Jul 12, 2010
"นักวิชาการ" ระดมสมอง พลิกวิกฤตประเทศด้วยทุนมนุษย์
ประชาชาติธุรกิจ
ก่อนที่การประชุมนานาชาติ International Conference on Mega-Trend in Human Capital and Labour Productivity toward Global Integration จะมีขึ้นใน วันที่ 15-16 กรกฎาคม ณ องค์การสหประชาชาติ
ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาทางวิชาการเพื่อปูทางไปสู่งานสัมมนาใหญ่
ในหัว ข้อที่ชื่อ "พลิกวิกฤตประเทศระยะยาวด้วยทุนมนุษย์" ที่ไม่เพียงจะมี นคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, ดร.ชุมพล พรประภา กรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด
"สมพงษ์ นครศรี" รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ "ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์" ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวที หากยังมี "ปราโมทย์ วานิชานนท์" กรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ มาเป็นผู้ดำเนินการเสวนาด้วย
ซึ่งเบื้องต้น "ปราโมทย์" ได้ฉายภาพของประเทศไทยในเรื่องของศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจบนเวทีโลก โดยบอกว่า ตั้งแต่ปี 2538 เมื่อมองจากมุมการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันนานาชาติเพื่อ การจัดการ (IMD) สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาของไทยยังคงอยู่ในเส้นทางของการขาดเสถียรภาพ
"ขณะที่ภายใต้ สถานการณ์ดังกล่าว ศักยภาพทางการแข่งขันของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีพลวัตทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และสภาพการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่ได้รับการยืนยันจากที่ประชุมเศรษฐกิจโลก (WEF) ด้วย"
"ดัง นั้นเมื่อพิจารณาในองค์ประกอบที่เกื้อหนุนต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของ ไทย พบว่าผลิตภาพโดยรวมโดยเฉพาะผลิตภาพแรงงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและมีความ อ่อนแอค่อนข้างมาก ส่งผลกระทบต่อศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต่างประเทศมองภาพรวมศักยภาพการแข่งขันของไทยยัง อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ผลิตภาพแรงงานของไทยส่วนใหญ่นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา อยู่ในระดับน่าเป็นห่วง"
ผลเช่นนี้เอง "นคร" จึงมองเสริมว่า ขีดความสามารถทางด้านทุนมนุษย์ของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง และจะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สำคัญเราจะต้องทำแบบบูรณาการ
"และจะต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพราะส่วนนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาสังคม (social development) ด้วย ที่สำคัญอีกอย่าง ผมมองว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยภาครัฐ จะต้องเร่งสร้าง human resource development เพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต"
ถึงตรงนี้ "ดร.ชุมพล" จึงมองเสริมว่า เรื่องของ productivity เป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่จะต้องทำอย่างไรให้มีรายได้สูงที่สุด แต่คนใช้น้อยที่สุด
"ขณะที่ภาคการเกษตรก็มีส่วนสำคัญ เพราะประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม จะทำอย่างไรถึงจะให้สินค้าเกษตรของเราราคาไม่ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ และอีกเรื่องที่ผมมองและเชื่อว่าเรามีความเป็นนักบริการอยู่ในตัว คือ industry service ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมการให้บริการทางการแพทย์"
