Mar 5, 2010

my time" โอกาสของสื่อดิจิทัล มากกว่า"เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ 3G"

สัมภาษณ์


ความฮอต ฮิตของ "social networking" หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ นับตั้งแต่การใช้ไฮไฟฟ์, ทวิตเตอร์, เฟซบุ๊กจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ขยับมายังโน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก มาถึงอุปกรณ์สื่อสารแบบพกติดตัวอย่างเจ้า "มือถือ" รุ่นฉลาด (สมาร์ทโฟน) ทำให้เจ้าของสินค้าและบริการต่าง ๆ เริ่มหันมาเอาจริงเอาจังกับการใช้สื่อ "ดิจิทัล" มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่

มูลค่า ตลาดของสื่อออนไลน์ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ยิ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเทียบจำนวนประชากรในระดับสูงมาก ๆ ด้วยแล้วยิ่ง ไม่ต้องพูดถึง

"สื่อออนไลน์" มีบทบาทโดดเด่นมาก เช่น ในประเทศอังกฤษ ข้อมูลจาก "ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส" ระบุว่า ครึ่งปีแรกของปี 2009 การใช้จ่ายผ่าน สื่อออนไลน์แซงหน้าสื่อทีวีเป็นครั้งแรก ไปเรียบร้อยแล้ว (ตลาดรวม 7.47 หมื่นล้านปอนด์ เป็นทีวี 21.9%, อินเทอร์เน็ต 23.6% เป็นต้น)

ตัด กลับมาที่บ้านเรา แม้ "สื่อโฆษณาออนไลน์" เทียบกับสื่อดั้งเดิมอาจยังไม่มากนัก แต่การเติบโตอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า "ก้าวกระโดด" จาก 430 ล้านบาท ใน ปี 2549 เป็น 550 ล้านบาท ในปีถัดมา 1,000 ล้านบาท, 1,800 ล้านบาท และปีนี้ 2553 ที่ 2,600 ล้านบาท

ว่ากันว่า ถ้า 3G มาเมื่อไร จะยิ่งไปกันใหญ่

"ประชา ชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์" เอ็มดีของ ADapter BY ITAS "ดิจิทัลมีเดียเอเยนซี่" ที่จัดได้ว่างานชุกที่สุดบริษัทหนึ่ง หลากหลายแง่มุมในโลกของสื่อ "ดิจิทัล"

- ตลาดเติบโตสูงมากทุกปี

3-4 ปีก่อน ตอน ADapter เปิดใหม่ ๆ มีคู่แข่งบริษัทเดียว คือเอ็ม อินเตอร์แอคชั่น ของมายด์แชร์ ตอนนี้มี 20-30 บริษัท แต่มาร์เก็ตแชร์เรารวมกับมายด์แชร์เกิน 50%

บูมตามเทรนด์ คอนซูเมอร์ที่มาใช้ออนไลน์เยอะขึ้น นักการตลาดหันมาโฟกัส ออนไลน์มากขึ้น สินค้ามีการใช้จ่ายเงินมายังช่องทางนี้มากขึ้น เอเยนซี่หลายแห่งเปิดแผนกขึ้นมารองรับ

ตลาดรวมและเป้าการเติบโตของ เราปีนี้ยังอยู่ที่ 100% แต่เทียบกับสื่อแบบเดิมในแง่มูลค่าอาจยังไม่สูงมากนัก ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 2 พันกว่าล้าน แต่ต่อไปจะโตกว่านี้ ที่น่าสนใจคือในอังกฤษ โดยปีที่แล้ว การใช้สื่อออนไลน์สูงกว่าทีวีไปแล้ว เป็นข้อมูลที่ ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะคนใช้อินเทอร์เน็ตกับประชากรไป 80-90% และเป็นไฮสปีด ขณะที่บ้านเรายังน้อยอยู่มาก

เชื่อว่า 3G มาจะช่วยได้มาก เป็นความหวังอีกที่จะทำให้ออนไลน์โตได้อีก

เว็บใช้กันทั้งวัน ไม่ได้เป็นไพรมไทม์เหมือนทีวี ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า "my time" แต่ละคนมีเวลาในอินเทอร์เน็ต ไม่เหมือนกัน คนนี้เข้าเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน หมายถึงว่าเข้าได้ทั้งวัน ไม่มีเหมือนทีวี

- โอกาสในการขายมากกว่า

ใช่ คนใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเยอะมาก เพียงแต่ปัญหาอย่างเดียว คือคนใช้ยัง น้อยอยู่

