Jul 14, 2010

แนวทางการวิเคราะห์ภาพยนตร์ แนวคิดคู่ตรงข้ามกับความเข้าใจภาพยนตร์


การสมมุติชายและหญิง ให้ตรงข้ามกัน หมายความว่า ผู้หญิงคือสิ่งที่ไม่ใช่ผู้ชายโดยอัตโนมัติ; ถ้าหากว่าผู้ชายเป็นด้านที่เข้มแข็ง ผู้หญิงก็จะต้องเป็นด้านที่อ่อนแอ และเป็นไปในลักษณะนั้น…. เราสามารถที่จะเห็นความงอกเงยทางด้านลบต่างๆในฝ่ายของผู้หญิง ในฐานะที่เป็นผลผลิตที่จำเป็นอันหนึ่ง ของสมมุติฐานซึ่ง"ชาย"และ"หญิง"คือความตรงข้าม. ในความต่อเนื่องของห่วงโซ่ดังกล่าว เราจะต้องยุติคู่ตรงข้าม "ดี"(ชาย)ตรงข้ามกับ"ชั่ว"(หญิง)ด้วย


สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(บทความนี้ยาวประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4)

บทความชิ้นนี้แปลมาจากหนังสือเรื่อง Media and Society
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler
สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002
(ในส่วนของ Part 3, Chapter 10 เรื่อง Narrative Structure and Binary Oppositions หน้า 149-156)


ภาพ ประกอบบทความ วงกลม"หยิน-หยาง" ในปรัชญาเต๋าของจีน
"หยิน" คือด้านมืด ส่วน"หยาง"คือด้านสว่าง

หมายเหตุ : หากต้องการอ่านเพื่อให้ได้เนื้อความสมบูรณ์ ควรอ่านเรื่อง ลำดับที่ 368. วิเคราะห์การเล่าเรื่องของภาพยนตร์กระแสหลัก [ตอนที่๑] และ 369. วิเคราะห์การเล่าเรื่องของภาพยนตร์กระแสหลัก [ตอนที่๒] (ตำแหน่งในเชิงโครงสร้างของตัวละครต่างๆ) ก่อน

คู่ตรงข้าม (Binary Oppositions)
เราสามารถพัฒนาวิธีการวิเคราะห์การดำเนินเรื่องต่อไปได้ โดยผ่านการประยุกต์ใช้วิธีการเกี่ยวกับคู่ตรงข้าม สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้โดยบรรดานักวิจารณ์เป็นจำนวนมาก (Turner 1993. pp.72-76) ซึ่งคุณสามารถจะเห็นได้จากตารางข้างหน้า และคุณอาจจะเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้ในที่ต่างๆด้วย

แนวความคิดเกี่ยวกับความตรงข้าม(opposition)หรือทวิลักษณ์(duality) เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในระบบของภาษาและในความคิดทางปรัชญาตะวันตกทั้งหมด อริสโตเติลได้แสดงสิ่งนี้เมื่อเขากล่าวว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างคือ A หรือไม่ใช่ A อย่างใดอย่างหนึ่ง" เขาใช้ความตรงข้ามและวิธีการเชิงนิเสธในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการนิยาม ความหมาย

การ ใช้วิธีการนี้ได้ปรากฏเด่นชัดในเรื่องของภาษา: ดังที่สนทนากันในความสัมพันธ์กับเรื่องสัญศาสตร์(semiology), คำต่างๆไม่ได้หมายถึงสิ่งใดเลยในตัวของมันเอง - พวกมันมีความหมายเมื่อไปสัมพันธ์กับคำอื่นๆ โดยผ่านระบบของความต่าง (system of difference). คำแต่ละคำ หรือแนวความคิดแต่ละแนว ได้ถูกนิยามโดยสิ่งที่ตรงข้ามของมัน และจะเข้าใจมันได้ก็แต่เพียง ถ้าหากเราเข้าใจหรือรู้ถึงสิ่งที่ตรงข้ามของมันเสียก่อน

ยกตัวอย่างเช่นคำว่า "ใช่"ถูกเข้าใจในความสัมพันธ์กับคำว่า"ไม่"; "ถูก"จะเข้าใจได้ในความสัมพันธ์กับคำว่า"ผิด"; "บน"กับ"ล่าง"; "สว่าง"กับ"มืด"; "ดี"กับ"เลว"; "ขาว"กับ"ดำ"; "ความเป็นชาย"กับ"ความเป็นหญิง"; และอื่นๆ

คู่ตรงข้ามเหล่านี้คือลักษณะหนึ่งของวัฒนธรรม ไม่ใช่ธรรมชาติ; พวกมันคือผลิตผลของระบบการแสดงออกหรือการบ่งชี้(signifying systems), และทำหน้าที่จัดวางโครงสร้างการรับรู้ของเรา เกี่ยวกับโลกธรรมชาติและโลกสังคมเข้าสู่ระเบียบกฎเกณฑ์และความหมาย (O'Sullivan et al. 1994. P.30)

ดังนั้นเรา ในฐานะมนุษย์จึงได้สร้างวิธีการจำแนกหมวดหมู่เหล่านี้ขึ้นมา

"คู่"(binary)เป็นสิ่งที่ได้รับการสืบทอดมาจากคำในภาษากรีก คือคำว่า "bio" ซึ่งหมายถึง "two"(สอง). มันเกี่ยวกับ"การแบ่งแยก" หรือ"สิ่งที่เป็นคู่"หรือ"สอง": บวกและลบ(positive and negative), ใช่และไม่ใช่, และอื่นๆ

มันคือพื้นฐานของระบบจำนวน(numerical system)ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์. การตัดสินของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนการถามและ การตอบคำถาม ใช่/ไม่ใช่. คำตอบไหนก็ตามที่ถูกเลือก จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปของการคำนวณโดยอัตโนมัติ

ระบบทวิลักษณ์นี้ได้ถูกท้าทายโดยผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งให้เหตุผลว่า ระบบดังกล่าวได้สร้างความห่างและการแบ่งแยกขึ้นมา และมันไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงได้ดีเพียงพอ. มันเป็นการยินยอมให้กับวิธีการตรงข้ามหรือความเป็นปรปักษ์ของความคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ตายตัวไม่มีการยืดหยุ่น มันมีสถานะของเหตุผลของกันและกันโดยเฉพาะ และเป็นเรื่องของผู้ชนะกับผู้แพ้ในการโต้เถียง แทนที่จะยืดหยุ่น เจรจาประนีประนอม และอยู่ในสถานะของการพลิกแพลงแก้ไขได้ อันนำมาซึ่งการร่วมมือกันของมุมองหรือทัศนียภาพที่แตกต่าง

อัน นี้คือข้อเท็จจริงด้วยที่ว่า"ในทางชีววิทยา" ความตรงข้ามระหว่าง "ชาย/หญิง" อาจไม่ได้อธิบายถึงความจริงได้ดีพอ ประการแรกเพราะ มันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนสมบูรณ์แบบอันนั้น เมื่อมันมีความเป็นไปได้ว่ามนุษย์มีลักษณะ hermaphrodite หรือ กะเทย (นั่นคือมีทั้งความเป็นชายและความเป็นหญิงอยู่ในคนๆเดียว). มันยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือความผันแปรต่างๆอีกมากมายด้วย เกี่ยวกับสิ่งซึ่งมีความเป็นชายและความเป็นหญิง

ความแตกต่างกันทางด้านโครโมโซมและฮอร์โมนที่ใช้ในการนิยามในเชิงชีววิทยา ระหว่างความแตกต่างกันของ ชาย/หญิง ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ชายแทบทุกคนมีโครโมโซม/ฮอร์ไมนของผู้หญิงบางส่วน, ขณะที่เกือบจะทั้งหมดของผู้หญิง ในทำนองเดียวกัน ก็มีธาตุต่างๆของผู้ชาย. มีผู้คนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เป็นชายหรือหญิงร้อยเปอร์เซ็นต์ ในเทอมต่างๆเหล่านี้

ด้วยเหตุดังนั้น การจำแนกหมวดหมู่ในเชิงชีววิทยาเกี่ยวกับความเป็นชายและความเป็นหญิง จึงค่อนข้างเลื่อนไหลมากกว่าในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งโดยจารีตแล้วมีการจำแนกออกจากกันอย่างเด่นชัด. แนวเส้นต่างๆของความแตกต่างไม่ได้เป็นสิ่งที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง ความคิดใหม่(new thinking)ได้แสวงหาการผสมผสานกันอันหนึ่งเกี่ยวกับความตรงข้าม และพยายามจะละเลิกจากแนวคิดแบบทวิลักษณ์นี้

แนวคิดและวิธีการใหม่ดังกล่าวสำเหนียกหรือเข้าใจถึงความแตกต่าง ในฐานะที่เป็นอนุกรมอันหนึ่งของความเป็นไปได้ ด้วยการเอาใจใส่อย่างมากต่อการยุติการแบ่งแยก. ในกรณีของเพศสภาพและความแตกต่างกันทางเพศ ลักษณะที่เป็นกะเทยและการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของเพศตรงข้าม อาจครอบครองปริมฑลต่างๆที่เป็นกลางซึ่งมีอยู่เพียงเบาบางของอนุกรมที่ต่อ เนื่อง

หมายเหตุลงไปว่า คู่ตรงข้ามอย่างเช่น ชาย/หญิง และ ถูก/ผิด เป็นเรื่องของลำดับชั้นสูงต่ำ: บ่อยครั้งที่ด้านหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าอีกด้านหนึ่งซึ่งได้ถูกลด ทอนคุณค่าลงมา หรือเป็นไปในเชิงลบ อันนี้มีแนวโน้มที่จะถูกนิยามในความสัมพันธ์กับด้านหลัก

ยกตัวอย่างเช่น ความตรงข้ามกันระหว่างชายและหญิง ได้ถูกคัดค้านเพราะ "ชาย"มักจะได้รับการยึดครองในฐานะที่เป็นด้านที่สำคัญกว่า ซึ่งสวนทางกับ"หญิง"ที่ถูกนิยามในฐานะทีาสำคัญน้อยกว่า ดังที่ Turner กล่าวว่า:

การสมมุติชายและหญิงให้ตรงข้ามกัน หมายความว่า ผู้หญิงคือสิ่งที่ไม่ใช่ผู้ชายโดยอัตโนมัติ; ถ้าหากว่าผู้ชายเป็นด้านที่เข้มแข็ง ผู้หญิงก็จะต้องเป็นด้านที่อ่อนแอ และเป็นไปในลักษณะนั้น…. เราสามารถที่จะเห็นความงอกเงยทางด้านลบต่างๆในฝ่ายของผู้หญิง ในฐานะที่เป็นผลผลิตที่จำเป็นอันหนึ่ง ของสมมุติฐานซึ่ง"ชาย"และ"หญิง"คือความตรงข้าม. ในความต่อเนื่องของห่วงโซ่ดังกล่าว เราจะต้องยุติคู่ตรงข้าม "ดี"(ชาย)ตรงข้ามกับ"ชั่ว"(หญิง)ด้วย (Turner 1988, p.74)

ในวัฒนธรรมของชาวจีน เราได้เห็นถึงวิธีคิดอันหนึ่งของคู่ตรงข้ามในสัญลักษณ์ หยิน/หยาง โบราณ ซึ่งได้แบ่งแยกระหว่างชายและหญิง สัญลักษณ์อันนี้เป็นภาพของความตรงข้ามกัน (ดูภาพประกอบ)

"หยิน"คือตัวแทนของหลักการยอมจำนนของจักรวาล ได้รับคุณสมบัติให้เป็นหญิง, ความมืด, การยอมจำนน, ความยินยอม, ด้านลบ, และการดูดซับ
"หยาง" คือคุณสมบัติของชาย, ความสว่าง, การกระทำ, ความมั่นคง, ด้านบวก, และการแผ่ขยาย

อันนี้คล้ายคลึงกับความตรงข้ามต่างๆในวัฒนธรรมตะวันตกที่รายรอบเรื่องของเพศ สภาพ ซึ่งในทำนองเดียวกัน ได้สัมพันธ์กับคุณสมบัติโดยรวมทั้งหมดกับสถานะของแต่ละด้าน (ชายหรือหญิง). ชุดของความตรงข้ามเหล่านี้รายรอบเรื่องของเพศสภาพ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การโจมตีของบรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรีที่ถกว่า ผู้หญิงไม่ควรจะถูกวางตำแหน่งในฐานะที่เป็นคุณสมบัติชุดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเผื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นไปในเชิงลบ และมีพลังอำนาจน้อยกว่าคุณสมบัติอีกชุดหนึ่งซึ่งกำหนดให้กับผู้ชาย

เราจะมาพิจารณากันถึงเรื่องนี้เมื่อเราได้เข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับความคิด ต่างๆของจุง(Jung's ideas)(บทความในเรื่องต่อจากนี้). แต่จุดสำคัญซึ่งเราต้องการทำในที่นี้คือ ขณะที่"หยิน/หยาง"เป็นระบบหนึ่งของความตรงข้ามต่างๆ, มันยังเป็นระบบและสัญลักษณ์ของความเสมอภาคและการเติมเต็มที่สมบูรณ์ด้วย(a system and symbol of equality and complementarity).

ทั้งสองด้านได้ยึดครองพื้นที่เท่าเทียมกันในระวางเนื้อที่วงกลมทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวแทนโลกและจักรวาล ดังนั้น ความเป็นหญิง - หยิน จึงมีความสำคัญที่เท่าเทียมกับ ความเป็นชาย - หยาง (บังเอิญ, บ่อยครั้งวงกลมต่างๆถูกพบเห็นในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายหญิง บางทีเพราะว่ามันถูกเชื่อมโยงกับวงกลมต่างๆของไข่, รังไข่, วงกลมแห่งฤดูกาล, และรูปร่างของไข่ - ดังนั้น ความเป็นหญิงจึงเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการนิยามในที่นี้)

ยิ่งไปกว่านั้น หยินและหยางยังเป็นการเติมเต็มด้วย เพราะเหตุว่าแต่ละส่วนคือองค์ประกอบของอีกส่วนหนึ่ง และในแต่ละส่วนนั้นยังรวมเอาอีกส่วนหนึ่งเข้ามาด้วย ในซีกของชายมีความเป็นหญิงอยู่ภายใน และในซีกของหญิงมีความเป็นชายอยู่ภายใน (สังเกตุวงกลมเล็กๆในภาพ "ในดำมีขาว-ในขาวมีดำ") นั่นคือแง่มุมที่เป็นแก่นอันหนึ่งของมัน

แม้แต่การแบ่งแยกระหว่างพื้นที่ทั้งสองด้าน ก็ไม่ได้เป็นไปในแบบเส้นตรงที่ตายตัว แต่มันเป็นการแบ่งแยกด้วยเส้นโค้งที่เลื่อนไหลอ่อนช้อย ซึ่งยินยอมให้มีการผสมผสานกันระหว่างทั้งสองด้านนี้. พวกมันขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนที่มาสร้างความเติมเต็มโดยรวม ดังนั้น ระบบเกี่ยวกับความแตกต่างของจีนนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับแก่นแท้สองด้านที่ตรงข้ามกัน แต่มันเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกัน

ขอให้เราย้อนกลับไปสู่การใช้วิธีการเกี่ยวกับคู่ตรงข้ามต่างๆในการวิเคราะห์ การดำเนินเรื่องหรือการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ทั้งนี้เพราะมันเป็นประโยชน์และมีประสิทธิผลสำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆของเรา. การเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องทั้งหลายได้ถูกรวบรวมขึ้นมารายรอบความขัด แย้งและความตรงข้าม ซึ่งนั่นเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง

เราต้องมีการ ต่อสู้ดิ้นรนบางอย่าง มีความแตกแยกบางชนิดที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนมากที่สุดระหว่างตัวละครต่างๆแต่ละตัว แต่ทว่าอันนี้มันยังชี้ไปถึงความขัดแย้งระหว่างระบบคุณค่าที่แตกต่างกันด้วย อันที่จริง เราสามารถคิดถึงโครงสร้างทั้งหมดของการดำเนินเรื่อง ในฐานะที่เกี่ยวพันกับการแก้ปัญหาหรือการละลายความขัดแย้ง ระหว่างพลังอำนาจสองด้านที่ตรงข้ามกัน

ศัพท์คำว่าการสังเคราะห์ความขัดแย้ง(dialectical synthesis - การสังเคราะห์ในเชิงวิภาษวิธี) เป็นการอ้างอิงถึงบทสนทนาหรือข้อโต้เถียงกันอันหนึ่งระหว่างการชิงชัยกันสอง ด้าน หรือฝ่ายที่ตรงข้ามกันสองฝ่าย. ในข้อโต้แย้งเชิงปรัชญา หรือในความเรียงทางวิชาการ ทั้งสองด้านนี้ได้รับการเรียกว่า the thesis (สิ่งที่ถูกยกขึ้นมาถก)ด้านหนึ่ง และ the antithesis (ข้ออ้างในเชิงตรงข้าม หรือประเด็นทางเลือกอีกอันหนึ่ง, มุมมองต่างๆ, สุ้มเสียงและทัศนะต่างๆในเชิงตรงข้ามที่ถูกนำมาถกเถียง)ในอีกด้านหนึ่ง

ในการเล่าเรื่อง, the thesis และ the antithesis เป็นคู่ตรงข้ามที่สัมพันธ์กัน ซึ่งได้วางโครงสร้างเรื่องราวอันนั้น. เทียบกับข้อถกเถียง แต่ละด้านจะต้องพัวพันกับอีกด้านหนึ่ง และสามารถที่จะอธิบายหรือเข้าใจประเด็นหรือมุมมองในทางตรงข้าม เพื่อที่จะสามารถปฏิเสธหรือรวมกับมันได้. เมื่อทั้งสองฝ่ายเรียนรู้ที่จะยอมรับกันและกัน การสังเคราะห์ความขัดแย้ง(dialectical synthesis) หรือการแก้ปัญหาการดำเนินเรื่องก็จะมาถึง

บ่อยครั้ง เราสังเกตเห็นความตรงข้ามที่แตกต่างกันมากมายภายในโครงสร้างของการเล่า เรื่อง คุณควรที่จะค้นหาความตรงข้ามต่างๆที่ชัดเจนและตรงไปตรงมาในการเล่าเรื่อง หรือการดำเนินเรื่องหลักๆที่คุณทำการวิเคราะห์. ความตรงข้ามกันเหล่านี้ทำให้การเล่าเรื่องมีแบบแผนอันหนึ่งขึ้นมา

ในการรวบรวมหรือเรียบเรียงชุดต่างๆของความตรงข้ามในเรื่องราวใดเรื่องราว หนึ่ง มันเป็นสิ่งสำคัญที่ ปัจจัยหรือองค์ประกอบทั้งหมดของด้านหนึ่งมีความโยงใยกันบางอย่างกับอีกด้าน หนึ่งในระหว่างพวกมัน ดังนั้นโดยรวมแล้ว พวกมันจึงไปบวกกับข้อคิดเห็นหรือระบบคุณค่าอีกอันหนึ่งโดยเฉพาะ

คุณสามารถเห็นถึงกระบวนการความตรงข้ามอันนี้ทำงาน โดยการเปรียบเทียบตัวละครต่างๆ อย่างเช่น Luke Skywalker และ Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ภาคต่างๆ. ยกตัวอย่างเช่น ชื่อของพวกเขามันมีความหมายแฝงในเชิงตรงข้าม: นั่นคือ "sky" จากคำเต็ม "skywalker" แฝงถึง light (แสงสว่าง) และคำว่า "Luke" มีความใกล้ชิดกับคำลาติน luce ที่แปลว่า light (แสงสว่าง) ในทางตรงข้ามคำว่า "Darth" ในคำเต็ม "Darth Vader" มีความหมายแฝงถึง darkness (ความมืด) และ death (ความตาย): และคำว่า "walker" แฝงนัยะความสงบสันติ(peaceful) ต่างไปจากคำว่า "Vader" ซึ่งมีความหมายแฝงถึงคำว่า "invader"(ผู้บุกรุก)

Luke บ่อยครั้งมักจะแต่งตัวในชุดสีสว่าง ซึ่งตรงข้ามกับ Darth Vader ซึ่งมักจะอยู่ในชุดดำเสมอ. การต่อสู้ของตัวละครแต่ละตัว กลายเป็นการต่อสู้กันในเชิงลับที่สำคัญอันหนึ่ง ระหว่างพลังอำนาจที่ชิงชัยกันในทางนามธรรมของความสว่างและความมืด, ชีวิตและความตาย, ความดีและความชั่ว

เราสามารถสังเกตความตรงข้ามกันโดยเฉพาะระหว่างตัวละครทั้งหลายได้, ระหว่างอัตลักษณ์ของมนุษย์ที่ผิดแผก, ระหว่างฉากและสีสรรที่แตกต่าง, และอื่นๆ. ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเกาะติดหรือสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการนำเสนอความตรง ข้ามที่เป็นแกนกลาง ระหว่างระบบคุณค่าสองอย่างที่แตกต่างกัน

การวิเคราะห์เกี่ยวกับความตรงข้ามนี้ ได้น้อมนำเราไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไปมากขึ้น เกี่ยวกับสิ่งที่ภาพยนตร์ได้รับการเอาใจใส่โดยแกนหลัก. Jim Kitses ได้ใช้ความตรงข้ามกันต่างๆ ในการวิเคราะห์ของเขาได้อย่างเยี่ยมยอดเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวตะวันตก. เขาเสนอว่า ภาพยนตร์แนวตะวันตกเต็มเปี่ยมไปด้วยความตรงข้ามดังต่อไปนี้:

 ตะวันตก                        กับ                      ตะวันออก         
ความป่าเถื่อน กับ อารยธรรม
ปัจเจกภาพ กับ ชุมชน
อิสรภาพ กับ ข้อจำกัด
ธรรมชาติ กับ วัฒนธรรม
ความไร้ระเบียบ กับ กฎระเบียบ
ความบริสุทธิ์ กับ ความไม่บริสุทธิ์
(source : adapted from Kitses 1969)

รายการที่แยก ให้เห็นข้างต้นของ Kitses เกี่ยวกับคู่ตรงข้ามต่างๆ (ซึ่งสามารถขยายต่อไปได้อีกมากมาย) เป็นประโยชน์อย่างมากกับภาพยนตร์แนวตะวันตกหรือหนังคาวบอย

เขาได้แสดงให้เห็นว่าแบบแผนอันนี้ เกี่ยวโยงกับการมุ่งสู่ตะวันตกของอเมริกา การแสวงหาและข้ามไปสู่ดินแดนใหม่ระหว่างตะวันออกและตะวันตก, ระหว่างอารยธรรมและความป่าเถื่อน หรือสวนอีเดนซึ่งอยู่ข้ามชายแดนไป, ระหว่างข้อจำกัดและอิสรภาพ.

ความจริงเราได้พูดถึงเรื่องนี้กันมาแล้วในบทความก่อนเกี่ยวกับภาพยนตร์ เรื่อง Thelma and Louise แต่มันมีคุณค่าที่จะบันทึกลงไปอีกครั้ง เพราะว่ามันเป็นโครงสร้างที่มีอำนาจลึกลับอันหนึ่งสำหรับเรา เช่นดังวิธีการทั่วๆไป การใช้คู่ตรงข้ามเหล่านี้จะให้ความสว่างหรือความเข้าใจแนวภาพยนตร์ต่างๆ และการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้ด้วย

ข้อคิดเกี่ยวกับ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบเกี่ยวกับความตรงข้ามนี้คือว่า มันไม่มีความชัดเจนจะแจ้งของ"ความดี"และ"ความชั่ว". ความตรงข้ามที่ขัดแย้งกันต่างๆเหล่านี้ ต้องได้รับการแก้ไขในตอนจบของเรื่อง และอันนี้คือวิธีการซึ่งระบบดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจ

อีกคำรบหนึ่ง ความคิดเกี่ยวกับการสังเคราะห์ความขัดแย้ง(the idea of dialectical synthesis)สามารถช่วยเราให้เข้าใจการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งถูกทำให้บรรลุผลได้. the thesis (ด้านหนึ่ง) และ the antithesis (ในอีกด้านหนึ่ง) จะต้องถูกนำมาบรรจบพบกันหรือไปด้วยกันโดยการสังเคราะห์(synthesis)

"ตัวละครเอก"และ"ตัวละครที่เป็นปรปักษ์"ในเรื่องราวต่างๆ โดยแบบแผนแล้ว ต้องรับเอาแง่มุมบางอย่างของระบบคุณค่าและลักษณะเฉพาะของตัวละครอีกฝ่าย หนึ่งไว้ เพื่อว่าความขัดแย้งระหว่างพวกเขาจะได้รับการแก้ไข

ยกตัวอย่างเช่น พระเอกในหนังคาวบอยตะวันตก บ่อยทีเดียวได้นำพาอารยธรรมและความเป็นชุมชนไปสู่ชายแดนตะวันตกที่ป่าเถื่อน แต่ในเชิงประติทรรศน์หรือแย้งกับความคิดเห็นทั่วๆไป ความสามารถของพวกเขาที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบ เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกของพวกเขา และตัวของพวกเขาเองนั้นยังคงความอิสระเอาไว้ (อยู่นอกและเหนือกฎหมาย)ในความป่าเถื่อน

เพื่อว่าพระเอก ในหนังคาวบอยจะได้กำจัดหรือเอาชนะพวกอินเดียน บ่อยครั้ง เขาต้องได้เรียนรู้ทักษะต่างๆในทางขนบจารีตของอินเดียน อย่างเช่น การล่าและการแกะรอย และบ่อยมากที่เขามีความเข้าใจวัฒนธรรมและภาษาของพวกอินเดียนได้ดีกว่าตัว ละครอื่นๆ อย่างเช่น ผู้ตั้งรกรากหรือพวกพ่อค้า ซึ่งทั้งหมดได้รับการจัดการให้อยู่กับเส้นแนวของอารยธรรมและความเป็นตะวัน ออก

ถ้าเผื่อว่าคุณต้องการที่จะวิเคราะห์การดำเนินเรื่อง ลองทำรายการอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับคู่ตรงข้ามอย่างที่เสนอไปแล้วข้างต้น คุณจะเห็นว่าตัวละครเอกนั้น กำลังต่อสู้เพื่อด้านที่ได้รับการพิจารณาโดยทั่วไปว่าเป็นฝ่ายดี แต่เพื่อที่จะเอาชนะการต่อสู้ดังกล่าว เขาหรือเธออาจต้องไปสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างจากคอลัมภ์ด้านตรงข้าม

วิธีการนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลสื่อ ที่อยู่นอกเหนือเรื่องราวแนวตะวันตกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Face/Off ได้ให้ตัวอย่างที่ดีมากกับเราอันหนึ่งเกี่ยวกับการรวมกันทั้งสองฝ่าย ระหว่าง"ความดี"และ"ความชั่ว" ซึ่งบังเกิดขึ้นในกระบวนการเกี่ยวกับการสังเคราะห์ความขัดแย้ง(dialectical synthesis). ลักษณะบทบาทของ John Travolta และ Nicholas Cage โดยแท้จริงแล้ว ต้องเข้าไปภายในร่างของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ปัญหาหรือละลายความขัดแย้งของพวกเขา

ความพยายามที่จะแก้ไขเกี่ยวกับความตรงข้ามต่างๆ ถือเป็นแกนกลางของความหมายเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องต่างๆของภาพยนตร์ มันสามารถที่จะได้รับการมองว่าเป็นการแสวงหาอันหนึ่งสำหรับการสิ้นสุดลงของ ความเป็นทวิลักษณ์และความตรงข้าม

บ่อยครั้งมันเผยให้เห็นว่า ความตรงข้ามต่างๆได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกัน ยกตัวอย่างเช่น ในภาพยนตร์เรื่อง Star War ในท้ายที่สุด ได้รับการเผยออกมาว่า Darth Vader และ Luke Skywalker อันที่จริงแล้วเป็นพ่อลูกกัน: เขาทั้งสองคล้ายกับสองด้านของเหรียญๆหนึ่งนั่นเอง

ลองเขียนรายการคู่ตรงข้ามในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise และพิจารณาดูว่า สิ่งเหล่านี้ได้รับการแก้ไขในตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างไร

แบบฝึกฝนข้อคิดเห็น
ตารางข้างล่างนี้จะให้ข้อเสนอแนะบางประการเกี่ยวกับว่า คุณจะประยุกต์ใช้วิธีการคู่ตรงข้ามกับภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise อย่างไร

                                                                                             ความตรงข้าม
ตัวละคร Thelma vs สามีของเธอ
Louise vs คนข่มขืน
อัตลักษณ์ ขาดความระมัดระวัง vs เป็นระบบ
สูบบุหรี่ vs ไม่สูบบุหรี่
แต่งตัวสวย vs ใส่ยีนส
สวมเครื่องประดับ vs หมวกคาวบอย
นิ่งสงบ vs เคลื่อนไหว
ฉาก บ้าน vs ไปจากบ้าน
ร้านอาหาร vs ภูเขา
อเมริกา vs เม็กซิโก
ระบบคุณค่า ผู้หญิง vs ผู้ชาย
ถูกกฎหมาย vs ไม่ถูกกฎหมาย
ติดกับ vs อิสระ
ถูกกดขี่ vs ได้รับอิสระ

