึงเกิดมีอคติ รู้สึกเหมือนถูกบังคับ"
รุ่งมณี มองว่า อนาคต องค์กรที่จะมีเว็บออนไลน์จะต้องเป็นมัลติมีเดีย เพราะต่อไปเทคโนโลยีจะถูกลง แต่ปัญหาคือ นักข่าวกระดาษ ยังไม่เพิ่มทักษะให้กับตัวเอง เช่น สัมภาษณ์แหล่งข่าวทางโทรศัพท์ แต่ไม่ได้อัดเสียง มองมุมหนึ่งถ้าอัดเสียง อาจจะใช้ได้ในแง่ของการเอาคลิปเสียงมาใช้ได้ด้วย เป็นต้น
ยิ่งเว็บไซต์ที่ไม่มีความจำกัดในเนื้อที่ สามารถทำ Exclusive interview ก็ได้ หรือ เดี๋ยวนี้กล้องมือถือ กล้องจากไอโฟน ใช้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทำคลิปได้โดยที่ไม่ต้องเสียพลังงานเพิ่ม เพียงแต่เราขี้เกียจ เคยชินอย่างไร ก็เคยชินอย่างนั้น ฉะนั้น 2 ส่วนสำคัญ คือ ฝ่ายวิชาการ ก็ผลิตคนไป ในขณะที่องค์กรสื่อก็ต้องปรับพฤติกรรม และใช้ประโยชน์จากนิวส์ มีเดีย อย่างเหมาะสม
ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตั้งข้อสังเกตว่า นักข่าวยุคนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโซเชียล มีเดีย มากเพียงพออย่างที่ควรจะเป็น สมัยก่อนในชุมชนนักข่าว เมื่อมีข่าวหรือมีประเด็นสำคัญๆเกิดขึ้น จะมีการพูดคุยถกเถียงกันในห้องนักข่าว ในร้านเหล้า หรือสถานที่ต่างๆ อยู่เสมอ
แต่ปัจจุบันเมื่อมีโซเชียล มีเดีย เกิดขึ้น แทนที่จะหยิบประเด็นข่าวมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันใน โซเชียล หรือแตกยอดทำความเข้าใจกับประเด็นที่ซับซ้อน เช่น ประเด็น นครปัตตานี แต่เท่าที่ติดตาม นักข่าวเองก็ไม่ได้ แลกเปลี่ยนหรือถกเถียงหรือลิงค์ต่อกันไป เพื่อหาข้อมูลอ่านเพิ่ม หรือใช้โซเชียล มีเดีย ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น จึงแปลกใจว่า ทำไมเรายังใช้โซเชียล มีเดีย ในแวดวงข่าวยังไม่เต็มที่
ดร. มานะ เห็นว่า เราสามารถใช้โซเชียล มีเดีย ในเชิงข่าวสืบสวนสอบสวนได้อีกมาก หรือแค่ระดมความคิดเห็นก็เป็นประโยชน์ เพราะหลักหัวใจอย่างหนึ่งของโซเชียล มีเดีย ก็คือ การสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้ด้วยกันเอง หรือถ้าเรา ไม่มองว่าตัวเราเป็นผู้ส่งข่าว คือ เราเป็นผู้รับสารจากนักการเมือง หรือนักธุรกิจ ก็น่าจะใช้โซเชียล มีเดีย เป็นเวทีสาธารณะที่ ระดมความคิดเห็น ได้มากกว่านี้
"ถ้ามองไป ในอนาคต ผมมองย้อนกลับไปว่า นักข่าวคงไม่สามารถทำข่าวในฐานะที่เป็นมืออาชีพได้คนเดียว โดด ๆ แต่ต้องดึงเอาองค์ความรู้จากคนในสายวิชาชีพต่างๆ ซึ่งถ้าเราใช้เครื่องมือของ โซเชียล มีเดีย
ในการดึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ มันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่านี้ แทนที่เราจะไปอิงกับแหล่งข่าวบิ๊กเนม บางคนเท่านั้น ซึ่งไม่รู้ว่าพูดจริงหรือรู้ลึกรู้จริงมากแค่ไหน"
ในแวดวงสถาบันการศึกษา ดร. มานะ มองว่า ปัจจุบัน เรื่องนี้เป็นปัญหามาก ไม่ใช่แค่เฉพาะปัญหาจากสายวิชาชีพ แต่ ในสายวิชาการเอง ก็มีเพียงบางคนที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้
"ผมได้คุยกับนักข่าวอาวุโส และ อาจารย์สอนนิเทศศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยว่า บางทีเราอาจต้องใช้การกระตุ้นจากสายวิชาชีพด้วยซ้ำไปว่า ฝ่ายวิชาชีพขยับแล้ว สถาบันการศึกษาเองก็ควรมีการปรับตัวด้วยหรือไม่ แล้วก็ย้อนกลับไปตรวจหลักสูตร
เช่น หลักสูตรที่เราอิงมาจาก จุฬา ฯ หรือ ธรรมศาสตร์สมัยก่อน ในการวางแบบเรียนเรื่องนิเทศศาสตร์ก็คือ แบ่งชัดเจนว่า วารสารศาสตร์ คุณก็ยุ่งเรื่องหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารก็แยกไปเป็นสาขา วิทยุ โทรทัศน์ไปเลย โฆษณาก็แยกออกมา พีอาร์ก็แยกมาเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันอย่างที่ตัวแทนเอเจนซี่บอกว่า ทุกสาย มันกลืนกินหลอมหลวมกันหมดแล้ว"
ดร.มานะ ทิ้งท้ายว่า ในอนาคตว่า นักศึกษาที่จบมาไม่จำเป็นต้องวิ่งเข้าสู่สื่อหลักเพียงอย่างเดียว คนรุ่นใหม่อาจจะมีอาชีพอื่นที่คุณเลี้ยงตัวได้ แต่ก็สามารถมีทักษะในการทำสื่อได้ด้วย แต่กระนั้นก็ตาม ปัญหาที่น่าห่วงคือ เรื่องกรอบคิดหรือ แนวคิดมากกว่า เพราะทักษะเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ สามารถฝึกกันได้ แต่ปัญหาคือ เขาจะคลิกอย่างไร ในฐานะที่ระบบการศึกษาหรือระบบหลายๆ อย่าง ให้เขาสามารถดึงองค์ความรู้จากที่ต่างๆ มาใช้ได้ ไม่ใช่ก็อปปี้ออกมาจากกูเกิ้ล
"รัชนีวรรณ ฤทธิธรรม " Communication Planning Director จาก Index Creative village มองว่า วันนี้ในมุมมองเอเยนซี ต้องทำการสื่อสารให้กลายเป็นบทสนทนา ให้ใกล้ตัวคนมากที่สุด เพราะเราเชื่อว่า มีเดียที่เปลี่ยนตั้งแต่ "เวิล์ด ไวด์ เว็ป"(www) เข้ามาในโลก จนทำให้เกิดโซเชียล มีเดีย ทำให้ทุกคนไม่ใช่เฉพาะอาชีพนักข่าวกลายเป็นนักข่าวกลายๆ ไปแล้ว
ฉะนั้น เทรนด์ที่ทันสมัยที่สุด วันนี้คือ ผู้บริโภคเป็นคนบอก เราไม่เชื่อว่า มือถือดี เพราะแบรนด์ ๆ หนึ่งเล่า แต่เราจะเชื่อว่า มือถือนี้ดีเพราะเพื่อนเราเล่าให้ฟังว่ามือถือนี้ดียังไง หรือ คนที่เราเชื่อถือ
หรือเราจะเปิดดูว่าเขาว่าอย่างไร เขามีความรู้สึกย่างไร เทรนด์เป็นแบบไหน ฉะนั้น นักการตลาดต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการสร้างบทสนทนากับผู้คน โดยทำอย่างไรก็ได้ ให้ตัวเองไปอยู่ในบทสนทนา หรือ แนะนำตัวเองผ่านบทสนทนานั้นๆ จะเรียกยุคนี้ว่า เป็นยุค "คอนซูมเมอร์ ลิซึ่ม" ก็ว่าได้ ฉะนั้น เราต้องจับประเด็นว่า เขาต้องการอะไร และเขากำลังสนใจอะไรอยู่
"ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี" ประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เห็นว่า โจทย์ใหญ่ที่เราต้องคิดคือ 1. คือการปรับตัวของสื่อหลักว่าจะไปในทิศทางไหน และ 2. การปรับตัวของนักข่าว เพราะทุกวันนี้สื่อคิดเรื่องนี้แน่นอนแต่ถามว่า เราคิดจริงจังแค่ไหน เพราะดูแล้วสื่อบ้านเรายังมีลักษณะ กล้าๆ กลัว ๆ คือ ไม่รู้อนาคตว่าจะปรับตัวอย่างไร เพราะยังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ
ฉะนั้น ทิศทางสื่อใหม่ในอนาคต สุดท้ายคงหนีไม่พ้นเรื่องการปรับตัว แต่ถามว่าจะปรับตัวไปในทิศทางไหน ผมคิดว่า สื่อหลักต้องทำความเข้าใจกับ โซเชียล มีเดีย อย่างเป็นระบบ
เช่น สื่อจะบูรณาการข่าวให้เข้ากับ โซเชียล มีเดีย อย่างไรให้ลงตัว ผมคิดว่านี่คือโจทย์ใหญ่ของสื่อหลัก ในการปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์
นี่คือ โจทย์หินของ "สื่อไทย" ยุค 3.0 โดยแท้ ?

*ประชาชาติธุรกิจ

my time" โอกาสของสื่อดิจิทัล มากกว่า"เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ 3G"

สัมภาษณ์


ความฮอต ฮิตของ "social networking" หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ นับตั้งแต่การใช้ไฮไฟฟ์, ทวิตเตอร์, เฟซบุ๊กจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ขยับมายังโน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก มาถึงอุปกรณ์สื่อสารแบบพกติดตัวอย่างเจ้า "มือถือ" รุ่นฉลาด (สมาร์ทโฟน) ทำให้เจ้าของสินค้าและบริการต่าง ๆ เริ่มหันมาเอาจริงเอาจังกับการใช้สื่อ "ดิจิทัล" มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่

มูลค่า ตลาดของสื่อออนไลน์ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ยิ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเทียบจำนวนประชากรในระดับสูงมาก ๆ ด้วยแล้วยิ่ง ไม่ต้องพูดถึง

"สื่อออนไลน์" มีบทบาทโดดเด่นมาก เช่น ในประเทศอังกฤษ ข้อมูลจาก "ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส" ระบุว่า ครึ่งปีแรกของปี 2009 การใช้จ่ายผ่าน สื่อออนไลน์แซงหน้าสื่อทีวีเป็นครั้งแรก ไปเรียบร้อยแล้ว (ตลาดรวม 7.47 หมื่นล้านปอนด์ เป็นทีวี 21.9%, อินเทอร์เน็ต 23.6% เป็นต้น)

ตัด กลับมาที่บ้านเรา แม้ "สื่อโฆษณาออนไลน์" เทียบกับสื่อดั้งเดิมอาจยังไม่มากนัก แต่การเติบโตอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า "ก้าวกระโดด" จาก 430 ล้านบาท ใน ปี 2549 เป็น 550 ล้านบาท ในปีถัดมา 1,000 ล้านบาท, 1,800 ล้านบาท และปีนี้ 2553 ที่ 2,600 ล้านบาท

ว่ากันว่า ถ้า 3G มาเมื่อไร จะยิ่งไปกันใหญ่

"ประชา ชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์" เอ็มดีของ ADapter BY ITAS "ดิจิทัลมีเดียเอเยนซี่" ที่จัดได้ว่างานชุกที่สุดบริษัทหนึ่ง หลากหลายแง่มุมในโลกของสื่อ "ดิจิทัล"

- ตลาดเติบโตสูงมากทุกปี

3-4 ปีก่อน ตอน ADapter เปิดใหม่ ๆ มีคู่แข่งบริษัทเดียว คือเอ็ม อินเตอร์แอคชั่น ของมายด์แชร์ ตอนนี้มี 20-30 บริษัท แต่มาร์เก็ตแชร์เรารวมกับมายด์แชร์เกิน 50%

บูมตามเทรนด์ คอนซูเมอร์ที่มาใช้ออนไลน์เยอะขึ้น นักการตลาดหันมาโฟกัส ออนไลน์มากขึ้น สินค้ามีการใช้จ่ายเงินมายังช่องทางนี้มากขึ้น เอเยนซี่หลายแห่งเปิดแผนกขึ้นมารองรับ

ตลาดรวมและเป้าการเติบโตของ เราปีนี้ยังอยู่ที่ 100% แต่เทียบกับสื่อแบบเดิมในแง่มูลค่าอาจยังไม่สูงมากนัก ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 2 พันกว่าล้าน แต่ต่อไปจะโตกว่านี้ ที่น่าสนใจคือในอังกฤษ โดยปีที่แล้ว การใช้สื่อออนไลน์สูงกว่าทีวีไปแล้ว เป็นข้อมูลที่ ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะคนใช้อินเทอร์เน็ตกับประชากรไป 80-90% และเป็นไฮสปีด ขณะที่บ้านเรายังน้อยอยู่มาก

เชื่อว่า 3G มาจะช่วยได้มาก เป็นความหวังอีกที่จะทำให้ออนไลน์โตได้อีก

เว็บใช้กันทั้งวัน ไม่ได้เป็นไพรมไทม์เหมือนทีวี ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า "my time" แต่ละคนมีเวลาในอินเทอร์เน็ต ไม่เหมือนกัน คนนี้เข้าเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน หมายถึงว่าเข้าได้ทั้งวัน ไม่มีเหมือนทีวี

- โอกาสในการขายมากกว่า

ใช่ คนใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเยอะมาก เพียงแต่ปัญหาอย่างเดียว คือคนใช้ยัง น้อยอยู่

ถ้าคนที่เป็นกลุ่มออ นไลน์อยู่แล้วไม่มีปัญหา เช่น กลุ่ม mid to high จะแฮปปี้กับสิ่งที่ทำบนออนไลน์ หรือบิ๊กแบรนด์จะขาดไม่ได้เลย ยกตัวอย่าง ยูนิลิเวอร์ เป๊ปซี่ ออนไลน์ถือเป็นอีกช่องทางหลัก หรือ คอนโดฯ รถยนต์ มือถือ แล็ปทอป ออนไลน์เข้ามาช่วยเรื่องการขายได้เยอะมาก เพราะไม่ใช่แค่โฆษณา

เมื่อก่อนคนเห็นโฆษณาก็ซื้อแล้ว คือเห็น เชื่อ ซื้อ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ เห็นโฆษณาแล้วไปเสิร์ชข้อมูลก่อน ไปดูว่าสินค้านี้เทียบกับ คู่แข่งดีไหม ไปเซอร์เวย์ในพันทิปว่าคนพูดถึงกันยังไง สุดท้ายอาจมีการแนะนำจากเพื่อน หรือคนรู้จัก

ออนไลน์เข้าไปเกี่ยวกับในทุกทัชพอยต์ ทั้งการเสิร์ช, การเข้าเว็บบอร์ด, ฟังเพื่อนแนะนำ ออนไลน์จึงไม่ใช่แค่เรื่องโฆษณา แต่ซัพพอร์ตการขายได้ด้วย

- คนซื้อเปลี่ยนโมเดล ของเอเยนซี่ เปลี่ยนไหม

เปลี่ยนครับ ปี 2005 อาจเคยเป็นแค่แขนง พอปี 2006 เริ่มเข้ามา อินทิเกรตมากขึ้น ปี 2007 เริ่มเข้ามาเป็นเหมือนส่วนงานที่สำคัญของแต่ละส่วน พอปี 2008 เริ่มเป็นหัวหอกหลักแล้ว ในปี 2009 เริ่มแยกออกมาอย่างชัดเจน เหมือนเป็น ฟูลดิจิทัลอะไรประมาณนี้ ก็ล้อไปกับของเมืองนอกด้วย ไทยอาจช้ากว่าสักปีหนึ่ง โลกยุคนี้ เทรนด์ต่าง ๆ ตามเมืองนอกค่อนข้างเร็ว อย่างเฟซบุ๊กในเมืองนอกเป็นอันดับ 1 ของเว็บที่คนใช้เยอะที่สุด บ้านเราเป็นอันดับ 2 แล้ว