"ผมมองว่าหน่วยงานภาครัฐถึง เวลาที่จะเข้ามาช่วยเหลือพลเมืองของประเทศบ้าง เพราะการแข่งขันขณะนี้เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องการศึกษามีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยผลักดัน เพราะปัจจุบันการศึกษาของไทยค่อนข้างจะ ฟันหลอ คือเด็กนักเรียนพอเรียนไป ระดับหนึ่งจะหายไปจากระบบการศึกษา คือไปทำไร่ ไถนา หรือทำสวน"
"โดยภาครัฐไม่เคยเก็บข้อมูลเด็กเหล่านี้เลย ผมจึงมองว่าการศึกษาน่าจะเป็นตัวเพิ่มผลผลิตให้คนเหล่านี้เข้ามาสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงนิสิต-นักศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วย ก็จะต้องช่วยให้เขาเหล่านั้นไม่ว่างงานและเข้าสู่ตลาดงานมากขึ้น"
ขณะ ที่มุมมองของ "ดร.บุญมาก" มองเสริมว่า เราจำเป็นต้องคิดแตกต่าง เพราะปัญหาในระบบและนอกระบบเกิดขึ้นทั่วโลก อย่างที่ประเทศอินเดียที่ประสบปัญหาการจ้างงาน เนื่องมาจากเรื่องการศึกษาเป็นหลัก
"หรืออย่างเรื่องขีดความสามารถใน การแข่งขัน ตอนนี้สิงคโปร์มาเป็นอันดับ 1 ฮ่องกงเป็นอันดับ 2 และสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับ 26 ซึ่งถือว่าตกต่ำมาก"
"ขณะที่ขีดความสามารถทางด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประเทศไทย ก็อยู่ในอันดับ 49 จากทั้งหมด 58 ประเทศ ผมถึงมองว่าถ้า AEC (ASEAN Economic Community) ที่มีเป้าหมาย ในการรวมตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน ทั้งในเรื่องการค้า การบริการ การลงทุน และรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีเราจะเสียเปรียบ"
"ถ้า เรายังอยู่กับที่ ยังไม่รีบเร่งในการเพิ่ม productivity ของตัวเอง ขณะที่เรื่องของภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะภาษาจะเป็นสื่อกลางที่จะทำให้ทุนมนุษย์ของไทยมีโอกาสทำงานในประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน เทคโนโลยีด้วย เพราะส่วนนี้จะเข้ามาช่วยในเรื่องกระบวนการเรียนรู้"
สำหรับมุมมอง ของ "สมพงษ์" มองเรื่องแรงงานในระบบเป็นสำคัญ คือจะทำอย่างไรถึงจะเพิ่มแรงงานในระบบให้มีความรู้ความสามารถกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
"ทั้งในเรื่องของการฝึกอบรม พัฒนาทักษะวิชาชีพ เพราะเท่าที่เห็นส่วนใหญ่เมื่อแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้วก็จะทำไปอย่างไม่ มีการฝึกอบรมเพิ่มเติมเลย ดังนั้นถ้าจะแก้ต้องมาแก้ที่ตัวนายจ้างให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่"
"ขณะ ที่ญี่ปุ่น เขาจะมีคอร์สในการ ฝึกอบรม พัฒนาทักษะค่อนข้างมาก ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่คนของประเทศเขาจึงมี productivity ค่อนข้างสูง ผมจึงมองว่าเราต้องแก้ตั้งแต่วันนี้ และพัฒนาให้มีคุณวุฒิทางวิชาชีพด้วย ถึงจะทำให้แรงงานเราสู้ตลาดอาเซียนได้"
ขณะที่มุมมองของ "ดร.พานิช" มองว่า ถ้าอาเซียนเปิดในปี 2015 อาชีพหมอ พยาบาล หรือวิศวะ จะหลั่งไหลไปที่สิงคโปร์ค่อนข้างมาก ฉะนั้นถ้าเราไม่ทำอะไร ก็เชื่อได้ว่าภายใน 5-10 ปี เราอาจต้องกลายสภาพเป็นลูกจ้าง เพราะซีอีโอจะเป็นสิงคโปร์เกือบทั้งนั้น
"เพราะคนของเขาศักยภาพค่อน ข้างสูง ทั้งในเรื่องการศึกษา การพัฒนาทักษะ การฝึกอบรม รวมถึงภาษาและเทคโนโลยี เขามีความพร้อมมากกว่าเรา ดังนั้นเราจึงต้องเร่งสร้าง productivity โดยด่วน ถ้าเราอยากเห็นประเทศของเราเจริญเติบโตในวันข้างหน้า"
ซึ่งเป็นการ ทิ้งคำพูดเชิงคำถามอย่าง น่าคิด เพราะอย่างที่ทราบ "ทุนมนุษย์" เป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่จะหาเครื่องมือหรือกระบวนการในการจัดการอย่างไรถึงจะทำให้ "ทุนมนุษย์" ของเรากลายเป็น "ทุนมนุษย์" ที่หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนมีความต้องการ
เหมือนอย่างประเทศสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย
ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดทั้งสิ้น ?
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment