Sep 25, 2010

สาระสำคัญที่ขาดหายไปในการแปลความหมายข้อมูล




สาระสำคัญที่ขาดหายไปในการแปลความหมายข้อมูล มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์และการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อความต้องการของ ลูกค้า และลูกค้าของบริษัท แซสได้อธิบายถึงวิธีการทำลายอุปสรรคระหว่างชุมชนการวิเคราะห์และองค์กร ธุรกิจไว้ในบทความนี้

ในปัจจุบัน เราสามารถค้นหาข้อมูลในการทำความเข้าใจในแต่ละเรื่องได้ง่ายและจากหลายวิธี ด้วยกัน แต่ข้อมูลด้านความจริงในการทำธุรกิจแต่ละประเภท ยังคงเป็นเรื่องที่ยากในการทำความเข้าใจ ซึ่งการค้นหาความหมายในข้อมูลนั้น จำเป็นต้องอาศัยการกลั่นกรอง เพื่อแยกแยะจากข้อมูลจำนวนมาก ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ทางธุรกิจ นั่นหมายความว่าการกลั่นกรองข้อมูลดิบให้เป็น“เรื่องราว” เกี่ยวกับลูกค้าของเรา การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวทางธุรกิจของเรา และความท้าทายทางธุรกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นล้วนเป็นแง่มุมที่สำคัญใน การขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า

ในการแยกแยะข้อมูลดังกล่าว องค์กรธุรกิจพบการขยายตัวภายใน“ชุมชนการวิเคราะห์”(Analytics Community) ซึ่งเป็นกลุ่มของนักสถิติข้อมูลที่รวมตัวกัน มีหน้าที่ดูแลคลังข้อมูลและฐานข้อมูลการตลาด ได้พบความจริง ที่ว่าคุณค่าของข้อมูลยังไม่ได้รับการรับรู้อย่างสมบูรณ์หรือยังไม่มีการนำ ไปใช้ประโยชน์

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทที่มีข้อมูลอย่างมหาศาล พบว่าทีมวิเคราะห์ของตน ซึ่งได้แก่ นักสถิติ นักการตลาดฐานข้อมูล นักสร้างแบบจำลองทางธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ นักวิจัยตลาด และนักวิเคราะห์ในทุกสายงาน กำลังทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการภายใน คือ เป็นบุคคลที่นั่งอยู่ระหว่างแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลขององค์กร(ฐานข้อมูล การศึกษาวิจัยด้านการตลาด การวิเคราะห์แคมเปญการตลาด ผลการสร้างแบบจำลองข้อมูลเชิงพยากรณ์...ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างไม่มีวันสิ้น สุด) กับผลลัพธ์ทางธุรกิจ บุคคลเหล่านี้ ทำงานอย่างหนักในการสร้างเหมืองข้อมูล เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาเฉพาะทางธุรกิจ

นักวิเคราะห์ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่นั่งอยู่ภายในไซโลความเชี่ยวชาญ และสร้างการวิเคราะห์ออกมาเท่านั้น โดยชุมชนการวิเคราะห์ไม่สามารถวัดความสำเร็จของตนได้ จากความเร็วในการส่งมอบรายงาน หรือความพึงพอใจของบุคคล ที่ร้องขอรายงานดังกล่าว แต่การทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ชุมชนการวิเคราะห์จะต้องพัฒนาตัว เองจากการเป็นผู้ให้บริการ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นบุคคลที่สามารถผลักดันธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จได้ โดยนักวิเคราะห์มีสิทธิ์และหน้าที่ ที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าองค์กรของตนสามารถใช้อำนาจของคลังข้อมูลองค์กรของตน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้อย่างเต็มที่