- เฟซบุ๊กใช้ประโยชน์ได้จริง

ได้ ปกติคนสนใจเฟซบุ๊กจะเป็นบิ๊ก แบรนด์ใหญ่ ๆ ไปเปิดแฟนเพจทำคอมมิวนิตี้กับลูกค้า มีน้องผมคนหนึ่งเปิดร้านเสื้อผ้าแบรนด์มีชื่อเสียงแถวสยาม เปิดร้านค่าเช่าแพงมาก 2 แสนบาท กำไรกับทุนเริ่มเท่ากัน เขาจึงปิดร้าน มาเปิดบนเฟซบุ๊ก ปรากฏว่าขายดีมาก โพสต์เสื้อผ้าตอน 1 ทุ่ม 8 โมงเช้าอีกวันขายหมดแล้ว

- ประสบความสำเร็จเพราะ

เป็น ไวรอลแชริ่งโซไซตี้ ทุกครั้งที่เราฟีดอะไรลงไป จะไปโนติไฟล์ในเน็ตเวิร์กทั้งหมดของคนในเครือข่ายเฟซบุ๊ก และแชร์กันได้ง่ายมาก ยิ่งคนมีเฟรนด์ลิงก์เยอะ ๆ ก็จะกระจายไปสู่คนอื่นได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจบนเฟซบุ๊ก คือฟีดข้อมูลได้ทันที ไม่เหมือนเว็บที่อย่างน้อย ๆ ต้องรอวันหนึ่ง ที่เรากำลังทำให้รถยนต์นิสสัน อีโคคาร์ เฟซบุ๊กก็เป็นช่องทางแรกที่ประกาศเรื่องพรีเซ็นเตอร์ (เคน-ธีรเดช) ให้อีโคคาร์ เป็นต้น

- เริ่มต้นทำยังไง

ต้อง เซตอัพแฟนเพจขึ้นมาก่อน จากนั้นจึง invite ผ่านเน็ตเวิร์กว่าสนใจเป็นแฟนของโปรไฟล์นี้ไหม อาจต้องใช้โฆษณาบนเฟซบุ๊กด้วย ลองสังเกตด้านขวาของหน้าเฟซบุ๊กจะมีพื้นที่โฆษณา เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำให้โปรไฟล์ของเราให้พบเห็นง่ายขึ้น เขาขายพื้นที่โฆษณาคิด cost per click เหมือนระบบของกูเกิล

ต้องคิด ก่อนว่าปีนี้อยากได้แฟนเพจกี่คน ซึ่งไม่ควรต่ำกว่าหมื่น ถ้าต่ำกว่านี้ โอกาสในการทำให้เกิดแวลูแชริ่งจะยาก ไม่นับช่วงเซตอัพครั้งแรก ๆ น่าจะใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ถ้าเร็วก็ลงโฆษณา แต่คุ้มไหมอีกเรื่องนะ เพราะคนเห็นทางโฆษณา อาจไม่ใช่กลุ่มคนใช้ถาวร

- มองเฟซบุ๊ก, ไฮไฟฟ์ และทวิตเตอร์อย่างไร

ไฮไฟฟ�นเมืองนอก ไม่ดัง ที่โน่นที่ดัง คือเฟซบุ๊กกับมายสเปซ แต่บ้านเรา มายสเปซไม่ดัง ไฮไฟฟ�หมือนมาทดแทนเอ็มไทยสติ๊กเกอร์ เมื่อก่อนที่คนต้องมีรูปในเอ็มไทย ไฮไฟฟ�าทดแทนความต้องการตรงนั้น แต่เนื่องจากระบบค่อนข้างปิด แชริ่งมีน้อย ไม่เหมือนเฟซบุ๊ก ที่มีเรื่องไวรอลคอมมิวนิเคชั่น หรือแม้แต่แอปพลิเคชั่น อย่างเกม คนไทยเล่นเฟซบุ๊กเยอะ เพราะเกมมีส่วนด้วยมาก ทั้งปลูกผัก เลี้ยงปลา

- ไฮไฟฟ์ ดังมาจากเด็กและดารา

กลุ่ม ยังคงเหลือเล่น ก็ยังเป็นกลุ่มนั้น ขณะที่กลุ่มบน เฟซบุ๊กเริ่มแมสมากขึ้น ณ เดือน ม.ค. 2010 มีคนใช้เฟซบุ๊กในเมืองไทยกว่า 2 ล้านคนแล้ว โตจากปีที่ผ่านมามาก (ม.ค.2009 มีคนใช้ 2.5 แสนราย) กลุ่มอายุหลัก ๆ ที่ใช้เฟซบุ๊ก อยู่ระหว่าง 18-34 ปี เป็นกลุ่มทีนถึงเฟิรสต์ช็อปเปอร์

- การทำตลาดผ่านเฟซบุ๊ก

ต้องวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าก่อนว่า กลุ่มสินค้าตรงไหม เฟซบุ๊กมีข้อจำกัดเรื่องภาษา ดังนั้นต้องเป็นระดับกลางถึงบน ภาพรวมของคนใช้เฟซบุ๊กยังไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับกูเกิล ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดบางอย่าง ในการทำตลาดบนเฟซบุ๊กอย่างเดียว อาจไม่เห็นผล ต้องใช้ร่วมกับสื่ออื่นด้วย

- ต้องมีคนใช้ขนาดไหนถึงจะเวิร์ก

ตอนนี้ก็ใช้ได้แล้ว แต่ใช้ตัวเดียวไม่เวิร์ก 100% เพราะคนใช้ยังไม่ได้กว้างมาก เช่น เสิร์ช อาจต้องมีพวกการทำคอนเทนต์ หรือแบนเนอร์ในพอร์ทอลเว็บบ้าง เพราะคนใช้เฟซบุ๊กไม่ได้เข้าเฟซบุ๊กอย่างเดียว อาจไปใช้เสิร์ช หรือไปดูพันทิป แล้วเห็นแบนเนอร์บนพันทิปก็เป็นไปได้

การจะใช้ เครื่องมืออะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับแคมเปญ ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย แล้วต้องใช้ส่วนผสมอะไรบ้างในการทำตลาด

อย่างแคมเปญงานดิสเพลย์ จะเหมือนโฆษณา คือเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับแบรนด์ หรือเอา โซเชี่ยลมีเดียมาช่วย จะเป็นยูทูบ เฟซบุ๊ก หรือพวกเวิร์ดออฟเมาท์ โดยหาคนที่เป็น โอเพนนิ่งลีดเดอร์ในคอมมิวนิตี้ต่าง ๆ มาช่วยสร้างกระแสเกี่ยวกับแบรนด์ เพื่อให้เห็นจุดดีของสินค้า

- รู้ได้ยังไงว่าควรใช้วิธีไหน

ต้อง หาก่อนว่า เราจะพูดเรื่องอะไรกัน จริง ๆ มีเครื่องมืออันหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นเครื่องมือเช็กเทรนด์ท็อปปิกบนทวิตเตอร์ คือเทรนด์อะไรที่คอนซูเมอร์พูดถึงกัน จะมีการพูดกันในทวิตเตอร์ก่อนเป็นอันดับแรก หรือเราอาจรู้ว่าจะขายอะไร จะพูดอะไร แต่ทำยังไงให้หัวข้อนี้น่าสนใจ ไม่ใช่แค่บอกว่าดียังไง ต้องหาจุดเชื่อมโยงระหว่าง คอนซูเมอร์กับโปรดักต์ให้ได้

- ตลาดโตเร็ว บริษัทก็น่าจะโตเร็ว

มาก ความเหนื่อยอย่างหนึ่ง คือการหาคน ผมรับคนเพิ่มเมื่อไร คู่แข่งกระเทือนทันที เพราะการฝึกเด็กใหม่มาเทรนด์ เสียเวลา แต่ละ บริษัทต้องการคนที่ทำงานได้เลย ดังนั้นทุกครั้งที่เอเยนซี่ไหนเปิดรับคน บริษัทอื่นกระเทือนทันที เราเองก็คนออกเยอะ แต่ก็ดึงมาเยอะ (หัวเราะ) เป็นเรื่องธุรกิจ ครีเอทีฟกับมาร์เก็ตติ้งหายากมาก นอกจากต้องรู้เรื่องมาร์เก็ตติ้งแล้ว ยังต้องคิดรอบ หัวไว เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพราะโลกออนไลน์เปลี่ยนเร็วมาก

เทรนด์ล่าสุดที่กำลังมา คือ augment reality เป็นโลกใหม่ของออนไลน์ที่ทำให้ อินเตอร์แอกต์กับสินค้าได้ในรูปแบบของเรียลิตี้ รถยนต์ยี่ห้อหนึ่งทำ โดยให้ลูกค้ากรอกข้อมูลในเว็บ พรินต์แผ่นข้อมูลออกมา เมื่อนำไปส่องบนเว็บแคม หน้าเว็บบนจอจะปรากฏรูปรถรุ่นที่เหมาะกับเรา เป็นเทรนด์ในเมืองนอก และกำลังจะมาในไทย

- จุดแข็งของดิจิทัลมีเดีย คือถูกและประหยัด

อยากเรียกว่า คุ้มทุนดีกว่า เพราะสื่อดิจิทัล เช็กได้ว่าเงินที่ลงไปได้อะไรกลับคืนมาบ้าง เช็กได้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เช่น ยิงแอดไปที่นี่ คนคลิกกลับมาเท่าไรของจริง เท่าไรที่ไม่ซ้ำกัน เข้ามาแล้ว ทำอะไรต่อหรือเปล่า เช่น มาหน้าแรกแล้วออกไปเลย หรือเข้ามาดูรายละเอียดสินค้าต่อ

จุดขายของดิจิทัลมีเดีย ไม่ใช่ว่าถูก แต่ใช้เงินแล้ววัดความคุ้มค่าได้อย่างชัดเจนตอนนี้การใช้เงินกับแคม เปญออนไลน์ยังไม่สูงมาก คนจึงบอกว่าประหยัด แต่สเกลจริง ๆ แคมเปญหนึ่ง ขั้นต่ำไม่ควรต่ำกว่า 8 แสน-1 ล้าน