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความตรงข้ามบางอย่างเท่านั้นในภาพยนตร์ คุณอาจพบความตรงข้ามอื่นๆอีกมากมาย ลองบันทึกลงไปว่าหัวข้อหลัก 3 ข้อแรกของความตรงข้าม - ตัวละคร, อัตลักษณ์, และฉาก - น้อมนำเราไปสู่นามธรรมของระบบคุณค่าอย่างไร

ในการมองดูการแก้ปัญหา หนึ่งในรูปการณ์ที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือว่า ในขณะที่เราได้รับการเชื้อเชิญอย่างชัดเจนให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวและ เห็นอกเห็นใจบรรดาผู้หญิง (Thelma และ Lousie) การเดินทางของพวกเธอเพื่อบรรลุถึงและพัฒนาขึ้น กลับเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งโอบล้อมพวกเธอให้ข้ามผ่านจากด้านของความเป็นหญิง ไปสู่ด้านของความเป็นชาย (Thelma สังเกตว่า ในระดับหนึ่งนั้นมีบางสิ่งบางอย่างในตัวเธอได้เปลี่ยนแปลงไป)

พวกเธอละทิ้งการแต่งตัวและเครื่องประดับต่างๆของผู้หญิงเอาไว้เบื้อง หลัง(ความเป็นหญิง) และหันมานุ่งกางเกงยีนส์และสวมหมวกคาวบอยแทน(ความเป็นชาย); พวกเธอละทิ้งชีวิตที่เงียบสงบอยู่กับบ้านและร้านอาหารไป(ลักษณะของผู้หญิง) เพื่อใช้ชีวิตที่โลดแล่นที่ท่องไปบนท้องถนน(ลักษณะของผู้ชาย)

ในท้ายที่สุด พวกเธอก็ได้รับอิสรภาพโดยการไปรวมกับอัตลักษณ์บางอย่างของผู้ชายที่อยู่นอก กฎเกณฑ์มาใช้ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและหาทางออกต่างๆที่สัมพันธ์กับสถานภาพในก่อนหน้านั้น ของพวกเธอ

ในการวิเคราะห์เรื่องราวทั้งหมดของภาพยนตร์ ทัศนะต่างๆเกี่ยวกับความเป็นชายและความหญิง ให้เราหมายเหตุลงไปว่า ในท้ายที่สุดเป็นการแก้ปัญหาที่ให้การสนับสนุนผู้หญิง, Thelma และ Louise อันที่จริงได้รับเอาอัตลักษณ์ต่างๆของผู้ชายมา และกำลังดำเนินรอยตามวิถีชีวิตของผู้ชาย

อันนี้อาจถูกวางเป็นพื้นฐานหลักเกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ซึ่งในขณะที่มันแสวงหาหนทางที่จะสนับสนุนผู้หญิง มันกลับกำลังรับรองคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่างของผู้ชาย หรืออีกด้านหนึ่ง มันอาจได้รับการมองในฐานะที่เป็นการแสดงให้เห็นว่า สิทธิพิเศษต่างๆของผู้ชายและวิถีชีวิตดังกล่าวควรจะใช้ได้กับผู้หญิงด้วย และไม่ควรได้รับการมองในฐานะที่เป็นเรื่องเฉพาะของผู้ชายเท่านั้น

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการยืนยันอันหนึ่งเกี่ยวกับความผูกพันอันแน่นแฟ้นของ มิตรภาพ, ความร่วมมือและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน, การสนับสนุน, และความเข้าใจในกันและกัน ซึ่งชี้ว่าลักษณะเฉพาะเหล่านี้ (โดยขนบจารีต สัมพันธ์กับผู้หญิง) คือสิ่งที่ดำรงอยู่ท่ามกลางคุณค่าต่างๆ ซึ่งทรงคุณค่ามากที่สุดในชีวิต

ข้อเท็จจริงที่ว่า พวกเธอจุมพิตกันก่อนที่พวกเธอจะขับรถพุ่งออกไปพ้นขอบเหวในฉากสุดท้ายของ ภาพยนตร์เรื่องนี้ สามารถได้รับการมองว่าเป็นการผูกขาดหรือสงวนเอาไว้สำหรับความเป็นผู้หญิงของ พวกเธอเท่านั้น เนื่องจากว่าผู้ชายตะวันตกจะไม่จุมพิตกัน

ไม่ว่าแนวทางใดก็ตามที่คุณรับมาหรือยึดถือ คุณจะเริ่มมองว่า ความตรงข้ามกันต่างๆคือแกนกลางเกี่ยวกับแบบแผนของการเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์เกี่ยวกับการดำเนินเรื่องเหล่านี้จะน้อมนำคุณไปสู่ความเข้า ใจเกี่ยวกับชิ้นส่วนต่างๆของมันมากขึ้น

การประยุกต์วิธี การเชิงโครงสร้างต่างๆ ไปใช้กับข้อมูลที่ไม่เล่าเรื่อง
(Applying structural approaches to non-narrative texts)

วิธีการศึกษาข้างต้นในเรื่อง"โครงสร้างต่างๆของการเล่าเรื่อง" ไปสัมพันธ์กับเรื่องที่แต่งขึ้นมา(fiction)ส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการตระหนักรู้เกี่ยวกับคู่ตรงข้ามทั้งหลายนี้ สามารถถูกนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ได้แต่งขึ้น(non-fiction)ได้ ด้วย อย่างเช่น รายงานข่าว, ข่าวกีฬา, รายการตอบคำถามชิงรางวัล(quiz show), และรายการสนทนาต่างๆ

เราได้พูดกันไปแล้วว่า ข้อมูลสื่อประเภทแต่งขึ้น(fiction)และข้อเท็จจริง(factual)ได้มีส่วนร่วมใน คุณสมบัติเหล่านี้จำนวนหนึ่งอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวเกี่ยวกับสารคดีต่างๆ ซึ่งนำเสนอตัวมันเองในลักษณะที่เป็นเรื่องเล่า - มีการดำเนินเรื่องโดยมีจุดเริ่มต้น, ท่ามกลาง, และที่สุด และมีตัวละครหลักๆ เครื่องมือในการวิเคราะห์ทั้งหมดซึ่งจะสนทนากันในส่วนนี้ในเรื่องของโครง สร้างการดำเนินเรื่อง สามารถที่จะได้รับการนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์ถึงมันได้

รายการข่าว, เกมโชว์, และรายการตอบคำถามชิงรางวัล, รวมถึงรายการกีฬา, โดยจารีตแล้ว ได้รับการวางโครงสร้างอย่างระมัดระวัง และการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างเหล่านี้ จะเริ่มเผยให้เห็นถึงความหมายที่อยู่ข้างใต้บางอย่างของมันออกมา

ข่าวนั้นเป็นข้อมูลสื่อที่ไม่ได้แต่งขึ้น ซึ่งไม่ได้ดำเนินรอยตามโครงสร้างการดำเนินเรื่องโดยมีการเริ่มต้น, ท่ามกลาง, และที่สุด. โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว รายงานข่าวต่างๆจะเริ่มที่จุดไคลแม็กซ์หรือจุดวิกฤตที่สุดของเรื่อง และต่อจากนั้น จะมีการนำเสนอข้อมูลที่ลดทอนความสำคัญลงมาตามลำดับ(in decreasing order of priority), และตบท้ายด้วยรายละเอียดที่เป็นเบื้องหลังที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมา, มีการนำเสนอตัวบุคคลต่างๆ, ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นรากฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวเป็นส่วนใหญ่

เพราะว่าข้อมูล เกี่ยวกับข่าวจะพุ่งตรงไปที่จุดสำคัญเป็นอันดับแรก พวกมันได้รับการกล่าวว่าได้ถูกวางโครงสร้างคล้ายปิรามิดหัวกลับ ด้วยเหตุดังนั้น รายงานข่าวต่างๆจึงมีแนวโน้มที่จะให้สิทธิพิเศษเรื่องของความขัดแย้ง ก่อนบริบทแวดล้อมอื่นๆ, มันจะให้ความสำคัญกับจุดไคลแม็กซ์มากกว่าเบื้องหลัง, และสร้างผลกระทบต่อความรู้สึก มากกว่าความผูกพันทางอารมณ์, ทางสติปัญญา, และความเข้าใจ.

เคยสังเกตไหมว่า โครงสร้างของการนำเสนอชั่วโมงข่าวประจำวันยังคงมีลักษณะ - หัวข้อข่าว, ถัดมา เรื่องราวชุดหนึ่งที่ลดทอนลงความสำคัญลงมา, และจบลงด้วยเรื่องความรู้สึกที่ดี เกี่ยวกับสัตว์, หรือเด็กๆ, ข่าวกีฬา, และในท้ายที่สุดปิดลงด้วยมิตรภาพ โดยทีมงานผู้อ่านข่าวที่คุ้นเคยชุดหนึ่ง - อันนี้เป็นอันหนึ่งซึ่งในตอนจบได้น้อมนำเราไปสู่ความมั่นใจอีกครั้ง, การปิดฉากลง, และการยอมรับ, ซึ่งเป็นภาวการณ์อันหนึ่งที่ไม่เรียกร้องให้เราต้องทำอะไร

Peter Watkins ได้ให้ความสนใจโครงสร้างทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการนำเสนอข่าว, สิ่งที่เขาเรียกว่า"เอกลักษณ์ของมัน" (its monoform - รูปแบบตายตัวอันหนึ่ง) ได้รับการถือปฏิบัติกับเรื่องราวต่างๆทั้งหมดในหนทางแบบเดียวกันดังนี้:

"วิธีการเล่าเรื่องแบบเดียวกันนี้ถูกนำมาใช้ คืนต่อคืน, ปีต่อปี, ไม่มีการเรียกร้องทางอารมณ์ใดๆเกี่ยวกับแนวเรื่องหรือหัวข้อที่ถูกนำเสนออัน นั้น. การซ้ำ, การใช้เวลาเพียงสั้นๆในทำนองเดียวกันกับการที่มันรวบรวมภาพและเสียง ได้ทำให้ความแตกต่างระหว่างแนวเรื่องกับหัวข้อที่ต่างกัน, และระหว่างสิ่งที่เป็นคนละเรื่อง, ซึ่งจะต้องขานรับหรือโต้ตอบกับพวกมันทางอารมณ์ต่างออกไป มีความคลุมเครือ

มันไม่ยินยอมให้สำหรับความต่างของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินตกที่น่าขนพองสยองเกล้า หรือชายคนหนึ่งซึ่งได้ทาสีช้างเลี้ยงของเขาให้เป็นสีชมพู. เรื่องราวทั้งสองได้ถูกนำเสนอโดยโครงสร้างการดำเนินเรื่องและกฎเกณฑ์ที่ตาย ตัว… ลักษณะแบบแผนการเล่าเรื่องที่ซ้ำๆซากๆนี้ เชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงที่ว่า มันถูกทำให้ปิดสนิท(ไม่มีพื้นที่ว่างใดๆสำหรับผู้รับสารจะสะท้อนหรือแทรกแซง เข้ามาได้) และนั่นโดยปกติแล้ว ประกอบด้วยความหนาแน่นอันหนึ่ง, การระดมนำเสนอภาพที่รุกเร้ารุนแรงติดๆกัน, เสียงและแนวเรื่องที่ขัดแย้ง, ที่ส่งผลในเชิงทำลายล้างต่อสังคม" (Watkins 1997, p.6)

Watkins มองความเหมือนกันอันนี้ในวิธีการเกี่ยวกับการนำเสนอ ในฐานะที่ขยายออกไปพ้นจากการรายงานข่าว สู่พื้นที่สื่อทางด้านโสตทัศนูปกรณ์ทั้งหมด

Bill Nichols มองถึงรูปแบบและโครงสร้างการรายงานข่าว, เขาเสนอว่า ความคิดเห็นที่ได้สร้างขึ้นมาสำหรับผู้รับสาร เป็นตำแหน่งหนึ่งของ "ผู้ดู หรือผู้สังเกตการณ์". ตำแหน่งอันนี้หมายความว่า เราได้ถูกถอดถอนออกไปจากการรายงานข่าว. ผลที่ตามมา: "ข่าวที่รายงานกระตุ้นให้เราให้ดู แต่ไม่ต้องกังวล(look but not care), มองดูแต่ไม่ต้องทำอะไร(see but not act), รู้แต่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงใดๆ(know but not change). ข่าวที่มีอยู่นั้น มันปรับเราไปสู่การกระทำน้อยกว่าการทำให้ตัวมันเองเป็นสินค้าไปตลอดกาล บางสิ่งบางอย่างที่ถูกทำให้มีมนต์สะกดและบริโภค. (Nichols 1991,p.194)

การวิเคราะห์คำพูดทางทีวีเป็นการเปิดเผยอย่างแท้จริง ท่ามกลางสุ้มเสียงต่างๆมากมายและคำพูดต่างๆที่นำเสนอ มันมีสุ้มเสียงบางอันที่ได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าใคร. พวกมันถูกให้สิทธิพิเศษหรือมีอิทธิพลครอบงำ เพราะพวกเขาพูดมันออกมาโดยตรง: พวกเขาพูดกับเราตรงๆ, กล่าวอรุณสวัสดิ์, หรือราตรีสวัสดิ์ และปรารถนาให้เรามีความสุขและปลอดภัยในช่วงวันหยุดตอนคืนวันศุกร์

สุ้มเสียงเหล่านี้เป็นที่คุ้นเคยและสัมพันธ์กับเรามากกว่าเสียงอื่นๆ. พวกมันคือสุ้มเสียงของคนทำงานโทรทัศน์มืออาชีพ: ผู้อ่านข่าว, คนพยากรณ์อากาศ, คนทำรายการสนทนา และนักจัดรายการตอบคำถามชิงรางวัล, ผู้บรรยายรายการกีฬา, และอื่นๆ. บุคคลเหล่านี้คือคนทำสื่อ, คนเฝ้าประตูของเราที่จะคอยทำหน้าที่เปิดปิดให้เราเข้าสู่โลก: ทุกสิ่งทุกอย่างและทุกๆคนจะต้องผ่านช่องทางที่ผู้เฝ้าประตูเหล่านี้เป็นผู้ เปิด โดยคำพูดที่ได้รับสิทธิพิเศษของพวกเขา

พวกเขาได้รับการยินยอมให้มองไปที่กล้อง และเนื่องจากเหตุนี้ พวกเขาจึงมาอยู่ตรงหน้าเรา; บุคคลเหล่านี้คือคนทำสื่อ สำหรับคนอื่นๆซึ่งพวกเขานำเสนอ, กรอบให้, ตั้งคำถาม, และเป็นคนกล่าวคำอำลา; และคนเหล่านี้ได้ให้ข้อสังเกต ออกความคิดเห็นกับสิ่งที่เราเพิ่งได้ดูและได้ฟัง

สุ้มเสียงของคนที่เราไม่เห็นหน้า ซึ่งทำหน้าที่ประกาศรายการหรือโปรแกรมต่างๆที่จะตามมา ก็เป็นเสียงที่ได้รับสิทธิพเศษด้วยเช่นกัน. คล้ายกับเสียงของพระผู้เป็นเจ้า, เสียงของพวกเขาที่ดังออกมาไม่รู้ว่ามาจากที่ใด พูดด้วยความทรงอำนาจและความแน่นอน

แต่อย่างไรก็ตาม นับจากเริ่มต้นมาของมัน โทรทัศน์ยินยอมให้มีการเข้าถึงสุ้มเสียงต่างๆของคนธรรมดามากขึ้น. รายการถามตอบทางโทรทัศน์และรายการโทรกลับ(talkback)ได้ทางวิทยุคือตัวอย่าง ต่างๆที่สำคัญอันนี้. แต่คำพูดของคนธรรมดาของผู้ที่มีส่วนร่วมจะถูกกลั่นกรองและควบคุม

บรรดาผู้มีส่วนร่วมในรายการถามตอบจะถูกชี้แนะโดยผ่านจังหวะฝีก้าวของพวกเขา โดยคำพูดในเชิงควบคุมของเจ้าของรายการทั้งหมด. รายการวิทยุที่ให้มีการโทรกลับได้ทุกๆรายการจะถูกตรวจตราโดยผู้นำเสนอ สุ้มเสียงของเขาบังเอิญชัดกว่า เพราะพวกเขาไม่ได้พูดผ่านโทรศัพท์ และบังเอิญเป็นคนที่มีอำนาจที่จะตัดเสียงที่โทรเข้ามาได้เท่าที่พวกเขาต้อง การ คำพูดของคนธรรมดาจึงกลายเป็นเสียงที่สอง หรือ, เช่นในรายการ Funniest Home Videos, พวกเขากลายเป็นต้นตออันหนึ่งของความตลกขบขันและให้ความบันเทิง

อย่างไรก็ตาม มันมีที่ว่างสำหรับการเปลี่ยนแปลง. พัฒนาการที่น่าสนใจมากที่สุดซึ่งสัมพันธ์กับคำพูดของคนธรรมดาเป็นเรื่องที่ เป็นไปได้ อย่างเช่นรายการ Video Diaries(BBC), First Person(SBS), และรายการ Home Truths(ABC), ที่ซึ่งกล้องบันทึกภาพต่างๆถูกให้ไว้กับคนธรรมดาสามัญ เพื่อบันทึกและเล่าเรื่องราวของพวกเขาเองออกมา

ในเรื่องกล้าเสี่ยงเช่นนี้ สุ้มเสียงของคนธรรมดาสามารถปรากฏออกมาได้ และคนที่มีส่วนร่วมทั้งหลายถูกปล่อยให้พูดเพื่อตัวของพวกเขาเอง ค่อนข้างจะไม่ถูกกลั่นกรองโดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางโทรทัศน์ (Dovey 1995, pp.26-9; O' Shauhnessy 1997, pp. 84-99)

เมื่อเร็วๆนี้ รายการ "reality" show (การแสดงจากเรื่องจริง) ซึ่งเสนอภาพจริง อย่างเช่น Big Brother, Survivor, Temptation Island, และ Popstars ได้ให้พื้นที่ใหม่อันหนึ่งแก่คนธรรมดาสามัญที่จะปรากฏกายทางทีวี แน่นอน มันน่าสนใจวิธีการที่รายการเหล่านี้ได้โฟกัสลงไปที่แง่มุมต่างๆเกี่ยวกับการ แข่งขันและการคัดออก, ซึ่งอาจได้รับการมองในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งที่สะท้อนถึงแง่มุมต่างๆของ สังคมทุนนิยม; มันยังดูเหมือนว่าได้สาธิตให้เห็นความหลงใหลกับ"เรื่องส่วนตัว"ซึ่งสามารถ ถูกเปิดเผยได้

แต่อย่างไรก็ตาม มันควรได้รับการหมายเหตุลงไปด้ายว่า บุคคลธรรมดาเหล่านี้ ตัวของพวกเขาเอง บ่อยครั้งกำลังค้นหาการเปิดโอกาสของสื่อ และพวกเขาถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมากโดยคำแนะนำของ"พี่ใหญ่"(big brother)ทางทีวี ซึ่งทำหน้าที่ตัดต่อและเรียบเรียงรายการโชว์ต่างๆเหล่านั้น

1. ลองโทรไปยังรายการวิทยุที่โทรกลับได้ และบันทึกถึงผลลัพธ์อันนั้น. ประสบการณ์นี้คุณรู้สึกกับมันอย่างไร?
2. ถ้าเป็นไปได้ ลองจัดให้ตัวเราเองไปเยี่ยมเยือนสตูดิโอที่มีการบันทึกรายการสดทาง ทีวี(television) จดลงไปเกี่ยวกับขั้นตอนโครงสร้างและการเตรียมการ ซึ่งมีการนำเสนอรายการสดดังกล่าว เท่าที่ปรากฏให้เห็น

สรุป
ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างการเล่าเรื่องนี้ เราได้อธิบายถึงการเล่าเรื่องในฐานะที่เป็นแบบแผนอันหนึ่งของการสังเคราะห์ ความขัดแย้ง ซึ่งได้วางโครงสร้างรอบๆการแก้ปัญหาคู่ตรงข้ามต่างๆ และเราได้แสดงให้เห็นว่า แบบแผนอันนี้มันมีผลต่อความหมายต่างๆอย่างไร

การทำความเข้าใจโครงสร้างทั้งหลายเหล่านี้เป็นอีกหนทางหนึ่งของการมองดูว่า ข้อมูลต่างๆมันทำงานอย่างไร และการค้นหาความหมายที่เป็นไปได้อันหลายหลากของพวกมัน

การสำรวจอย่างใกล้ชิดถึงตอนจบในแบบต่างๆ (ที่ซึ่งตัวละครทั้งหลายได้ถูกวางตำแหน่ง ณ ตอนท้ายของเรื่อง) และเกี่ยวกับสิ่งซึ่งโครงสร้างการเล่าเรื่องกระทำกับผู้คน สามารถเผยให้เห็นถึงความหมายต่างๆในเชิงอุดมคติ และค่านิยมของสังคมเกี่ยวกับข้อมูลอันนั้นได้

midnightuniv.org

Jul 12, 2010

"นักวิชาการ" ระดมสมอง พลิกวิกฤตประเทศด้วยทุนมนุษย์




ประชาชาติธุรกิจ

ก่อนที่การประชุมนานาชาติ International Conference on Mega-Trend in Human Capital and Labour Productivity toward Global Integration จะมีขึ้นใน วันที่ 15-16 กรกฎาคม ณ องค์การสหประชาชาติ

ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาทางวิชาการเพื่อปูทางไปสู่งานสัมมนาใหญ่

ในหัว ข้อที่ชื่อ "พลิกวิกฤตประเทศระยะยาวด้วยทุนมนุษย์" ที่ไม่เพียงจะมี นคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, ดร.ชุมพล พรประภา กรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด

"สมพงษ์ นครศรี" รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ "ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์" ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวที หากยังมี "ปราโมทย์ วานิชานนท์" กรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ มาเป็นผู้ดำเนินการเสวนาด้วย

ซึ่งเบื้องต้น "ปราโมทย์" ได้ฉายภาพของประเทศไทยในเรื่องของศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจบนเวทีโลก โดยบอกว่า ตั้งแต่ปี 2538 เมื่อมองจากมุมการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันนานาชาติเพื่อ การจัดการ (IMD) สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาของไทยยังคงอยู่ในเส้นทางของการขาดเสถียรภาพ

"ขณะที่ภายใต้ สถานการณ์ดังกล่าว ศักยภาพทางการแข่งขันของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีพลวัตทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และสภาพการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่ได้รับการยืนยันจากที่ประชุมเศรษฐกิจโลก (WEF) ด้วย"

"ดัง นั้นเมื่อพิจารณาในองค์ประกอบที่เกื้อหนุนต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของ ไทย พบว่าผลิตภาพโดยรวมโดยเฉพาะผลิตภาพแรงงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและมีความ อ่อนแอค่อนข้างมาก ส่งผลกระทบต่อศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต่างประเทศมองภาพรวมศักยภาพการแข่งขันของไทยยัง อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ผลิตภาพแรงงานของไทยส่วนใหญ่นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา อยู่ในระดับน่าเป็นห่วง"

ผลเช่นนี้เอง "นคร" จึงมองเสริมว่า ขีดความสามารถทางด้านทุนมนุษย์ของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง และจะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สำคัญเราจะต้องทำแบบบูรณาการ

"และจะต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพราะส่วนนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาสังคม (social development) ด้วย ที่สำคัญอีกอย่าง ผมมองว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยภาครัฐ จะต้องเร่งสร้าง human resource development เพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต"

ถึงตรงนี้ "ดร.ชุมพล" จึงมองเสริมว่า เรื่องของ productivity เป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่จะต้องทำอย่างไรให้มีรายได้สูงที่สุด แต่คนใช้น้อยที่สุด

"ขณะที่ภาคการเกษตรก็มีส่วนสำคัญ เพราะประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม จะทำอย่างไรถึงจะให้สินค้าเกษตรของเราราคาไม่ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ และอีกเรื่องที่ผมมองและเชื่อว่าเรามีความเป็นนักบริการอยู่ในตัว คือ industry service ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมการให้บริการทางการแพทย์"

"ผมมองว่าหน่วยงานภาครัฐถึง เวลาที่จะเข้ามาช่วยเหลือพลเมืองของประเทศบ้าง เพราะการแข่งขันขณะนี้เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องการศึกษามีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยผลักดัน เพราะปัจจุบันการศึกษาของไทยค่อนข้างจะ ฟันหลอ คือเด็กนักเรียนพอเรียนไป ระดับหนึ่งจะหายไปจากระบบการศึกษา คือไปทำไร่ ไถนา หรือทำสวน"

"โดยภาครัฐไม่เคยเก็บข้อมูลเด็กเหล่านี้เลย ผมจึงมองว่าการศึกษาน่าจะเป็นตัวเพิ่มผลผลิตให้คนเหล่านี้เข้ามาสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงนิสิต-นักศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วย ก็จะต้องช่วยให้เขาเหล่านั้นไม่ว่างงานและเข้าสู่ตลาดงานมากขึ้น"

ขณะ ที่มุมมองของ "ดร.บุญมาก" มองเสริมว่า เราจำเป็นต้องคิดแตกต่าง เพราะปัญหาในระบบและนอกระบบเกิดขึ้นทั่วโลก อย่างที่ประเทศอินเดียที่ประสบปัญหาการจ้างงาน เนื่องมาจากเรื่องการศึกษาเป็นหลัก

"หรืออย่างเรื่องขีดความสามารถใน การแข่งขัน ตอนนี้สิงคโปร์มาเป็นอันดับ 1 ฮ่องกงเป็นอันดับ 2 และสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับ 26 ซึ่งถือว่าตกต่ำมาก"

"ขณะที่ขีดความสามารถทางด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประเทศไทย ก็อยู่ในอันดับ 49 จากทั้งหมด 58 ประเทศ ผมถึงมองว่าถ้า AEC (ASEAN Economic Community) ที่มีเป้าหมาย ในการรวมตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน ทั้งในเรื่องการค้า การบริการ การลงทุน และรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีเราจะเสียเปรียบ"

"ถ้า เรายังอยู่กับที่ ยังไม่รีบเร่งในการเพิ่ม productivity ของตัวเอง ขณะที่เรื่องของภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะภาษาจะเป็นสื่อกลางที่จะทำให้ทุนมนุษย์ของไทยมีโอกาสทำงานในประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน เทคโนโลยีด้วย เพราะส่วนนี้จะเข้ามาช่วยในเรื่องกระบวนการเรียนรู้"

สำหรับมุมมอง ของ "สมพงษ์" มองเรื่องแรงงานในระบบเป็นสำคัญ คือจะทำอย่างไรถึงจะเพิ่มแรงงานในระบบให้มีความรู้ความสามารถกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

"ทั้งในเรื่องของการฝึกอบรม พัฒนาทักษะวิชาชีพ เพราะเท่าที่เห็นส่วนใหญ่เมื่อแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้วก็จะทำไปอย่างไม่ มีการฝึกอบรมเพิ่มเติมเลย ดังนั้นถ้าจะแก้ต้องมาแก้ที่ตัวนายจ้างให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่"

"ขณะ ที่ญี่ปุ่น เขาจะมีคอร์สในการ ฝึกอบรม พัฒนาทักษะค่อนข้างมาก ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่คนของประเทศเขาจึงมี productivity ค่อนข้างสูง ผมจึงมองว่าเราต้องแก้ตั้งแต่วันนี้ และพัฒนาให้มีคุณวุฒิทางวิชาชีพด้วย ถึงจะทำให้แรงงานเราสู้ตลาดอาเซียนได้"

ขณะที่มุมมองของ "ดร.พานิช" มองว่า ถ้าอาเซียนเปิดในปี 2015 อาชีพหมอ พยาบาล หรือวิศวะ จะหลั่งไหลไปที่สิงคโปร์ค่อนข้างมาก ฉะนั้นถ้าเราไม่ทำอะไร ก็เชื่อได้ว่าภายใน 5-10 ปี เราอาจต้องกลายสภาพเป็นลูกจ้าง เพราะซีอีโอจะเป็นสิงคโปร์เกือบทั้งนั้น

"เพราะคนของเขาศักยภาพค่อน ข้างสูง ทั้งในเรื่องการศึกษา การพัฒนาทักษะ การฝึกอบรม รวมถึงภาษาและเทคโนโลยี เขามีความพร้อมมากกว่าเรา ดังนั้นเราจึงต้องเร่งสร้าง productivity โดยด่วน ถ้าเราอยากเห็นประเทศของเราเจริญเติบโตในวันข้างหน้า"

ซึ่งเป็นการ ทิ้งคำพูดเชิงคำถามอย่าง น่าคิด เพราะอย่างที่ทราบ "ทุนมนุษย์" เป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่จะหาเครื่องมือหรือกระบวนการในการจัดการอย่างไรถึงจะทำให้ "ทุนมนุษย์" ของเรากลายเป็น "ทุนมนุษย์" ที่หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนมีความต้องการ

เหมือนอย่างประเทศสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย

ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดทั้งสิ้น ?