ระดับชั้นการแปลความหมาย

สำหรับ องค์กรขนาดใหญ่ที่มีสายงานธุรกิจจำนวนมาก และมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดอย่างลึกซึ้ง ความสามารถในการเข้าใจข้อมูลจึงกลายเป็นเรื่องของตัวธุรกิจเอง สิ่งที่จำเป็นในขณะนี้ คือ“ระดับชั้นการแปลความหมาย”สำหรับองค์กรธุรกิจเพื่อให้สามารถทำการตัดสิน ใจได้ตามข้อเท็จจริง

ตามหลักการของชุมชนการวิเคราะห์ ถูกกำหนดไว้ให้กลายเป็น ระดับชั้นของการแปลความหมาย โดยชุมชนนี้ มีทักษะและความสามารถในการมองเห็นภาพรวมได้ทั้งหมด สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ทั้งยังสามารถให้ความชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นด้านกลยุทธ์ได้ โดยสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อการวิเคราะห์ได้พัฒนาเข้าสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเมื่อองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการวิเคราะห์ได้ ซึ่งบุคคลอื่นจะมองเห็นได้เฉพาะบางส่วนของปัญหาเท่านั้น

จากผู้ให้บริการกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนธุรกิจ

เนื่อง จากข้อมูลได้กลายเป็นศูนย์กลางขององค์กรมากขึ้น และเป็นตัวช่วยหลักของธุรกิจ ชุมชนการวิเคราะห์ จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาจากผู้ให้บริการเป็นผู้ขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งการค้นหาคำตอบให้กับเฉพาะปัญหาขนาดเล็กทางธุรกิจอาจไม่เพียงพออีกต่อไป แล้ว นักวิเคราะห์จะต้องทำงานให้มีลักษณะเป็น“ระดับชั้นของการแปลความหมาย” ที่จำเป็นและมีคุณค่าต่อการสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์กรและ แอพพลิเคชันที่ช่วยสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจได้ ต่อไปนี้คือวิธีการบางอย่างที่จะทำให้สิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง

ความรู้ทางธุรกิจที่ดีขึ้น

ชุมชน การวิเคราะห์จะต้องก้าวออกนอกไซโลความเชี่ยวชาญของตน เพื่อไปสู่ความเข้าใจในภาพรวมธุรกิจที่ดีขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องออกไปสัมผัสกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและรับรู้ถึงลำดับความสำคัญ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและทางการเงิน รวมถึงบริบทของตลาดที่ครอบคลุม สิ่งนี้หมายถึงการลงทุนด้านเวลา เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีที่ธุรกิจจะทำกำไร เพื่อสร้างฐานที่มั่นที่ดีในการสนับสนุนการขยายตัวทางธุรกิจและผลักดัน ธุรกิจไปข้างหน้า การลงทุนในด้านเวลา เพื่ออบรมและพัฒนาฐานความรู้นี้จะเปลี่ยนชนิดของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ จะถูกสร้างขึ้นและเพิ่มมูลค่าที่ชุมชนการวิเคราะห์จะสามารถนำไปสร้าง ประโยชน์ได้

ผลตอบแทนที่ดีขึ้นเมื่อมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้

ทีม การวิเคราะห์ต้องจัดวางคำขอตามลำดับความสำคัญทางกลยุทธ์ขององค์กร พวกเขาจำเป็นต้องพิจารณาทั้งวิธีที่ธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากเวลาที่จะใช้ และต้นทุนทางโอกาสของเวลาที่ ไม่ได้ใช้ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น การดำเนินการกับทรัพยากรการวิเคราะห์ อย่างการใช้งบประมาณด้านการตลาด จะช่วยให้แน่ใจได้ว่าเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาด

การอธิบายผลลัพธ์อย่างชัดเจน

นัก วิเคราะห์ต้องสามารถเชื่อมต่อกับทีมได้ทั้งหมด เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงปัญหาและโอกาสที่มีอยู่ภายในบริบทของภาพที่สมบูรณ์ อย่างครอบคลุม พวกเขาต้องสามารถประสานงานกับผู้ร่วมทีมในการวิเคราะห์(การสร้างแบบจำลอง การตลาดฐานข้อมูล การวิจัย และการเงิน) เพื่อเชื่อมต่อส่วนที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ความเข้าใจอย่างถ่องแท้จะต้องได้รับการเปิดผย และแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและดำเนินการ ทั้งนี้จำเป็นต้องใช้เวลาในการผลักดันให้นักวิเคราะห์กลายเป็นผู้ติดต่อสื่อ สารที่ดีขึ้น(ทั้งด้านการเขียนและการบอกเล่า) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงข้อมูลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง

ก้าวไปข้างหน้า

ทีม วิเคราะห์ทางธุรกิจชื่นชอบในการเจาะลึกข้อมูล เพื่อค้นหารูปแบบทางสถิติที่จะช่วยในการระบุปัญหาได้ ขณะที่ผู้บริหารต้องการทางออก โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่มีต่อปัญหาทางธุรกิจของพวกเขา ให้ปฎิบัติตามข้อแนะนำในบทความนี้ เพื่อจับคู่คนทั้งสองกลุ่มนี้เข้าด้วยกันซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ กับองค์กรของคุณได้

ประวัติของผู้เขียน: นางโลริ บีดา เป็นรองประธานฝ่ายการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อความต้องการของลูกค้าและ การตลาดฐานข้อมูล ธนาคารCIBC ในแคนาดา โดยเธอเป็นหัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ที่มีทีมงานทั้งสิ้น80 คน

วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:58:09 น. มติชนออนไลน์

Sep 3, 2010

'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร

สรุปข่าว : 'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร
Ref: www.mba2010.wikidot.com

ปัจจุบันสื่อสังคม (Social media) เช่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมในยุคปัจจุบัน โดยที่ social media ถูกใช้สำหรับการบริโภคข่าวสารของคนยุคใหม่ เพราะการนำเสนอข่าวสารรวดเร็วกว่าสื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ที่เราใช้ในการบริโภคข่าวในอดีตค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตามสื่อสังคมยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากโซเชียลมีเดียเป็นสื่อที่ใครๆ ก็นำเสนอข่าวได้หรือที่เรียกว่าผู้สื่อข่าวประชาชน ปัญหาของสื่อสังคมคือการที่ใครๆ สามารถนำเสนอข่าวทำให้มีทั้งข่าวเท็จ และข่าวที่เกินจริง โดยจากผลการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพของธุรกิจบัณฑิตย์โพลพบว่า ร้อยละ 42 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความแตกแยกในสังคมให้มากขึ้น และร้อยละ 30 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความสมานฉันท์ รวมถึงประเด็นในเรื่องความถูกต้อง จากผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 56 ไม่แนใจว่าข่าวจากสื่อสังคมเป็นข่าวลวงหรือจริงมากกว่ากัน และส่วนใหญ่(ร้อยละ 26) ให้ความเชื่อถือข่าวเพียงครึ่งเดียวจากสื่อสังคม

ด้วยเหตุนี้ ผู้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคม (Social media) จะต้องทำการคัดกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว เพราะสื่อสังคมเป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา โดยเฉพาะในทวิตเตอร์ที่มีคนติดตามข่าวสารกันค่อนข้างเยอะ เช่น ติดตามจากนักข่าว สำนักข่าวต่างๆ หรือผ่านทางผู้ใช้บริการด้วยกันเอง ซึ่งบางทีอาจจะมีการบิดเบือนมุมมองของข่าวบางข่าวไป หรืออาจมีการปล่อยกระแสขึ้นมาแต่ข้อดีของทวิตเตอร์คือการรวมตัวกันของผู้ ติดตามและคนที่ติดตามเหล่านี้จะเป็นตัวกรองข่าวที่ดี หากมีการให้ข่าวที่ไม่เป็นความจริงจะส่งผลให้ความน่าเชื่อถือจะลดลงไปเอง นอกจากนี้สื่อสังคมยังสามารถช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ได้ บางครั้งมีสื่อสังคม ทำให้การนัดพูดคุยแลกเปลี่ยน ตามมาด้วยเกิดการรวมตัวกันจัดกิจกรรมดีๆ เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเซิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์ ในทางกลับกันก็อาจมีกลุ่มคนบางกลุ่มนำกลุ่มบนสื่อสังคม มาใช้ในการปลุกปั่น บิดเบือนข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน

อนาคตสื่อสังคมจะขยายขึ้นอีกแต่คงไม่สามารถแทนที่สื่อกระแสหลัก แต่สื่อสังคมก็เป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคข่าวสารที่สามารถที่จะเลือกรับ ข่าวสารได้ และมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะมีบทบาทในเชิงการตลาดและเชิงการเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยในอนาคตจะมีนักการเมืองใช้สื่อสังคมในการสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ ด้านต่างๆมากขึ้นตามลำดับ


วิเคราะห์เนื้อหาข่าว : 'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร


ปัจจุบันวิธีการใช้อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่าง รวดเร็ว ในอดีตการรับข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตจะถูกกำหนดโดย Web Master ผู้บริโภคทำได้เพียงบริโภคข่าวสารตามที่ Web Master ของเว็บไซต์นั้นๆได้ให้ข้อมูลไว้ หรือที่เรียกว่ายุค “Web 1.0” แต่ในปัจจุบันเทรนด์ของการใช้อินเตอร์เน็ตเปลี่ยนไปสู่ “Web2.0” คือเว็บไซต์ที่ข้อมูลข่าวสารจะถูกปรับเปลี่ยนโดยผู้ใช้บริการเอง จึงเกิดคำว่า “Prosumer” กล่าวคือ ผู้ใช้บริการเป็นผู้สร้างและบริโภคข้อมูลไปในขณะเดียวกัน จึงทำให้เว็บไซต์ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันก็คือ Social Media

Social Media คือ สื่อทางสังคมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสร้างชุมชน สำหรับการสร้างเครือข่ายการแชร์ข้อมูล ความรู้ และความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งคนไทยนิยมใช้สื่อสังคมประเภท Social Network, Video Sharing, Blog, Wiki และ File Sharing เป็นส่วนใหญ่ โดย 10 อันดับ Social Media ยอดนิยมในประเทศไทย ที่ถูกจัดอันดับในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 โดย Alexa มีดังนี้


1.Facebook (Social Network)
2.Youtube (Video Sharing)
3.Hi5 (Social Network)
4.Blogger (Blog)
5.Wikipedia (Wiki)
6.shared (File Sharing)
7.mediafire (File Sharing)
8.exteen (Blog)
9.bloggang (Blog)
10.multiply (Blog & Photo Sharing)


สื่อสังคม (Social Media) จึงเข้ามามีบทบาทต่อนักเล่นอินเตอร์เน็ตไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบ Social Network อย่าง Facebook,Hi5 และ Twitter ที่ตามมาในอันดับที่11 และมีแนวโน้มในการใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากอิทธิพลของ “Network Effect” โดย Social Network มีอิทธิพลต่อการบริโภคข่าวสารในรูปแบบใหม่ คือ การบริโภคข่าวสารจากคนในเครือข่ายด้วยกันเอง สังเกตได้จากเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่าน ทาง Social Network ค่อนข้างมากและติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความทันต่อเวลาแบบ Real Time มากกว่าสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะใน Facebook และ Twitter ซึ่งการบริโภคข่าวสารผ่าน Social Network เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งจะทำการวิเคราะห์ในลำดับถัดไป


วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ Social Media ต่อการบริโภคข่าวสาร

ข้อดี :
• ทำให้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรูปแบบของ Web 2.0 ผู้ใช้บริการคือ “Prosumer” กล่าวคือ ผู้ใช้บริการเป็นผู้สร้างและบริโภคข้อมูลไปในขณะเดียวกัน จึงมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ทราบให้แก่ผู้ร่วมเครือข่ายแบบ Real Time
• สำนักข่าว สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆทั้งของไทยและต่างประเทศก็มีการนำ Social Media มาเป็นช่องทางหนึ่งในการส่งข้อมูลข่าวสารสู่ผู้บริโภค เช่น CNN (http://twitter.com/cnnbrk) , ช่อง7 ( http://twitter.com/BBTVChannel7 ) , จส100 (http://twitter.com/js100radio) ,Positiongmag(http://www.facebook.com/positioningmag) เป็นต้น ซึ่งมาใช้ในการส่งข่าว ให้กับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามผ่าน Social Media ได้ทันที ซึ่งไม่มีข้อจำกัดต่างๆเหมือนช่องทาง วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสารต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ หรือมีข้อจำกัดในด้านเวลา เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว ขึ้น
• เว็บไซต์ Social Media มีการออกแบบ Application ต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเสนอสื่อรูปแบบต่าง ๆ ทั้งข้อความ รูปภาพ วีดีโอ หรือเพลง ซึ่งทำให้รับข่าวสารได้มีความชัดเจนมากขึ้น
• เว็บไซต์ Social Media สามารถนำมาใช้เป็นเคริ่องมือสำหรับบุคคลหรือองค์กร ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ในด้านต่างๆแก่ผู้บริโภค โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เช่น PM_Abhisit , GTH ,We love SF , ร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น นอกจากจะเป็นผลดีต่อบุคคลหรือองค์กรนั้นๆแล้ว ซึ่งทำให้เกิดข้อดีแก่ผู้บริโภค เนื่องจากสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากขึ้น รวมถึงสามารถเปรียบเทียบข้อมูลข่าวสารก่อนการตัดสินใจได้
• ทำให้เกิดการบริโภคข่าวสารและก่อให้เกิดกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์สังคม เช่นมีการรวมกลุ่มกันของคนที่ทำสิ่งดีๆ เพื่อชาติเพื่อสังคม เคยมีการนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางเพื่อเตรียมทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเสิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์

วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ Social Media ต่อการบริโภคข่าวสาร

ข้อเสีย :
• เนื่องจาก Social Media คือเว็บไซต์ที่ข้อมูลข่าวสารจะถูกปรับเปลี่ยนโดยผู้ใช้บริการเอง ดังนั้นการลงข้อมูลข่าวสารบน Social Media เป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา บางครั้งอาจมีการตัดต่อปลอมแปลงข้อความก่อนส่งต่อ หรือการใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปในเนื้อหาข่าว ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาจจะบิดเบือนไปได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนรับข้อมูลข่าวสาร จะต้องมีการตรวจที่มาที่ไปของสาร รวมถึงต้องใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อเหล่านั้น
• หากผู้ใช้บริการนำ Social Media ไปใช้ในทางที่ผิด ก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการทำผิดได้ เช่นในเรื่องการเมือง หากใช้โฆษนาชวนเชื่อ บางคนบอกว่าสื่อสังคมเป็นผู้กำกับเช่นกลุ่มเฟซบุ๊คที่เรียกร้องให้ยุบและไม่ ยุบสภา รวมถึงพวกเว็บบอร์ดที่กลายเป็นเครื่องมือด้านการเมือง เพราะเว็บบอร์ดมีกลุ่มคนอยู่แล้ว การเอาเรื่องเข้ามาปลุกปั่นก็จะง่าย ที่สำคัญผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันสื่อ