ดิจิทัลถือเป็นเครื่องมือใหม่ ที่ต้องคิดให้อินทิเกรตกับสื่อออฟไลน์ ไม่ใช่คิดแคมเปญออกมาก่อนแล้วออนไลน์ จะไปทำอะไรค่อยว่ากัน แบบนี้ไม่เวิร์ก

- ถ้า 3G มา จะเป็นยังไง

ถ้า 3จี มา ที่ต้องทำแน่ ๆ คือโมบายเว็บไซต์ คือเว็บไซต์ฉบับมือถือ เพราะ คอนซูเมอร์เดี๋ยวนี้ อยากได้ข้อมูลอะไร อยากได้เลย ไม่รอคลิกเข้าไปดูจากมือถือได้เลย ดังนั้นต้องออกแบบเว็บให้เหมาะกับมือถือ

*ประชาชาติธุรกิจ

Mar 1, 2010

ดาบซามูไร ตำนานของอาวุธสังหาร และงานศิลปะ

โดย :: กมลศักดิ์ สรลักษณ์ลิขิต

ภายใต้ความประณีตผสมผสานเนื้อเหล็กชั้นดี และวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณราวหนึ่งพันปีเศษ ทำให้ดาบญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดเหนือกว่าดาบของชนชาติ อื่นๆ อย่างสิ้นเชิง

ราวพันปีก่อนช่างตีดาบเขาผลิตดาบเนื้อดีแข็งแกร่งและคมอย่างมีดโกนได้อย่างไร

ภายใต้อาวุธสังหารอันคมกริบ ดาบซามูไรก็เป็นงานศิลปะชั้นยอด เป็นของที่มีค่าและวิธีการตีดาบซามูไรยังเป็นศาสตร์ที่สูงส่งอย่างไม่น่าเชื่อ

คนไทยเริ่มรู้จักดาบซามูไรเมื่อติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยอยุธยา สงครามโลกครั้งที่สอง...ดาบซามูไรเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทหารญี่ปุ่นใช้ตัด หัวเชลยศึกขาด...ได้ด้วยการฟันเพียงครั้งเดียวและทำให้ดาบซามูไรเริ่มรู้จัก กันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา และแทบไม่น่าเชื่อว่า...ยุคทองของดาบซามูไรนั้นมีมานานกว่า ๗๐๐ ปี ถือเป็นยุคที่ดาบมีคุณภาพดีที่สุดเหนือกว่ายุคใดๆ ของดาบญี่ปุ่น


Samurai
...
ซามูไร (Samurai) คือนักรบหรือมีความหมายว่าผู้รับใช้ ดาบคู่กายซามูไรเปรียบเหมือนจิตวิญญาณของซามูไรทุกคน หากซามูไรลืมดาบ...เท่ากับว่านำตนเองไปสู่ความตายได้ทุกเมื่อ ลัทธิ "บูชิโด" สอนให้เหล่าซามูไรยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และจงรักภักดีต่อเจ้านาย ของตน ซามูไรถือว่าความตายเป็นเรื่องเล็กน้อย ปรัชญาแห่งบูชิโดกล่าวไว้ว่า "ความตายเป็นสิ่งเบาบางยิ่งกว่าขนนก"

ชาวญี่ปุ่นโบราณยกย่องชาวนาและช่างฝีมือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ "ช่างตีดาบ" เดิมนักรบชาวญี่ปุ่นใช้ดาบจากจีนและเกาหลีในการสู้รบ ในสมัย "นาร่า" (Nara Period) ประมาณปี พ.ศ. ๑๑๙๓-๑๓๓๖ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือเวลาสู้รบดาบมักหักออกเป็นสองท่อน จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบปรับปรุงดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม


Nara Period

ช่างตีดาบยุคแรกมีชื่อว่า "อามากุนิ" เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดี และมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิม เหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า "ทามาฮากาเน่" (Tamahagane)


Tamahagane

อามากุนิพบว่า...การที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็น, การควบคุมปริมาณคาร์บอน และการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออก

ปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบ หากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะ, ใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ

เหล็กถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอม และนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆ แล้วตีซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมื่นๆ ชั้น ทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็ก แล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบ จะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป

แต่...นี่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นดาบที่สุดยอด

สี่ร้อยปีผ่านมาเข้าสู่สมัยคามาคูระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. ๑๗๓๕-๑๘๗๙ จักรพรรดิบอกให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ



Kamakura Period

ยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อกว่า ๔๐๐ ปีก่อน ถือเป็นเทคนิคที่สุดยอดของดาบ มีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น

จากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัว ย และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อทำเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันใหแผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า ๗๐๐ องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น

การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดีดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ

ดาบสามารถฟันคอขาดได้เพียงครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมาก ซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตน กว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว

แต่ประเพณีการต่อสู้ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ "เซปปุกุ" คือเกียรติยศของซามูไร

เดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. ๑๘๑๗ ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮากาตะ ด้วยกองทัพเรือ ๘๐๐ ลำ และกองพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบ ระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู

อีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ ๔,๐๐๐ ลำ กองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบ ที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ, ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า "กามิกาเซ่" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์ หรือลมผู้หยั่งรู้

หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย

หลังจากสงครามสิ้นสุด บ้านเมืองอยู่ในความสงบ พบว่าหลังจากการรบที่ผ่านมาดาบมักจะบิ่น จักรพรรดิจึงบอกให้ช่างตีดาบหาวิธีแก้ไข ช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของ ดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้น คือ "มาซามูเน่" (Masamune)