ถ้าคนที่เป็นกลุ่มออ นไลน์อยู่แล้วไม่มีปัญหา เช่น กลุ่ม mid to high จะแฮปปี้กับสิ่งที่ทำบนออนไลน์ หรือบิ๊กแบรนด์จะขาดไม่ได้เลย ยกตัวอย่าง ยูนิลิเวอร์ เป๊ปซี่ ออนไลน์ถือเป็นอีกช่องทางหลัก หรือ คอนโดฯ รถยนต์ มือถือ แล็ปทอป ออนไลน์เข้ามาช่วยเรื่องการขายได้เยอะมาก เพราะไม่ใช่แค่โฆษณา

เมื่อก่อนคนเห็นโฆษณาก็ซื้อแล้ว คือเห็น เชื่อ ซื้อ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ เห็นโฆษณาแล้วไปเสิร์ชข้อมูลก่อน ไปดูว่าสินค้านี้เทียบกับ คู่แข่งดีไหม ไปเซอร์เวย์ในพันทิปว่าคนพูดถึงกันยังไง สุดท้ายอาจมีการแนะนำจากเพื่อน หรือคนรู้จัก

ออนไลน์เข้าไปเกี่ยวกับในทุกทัชพอยต์ ทั้งการเสิร์ช, การเข้าเว็บบอร์ด, ฟังเพื่อนแนะนำ ออนไลน์จึงไม่ใช่แค่เรื่องโฆษณา แต่ซัพพอร์ตการขายได้ด้วย

- คนซื้อเปลี่ยนโมเดล ของเอเยนซี่ เปลี่ยนไหม

เปลี่ยนครับ ปี 2005 อาจเคยเป็นแค่แขนง พอปี 2006 เริ่มเข้ามา อินทิเกรตมากขึ้น ปี 2007 เริ่มเข้ามาเป็นเหมือนส่วนงานที่สำคัญของแต่ละส่วน พอปี 2008 เริ่มเป็นหัวหอกหลักแล้ว ในปี 2009 เริ่มแยกออกมาอย่างชัดเจน เหมือนเป็น ฟูลดิจิทัลอะไรประมาณนี้ ก็ล้อไปกับของเมืองนอกด้วย ไทยอาจช้ากว่าสักปีหนึ่ง โลกยุคนี้ เทรนด์ต่าง ๆ ตามเมืองนอกค่อนข้างเร็ว อย่างเฟซบุ๊กในเมืองนอกเป็นอันดับ 1 ของเว็บที่คนใช้เยอะที่สุด บ้านเราเป็นอันดับ 2 แล้ว

- เฟซบุ๊กใช้ประโยชน์ได้จริง

ได้ ปกติคนสนใจเฟซบุ๊กจะเป็นบิ๊ก แบรนด์ใหญ่ ๆ ไปเปิดแฟนเพจทำคอมมิวนิตี้กับลูกค้า มีน้องผมคนหนึ่งเปิดร้านเสื้อผ้าแบรนด์มีชื่อเสียงแถวสยาม เปิดร้านค่าเช่าแพงมาก 2 แสนบาท กำไรกับทุนเริ่มเท่ากัน เขาจึงปิดร้าน มาเปิดบนเฟซบุ๊ก ปรากฏว่าขายดีมาก โพสต์เสื้อผ้าตอน 1 ทุ่ม 8 โมงเช้าอีกวันขายหมดแล้ว

- ประสบความสำเร็จเพราะ

เป็น ไวรอลแชริ่งโซไซตี้ ทุกครั้งที่เราฟีดอะไรลงไป จะไปโนติไฟล์ในเน็ตเวิร์กทั้งหมดของคนในเครือข่ายเฟซบุ๊ก และแชร์กันได้ง่ายมาก ยิ่งคนมีเฟรนด์ลิงก์เยอะ ๆ ก็จะกระจายไปสู่คนอื่นได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจบนเฟซบุ๊ก คือฟีดข้อมูลได้ทันที ไม่เหมือนเว็บที่อย่างน้อย ๆ ต้องรอวันหนึ่ง ที่เรากำลังทำให้รถยนต์นิสสัน อีโคคาร์ เฟซบุ๊กก็เป็นช่องทางแรกที่ประกาศเรื่องพรีเซ็นเตอร์ (เคน-ธีรเดช) ให้อีโคคาร์ เป็นต้น

- เริ่มต้นทำยังไง

ต้อง เซตอัพแฟนเพจขึ้นมาก่อน จากนั้นจึง invite ผ่านเน็ตเวิร์กว่าสนใจเป็นแฟนของโปรไฟล์นี้ไหม อาจต้องใช้โฆษณาบนเฟซบุ๊กด้วย ลองสังเกตด้านขวาของหน้าเฟซบุ๊กจะมีพื้นที่โฆษณา เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำให้โปรไฟล์ของเราให้พบเห็นง่ายขึ้น เขาขายพื้นที่โฆษณาคิด cost per click เหมือนระบบของกูเกิล

ต้องคิด ก่อนว่าปีนี้อยากได้แฟนเพจกี่คน ซึ่งไม่ควรต่ำกว่าหมื่น ถ้าต่ำกว่านี้ โอกาสในการทำให้เกิดแวลูแชริ่งจะยาก ไม่นับช่วงเซตอัพครั้งแรก ๆ น่าจะใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ถ้าเร็วก็ลงโฆษณา แต่คุ้มไหมอีกเรื่องนะ เพราะคนเห็นทางโฆษณา อาจไม่ใช่กลุ่มคนใช้ถาวร

- มองเฟซบุ๊ก, ไฮไฟฟ์ และทวิตเตอร์อย่างไร

ไฮไฟฟ�นเมืองนอก ไม่ดัง ที่โน่นที่ดัง คือเฟซบุ๊กกับมายสเปซ แต่บ้านเรา มายสเปซไม่ดัง ไฮไฟฟ�หมือนมาทดแทนเอ็มไทยสติ๊กเกอร์ เมื่อก่อนที่คนต้องมีรูปในเอ็มไทย ไฮไฟฟ�าทดแทนความต้องการตรงนั้น แต่เนื่องจากระบบค่อนข้างปิด แชริ่งมีน้อย ไม่เหมือนเฟซบุ๊ก ที่มีเรื่องไวรอลคอมมิวนิเคชั่น หรือแม้แต่แอปพลิเคชั่น อย่างเกม คนไทยเล่นเฟซบุ๊กเยอะ เพราะเกมมีส่วนด้วยมาก ทั้งปลูกผัก เลี้ยงปลา

- ไฮไฟฟ์ ดังมาจากเด็กและดารา

กลุ่ม ยังคงเหลือเล่น ก็ยังเป็นกลุ่มนั้น ขณะที่กลุ่มบน เฟซบุ๊กเริ่มแมสมากขึ้น ณ เดือน ม.ค. 2010 มีคนใช้เฟซบุ๊กในเมืองไทยกว่า 2 ล้านคนแล้ว โตจากปีที่ผ่านมามาก (ม.ค.2009 มีคนใช้ 2.5 แสนราย) กลุ่มอายุหลัก ๆ ที่ใช้เฟซบุ๊ก อยู่ระหว่าง 18-34 ปี เป็นกลุ่มทีนถึงเฟิรสต์ช็อปเปอร์

- การทำตลาดผ่านเฟซบุ๊ก

ต้องวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าก่อนว่า กลุ่มสินค้าตรงไหม เฟซบุ๊กมีข้อจำกัดเรื่องภาษา ดังนั้นต้องเป็นระดับกลางถึงบน ภาพรวมของคนใช้เฟซบุ๊กยังไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับกูเกิล ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดบางอย่าง ในการทำตลาดบนเฟซบุ๊กอย่างเดียว อาจไม่เห็นผล ต้องใช้ร่วมกับสื่ออื่นด้วย

- ต้องมีคนใช้ขนาดไหนถึงจะเวิร์ก

ตอนนี้ก็ใช้ได้แล้ว แต่ใช้ตัวเดียวไม่เวิร์ก 100% เพราะคนใช้ยังไม่ได้กว้างมาก เช่น เสิร์ช อาจต้องมีพวกการทำคอนเทนต์ หรือแบนเนอร์ในพอร์ทอลเว็บบ้าง เพราะคนใช้เฟซบุ๊กไม่ได้เข้าเฟซบุ๊กอย่างเดียว อาจไปใช้เสิร์ช หรือไปดูพันทิป แล้วเห็นแบนเนอร์บนพันทิปก็เป็นไปได้

การจะใช้ เครื่องมืออะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับแคมเปญ ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย แล้วต้องใช้ส่วนผสมอะไรบ้างในการทำตลาด

อย่างแคมเปญงานดิสเพลย์ จะเหมือนโฆษณา คือเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับแบรนด์ หรือเอา โซเชี่ยลมีเดียมาช่วย จะเป็นยูทูบ เฟซบุ๊ก หรือพวกเวิร์ดออฟเมาท์ โดยหาคนที่เป็น โอเพนนิ่งลีดเดอร์ในคอมมิวนิตี้ต่าง ๆ มาช่วยสร้างกระแสเกี่ยวกับแบรนด์ เพื่อให้เห็นจุดดีของสินค้า

- รู้ได้ยังไงว่าควรใช้วิธีไหน

ต้อง หาก่อนว่า เราจะพูดเรื่องอะไรกัน จริง ๆ มีเครื่องมืออันหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นเครื่องมือเช็กเทรนด์ท็อปปิกบนทวิตเตอร์ คือเทรนด์อะไรที่คอนซูเมอร์พูดถึงกัน จะมีการพูดกันในทวิตเตอร์ก่อนเป็นอันดับแรก หรือเราอาจรู้ว่าจะขายอะไร จะพูดอะไร แต่ทำยังไงให้หัวข้อนี้น่าสนใจ ไม่ใช่แค่บอกว่าดียังไง ต้องหาจุดเชื่อมโยงระหว่าง คอนซูเมอร์กับโปรดักต์ให้ได้

- ตลาดโตเร็ว บริษัทก็น่าจะโตเร็ว

มาก ความเหนื่อยอย่างหนึ่ง คือการหาคน ผมรับคนเพิ่มเมื่อไร คู่แข่งกระเทือนทันที เพราะการฝึกเด็กใหม่มาเทรนด์ เสียเวลา แต่ละ บริษัทต้องการคนที่ทำงานได้เลย ดังนั้นทุกครั้งที่เอเยนซี่ไหนเปิดรับคน บริษัทอื่นกระเทือนทันที เราเองก็คนออกเยอะ แต่ก็ดึงมาเยอะ (หัวเราะ) เป็นเรื่องธุรกิจ ครีเอทีฟกับมาร์เก็ตติ้งหายากมาก นอกจากต้องรู้เรื่องมาร์เก็ตติ้งแล้ว ยังต้องคิดรอบ หัวไว เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพราะโลกออนไลน์เปลี่ยนเร็วมาก

เทรนด์ล่าสุดที่กำลังมา คือ augment reality เป็นโลกใหม่ของออนไลน์ที่ทำให้ อินเตอร์แอกต์กับสินค้าได้ในรูปแบบของเรียลิตี้ รถยนต์ยี่ห้อหนึ่งทำ โดยให้ลูกค้ากรอกข้อมูลในเว็บ พรินต์แผ่นข้อมูลออกมา เมื่อนำไปส่องบนเว็บแคม หน้าเว็บบนจอจะปรากฏรูปรถรุ่นที่เหมาะกับเรา เป็นเทรนด์ในเมืองนอก และกำลังจะมาในไทย

- จุดแข็งของดิจิทัลมีเดีย คือถูกและประหยัด

อยากเรียกว่า คุ้มทุนดีกว่า เพราะสื่อดิจิทัล เช็กได้ว่าเงินที่ลงไปได้อะไรกลับคืนมาบ้าง เช็กได้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เช่น ยิงแอดไปที่นี่ คนคลิกกลับมาเท่าไรของจริง เท่าไรที่ไม่ซ้ำกัน เข้ามาแล้ว ทำอะไรต่อหรือเปล่า เช่น มาหน้าแรกแล้วออกไปเลย หรือเข้ามาดูรายละเอียดสินค้าต่อ

จุดขายของดิจิทัลมีเดีย ไม่ใช่ว่าถูก แต่ใช้เงินแล้ววัดความคุ้มค่าได้อย่างชัดเจนตอนนี้การใช้เงินกับแคม เปญออนไลน์ยังไม่สูงมาก คนจึงบอกว่าประหยัด แต่สเกลจริง ๆ แคมเปญหนึ่ง ขั้นต่ำไม่ควรต่ำกว่า 8 แสน-1 ล้าน

ดิจิทัลถือเป็นเครื่องมือใหม่ ที่ต้องคิดให้อินทิเกรตกับสื่อออฟไลน์ ไม่ใช่คิดแคมเปญออกมาก่อนแล้วออนไลน์ จะไปทำอะไรค่อยว่ากัน แบบนี้ไม่เวิร์ก

- ถ้า 3G มา จะเป็นยังไง

ถ้า 3จี มา ที่ต้องทำแน่ ๆ คือโมบายเว็บไซต์ คือเว็บไซต์ฉบับมือถือ เพราะ คอนซูเมอร์เดี๋ยวนี้ อยากได้ข้อมูลอะไร อยากได้เลย ไม่รอคลิกเข้าไปดูจากมือถือได้เลย ดังนั้นต้องออกแบบเว็บให้เหมาะกับมือถือ

*ประชาชาติธุรกิจ

No comments:

Post a Comment