Masamune


ราวปี พ.ศ. ๑๘๔๐ ดาบของมาซามูเน่ถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ในญี่ปุ่นไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้ เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบ

เคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็กสามชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า Gawa-gane และด้านคมดาบ (Ha-gane) ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง ๑๕ ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง ๓๒,๗๖๘ ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Shi-gane แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐ องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบ

ช่างตีดาบคนอื่นๆ เริ่มเลียนแบบในเวลาต่อๆ มา

ช่างตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมาซามูเน่ คือ "มารามาซะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มารามาซะ" ไว้ครอบครอง เลือดจะสูบฉีดให้อยากที่จะชักดาบออกมาสังหารคู่ต่อสู้เพราะความคมของมัน ในขณะเดียวกันซามูไรที่ครอบครองดาบของ "มาซามูเน่" กลับสงบนิ่งเยือกเย็น

ดาบญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. ๒๑๔๖-๒๔๑๐) จากการติดต่อค้าขาย ญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยา

โดยเฉพาะดาบมีความสำคัญต่อพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางในราชสำนักสยามแต่งตัวในชุดเต็มยศ ห้อยดาบเข้าพิธีสำคัญๆ ต่างๆ ในพระราชสำนัก อีกทั้งหนึ่งในห้าของ "เบญจราชกกุธภัณฑ์" คือ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ดาบหรือกระบี่ของตำรวจและทหารในชุดเต็มยศของไทยในปัจจุบัน เรียกว่าดาบทหารม้า (Parade Saber) ซึ่งได้รับอิทธิพลพื้นฐานมาจากดาบญี่ปุ่นทั้งสิ้น


พระแสงขรรค์ชัยศรี

ในสมัยอยุธยา ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากสยาม เช่น ไม้กฤษณา, ไม้ฝาง, น้ำกุหลาบ, พริกไทย เป็นต้น มีการตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา เมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์โดยลี้ภัยทางศาสนาและส่วนหนึ่งเป็นพวกซามูไร แตกทัพที่สูญเสียเจ้านายหรือที่เรียกว่า "โรนิน" (Ronin) แตกทัพจากสงครามเซกิงาฮาร่า ได้โดยสารเรือสำเภาที่กำลังจะเดินทางมาค้าขายยังชมพูทวีปและมาตั้งรกรากใน ประเทศสยาม สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วยก็คือดาบญี่ปุ่น


Ronin

ซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีชื่อเรียกว่า "Gunto" เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งถือว่าเป็นยุค Modern เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีต และไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร


Gunto

ส่วนพิธีกรรมโบราณนั้นมีขั้นตอนมากมายและถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่างตีดาบต้องถือศีลกินเจในขณะที่หลอมเหล็ก ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เพื่อผลิตดาบให้เป็นมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของดาบเล่มนั้นๆ ดาบคล้ายกับเครื่องลางของขลัง หรืออย่างพระเครื่องของคนไทยที่ปลุกเสกจากเกจิอาจารย์ดัง

ช่างตีดาบและลูกมือจะร่วมมือกันทำดาบเพียงหนึ่งเล่มในระยะเวลามากกว่าเดือน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่างตีดาบที่ดีจะทำดาบที่ดีออกมา หากช่างตีดาบมีจิตใจไม่ดีดาบที่ตีออกมาก็จะไม่ดีไปด้วย ดาบแต่ละเล่มจึงมีราคาไม่เท่ากัน กล่าวกันว่า...บางเล่มราคามากกว่าที่ดินหนึ่งผืน หรือดาบที่ดีเพียงเล่มเดียวอาจจะมีราคาสูงกว่าหอกสามร้อยเล่ม

ในสมัยโบราณดาบจึงไม่ใช่อาวุธที่สามารถจะซื้อมาใช้ในกองทัพได้ นอกจากเป็นสมบัติส่วนตัวของเหล่าซามูไรเท่านั้น



ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

"ซาดาอิจิ กัสสัน" Sadaeji Gassan ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เราอาจจะเคยเห็นท่านถือดาบไว้ในมือกับโฆษณานาฬิกาโรเล็กซ์เมื่อหลายปีก่อน

กัสสันเป็นตระกูลช่างตีดาบที่ตกทอดมากว่า ๗๐๐ ปี ปัจจุบันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการตีดาบอย่างประณีตตามขั้นตอนและวิธีการแต่ โบราณจากยุคทอง สมัยคามาคูระ โดยเป็นมรดกตกทอดมาถึง "ซาดาโตชิ กัสสัน" (Sadatoshi Gassan) ดาบซามูไรยังคงความประณีตงดงามถือเป็นงานศิลปะขั้นสูงสุดตกทอดมาจาก บรรพบุรุษ ปัจจุบันยังมีช่างตีดาบอีกจำนวนมากที่ตีดาบตามแนวทางดั้งเดิม


Sadatoshi Gassan
..........


ยุคสมัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ ๔ ยุค


๑. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช ๙๐๐ (ก่อน พ.ศ. ๑๔๔๓) ยุคที่ดาบของ "อามากุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนาร่า



๒. ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. ๑๔๔๓-๒๐๗๓ ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร แทบไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐) ในขณะที่ปี พ.ศ. ๑๘๔๐ เป็นปีที่ดาบของ "มาซามูเน่" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด



๓. ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๑๓๙-๒๔๑๐ ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. ๒๑๘๒)

๔. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๘๘) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ การตัดคอเชลยศึกไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง



ชนิดของดาบซามูไร

ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท แต่สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ ๓ ชนิดดังนี้

ดาบยาว (Long Sword)

๑. "ตาชิ" (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า ๗๐ เซนติเมตร

Tachi

๒. "คาตานะ" (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาชิ (ราว พ.ศ. ๒๐๐๐) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ ๖๐.๖ เซนติเมตรขึ้นไปถึง ๗๐ เซนติเมตร



Katana

..............

ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)

"วากิซาชิ" (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ ๑๒ นิ้วถึง ๒๔ นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือน ได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้

wakizashi

ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น

......

ดาบขนาดสั้น (Short Sword)

๑. "ตันโตะ" (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ

Tanto

๒. "ไอกุชิ" (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี


Aikuchi

ความงามของดาบซามูไร

ตลอดทั้งตัวดาบหากสังเกตจะเห็นว่าดาบนั้นมีความงดงามมาก งามตามธรรมชาติทั้งๆ ที่ไม่มีเครื่องประดับใดๆ จุดเด่นคงอยู่ที่ลักษณะใบดาบที่โค้งได้รูป ถือเป็นการออกแบบที่สุดยอด

ลวดลายน้ำบนใบดาบเรียกว่า "ฮามอน" ถูกประดิษฐ์ขึ้นมากว่าพันปีโดย "อามากุนิ" ไม่เป็นเพียงลวดลายที่งดงามอย่างเดียว แต่เป็นความลับของคมดาบด้วย

ในส่วนของที่กั้นมือเรียกว่า "Tsuba" (Handguard) มักทำจากเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง หรือเงิน เป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม มีการทำลวดลายต่อเนื่องทั้งสองด้านมาตั้งแต่โบราณ มีมากมายหลายแบบจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (ยกเว้นของดาบทหารที่มีลวดลายเดียวเฉพาะเท่านั้น)

ส่วนด้ามจับที่ทำด้วยไม้ หุ้มทับด้วยหนังปลากระเบนและผ้าไหม พับเว้นช่องเป็นรูปข้าวหลามตัด คือเอกลักษณ์ของดาบที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

เรื่องราวของดาบยังมีอีกมากมาย ล้วนแต่เป็นรายละเอียดที่ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นลายของเนื้อเหล็กที่เกิดจากการตีเหล็กและหลอม, ชนิดของลวดลายฮามอนบนใบดาบ หรือดาบกับการทำ "เซปปุกุ" หรือการคว้านท้อง เป็นต้น

จากประสบการณ์ของผู้เขียน...ที่ได้สัมผัสกับดาบซามูไรเก่า พบว่าตัวดาบมีคุณลักษณะพิเศษคือสามารถทรงตัวให้วางตั้งอยู่บนฝ่ามือได้โดยตัวดาบไม่ล้มแม้จะขยับมือไปมา จากการทดลองดูด้วยดาบซามูไรจำนวน ๓ เล่ม ซึ่งสามารถตั้งได้ทั้งหมด คงไม่ใช่เพราะความบังเอิญ เพราะว่ายังทดลองเอาดาบของไทยมาวางดู แต่ไม่สามารถตั้งได้อย่างดาบญี่ปุ่น

ปัจจุบันดาบญี่ปุ่นกลายเป็นงานศิลปะที่มีราคาสูงมาก ดาบที่ขายเป็นของที่ระลึกนั้นจะไม่คม และทำด้วยสเตนเลส เป็นของประดับบ้าน

ดาบยังมีการผลิตในต่างประเทศด้วย เช่น ประเทศสเปนและไต้หวัน ส่วนดาบที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นตามขั้นตอนแบบพิธีโบราณนั้น ก็ยังมีอยู่มากมาย ยังคงเป็นดาบแท้ตีใบดาบด้วยเหล็ก หลายๆ ตระกูลอย่าง "ตระกูลกัสสัน" ยังใช้เหล็กเนื้อดีมีความคมกริบเหมือนเกือบพันปีที่ผ่านมา

ดาบถูกตกแต่งหลายๆ แบบมากมายด้วยเงิน, ทอง การประดับประดาและการแกะลวดลายลงบนใบดาบ

รัฐบาลญี่ปุ่นดูแลการผลิตดาบอย่างเข้มงวดเพื่อให้ทรงคุณค่าต่อไปอย่างมี เอกลักษณ์ แม้ปัจจุบันดาบจะไม่ได้เป็นจิตวิญญาณของซามูไรอย่างแต่ก่อน แต่ก็คงเป็นตำนานแห่งอาวุธสังหาร และงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดสืบไป



ข้อมูลประกอบการเขียน

๑. อิชิอิ โยเนะโอะ, โยชิกาวะ โทชิฮารุ. ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ๖๐๐ ปี. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๔๒.

๒. ภิรมย์ พุทธรัตน์ แปล. ซามูไร นักรบชนชั้นของญี่ปุ่น. อมรการพิมพ์, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๐.

๓. John M. Yumoto. Samurai Swords a Handbook. thirty-sixth printing, Charles E. Tuttle Publishing Company, Inc. Tokyo, 2000.

๔. David Miller. Samurai Warriors. Pegasus Publishing Ltd, New York, 1999.

๕. Soul of The Samurai Sword. Discovery Channel.

ที่มา :: หนังสือพิมพ์มติชน

วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 24 ฉบับที่ 7