การนำ Five Forces Model มาวิเคราะห์ Social Media

porter.jpg

1. ความเข้มข้นของการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Rivalry among existing firm)
การแข่งขันในอุตสาหกรรม Social Media มีสูง เนื่องจากมีผู้แข่งขันในตลาดหลายรายด้วยกัน นับเฉพาะที่เป็น Social Network ก็มีมากมาย เช่น Facebook Twitter Myspace Hi5 ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยโดยมีการแข่งขันกันในลักษณะของการพัฒนา Application ใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง ปรับรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมได้มากที่สุด และทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็น Friendly User
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์อื่นๆที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่าย ผู้ใช้ในประเทศไทย เช่น Google Me ที่มีการปรับ application ใหม่ๆเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงยังมีคู่แข่งภายในประเทศ อีก ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกับ ทวิตเตอร์ คือ Noknok และ Kapook OnAir ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ก็มีฐานผู้ใช้ในระดับหนึ่ง
ยังมีแนวโน้มว่าความเข้มข้นของอุตสาหกรรม Social Media จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนสามารถเข้าถึง Social Media ได้จากช่องทางต่างๆได้มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาจุด Hotspot ให้สัญญาณ Wi-Fi การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีค่าบริการถูกลงเรื่อยๆ รวมถึง Wi-Max และ เทคโนโลยี 3G ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในอนาคต จึงทำให้คนสามารถเข้าถึงสื่อสังคมได้ทุกที่ทุกเวลา และจะเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคข่าวสารของคนไปในเชิงของ Social Media มากขึ้นเรื่อยๆ

2.การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ (Potential New Entrants)
คู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้ามาสู่ธุรกิจได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาเรื่อยๆ เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเข้าสู่ธุรกิจไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามในสังคมออนไลน์ การที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้บริการเว็บไซต์ใดนั้น มีผลมาจาก Network Effect คือจำนวนคนที่เขารู้จักที่เล่นใน Social Media นั้นเช่นกัน ดังนั้นหากคู่แข่งรายใหม่จะสามารถแข่งขันได้ ก็จะต้องพัฒนา Application ต่างๆที่สามารถดึงดูดกลุ่มเครือข่ายให้ย้ายตามไปได้ โดยที่เขาไม่คำนึงถึง Switching Cost ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากพอสมควร

3.อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (The bargaining power of supplier)
อำนาจต่อรองต่อซัพพลายเออร์ค่อนข้างสูง เนื่องจาก ซัพพลายเออร์ของ Social Media คือ ผู้ให้บริการ Host ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลของ User ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายเจ้า ที่ธุรกิจจะสามารถเลือกพิจารณาถึง เทคโนโลยี ขนาดข้อมูลที่เก็บได้ ความเร็ว ฯลฯ จากผู้ให้บริการที่เหมาะสมที่สุดได้ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่สามารถพัฒนาระบบเก็บข้อมูลเองได้

4.อำนาจการต่อรองของลูกค้า (The bargaining power of buyer)
Social Media มีอำนาจต่อรองต่อลูกค้าต่ำ เนื่องจากมีผู้ให้บริการ Website Social Media หลากราย และมีการพัฒนา Application ใหม่ๆรวมถึงมีการปรับปรุง Platform ให้ Friendly User มากที่สุด ดังนั้นหากลูกค้าไม่พอใจก็สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการของคู่แข่งได้

5.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Substitute Products)
สินค้าทดแทน คือ สื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ ที่มีการปรับรูปแบบการให้บริการเหมือนกัน อาทิ บริการข่าวผ่าน sms หรือรูปแบบการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ซึ่งต้องดูต่อไปว่าจะมีการปรับรูปแบบกันอย่างไรอีก แต่อย่างไรก็ตามสื่อสังคมก็ยังมีความได้เปรียบสื่อกระแสหลักในเรื่องความ เร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าบริการ



---


ข่าวต้นฉบับ
'โซเชียลมีเดีย'กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร โดย : วริศ พันธุ์โอสถ
วันที่ 5 กรกฎาคม 2553 16:17
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20100705/341346/โซเชียลมีเดียกำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร.html
ตั้งแต่โซเชียลมีเดียเกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้ หน้าที่ของมันเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้า เช่นเฟซบุ๊คที่กลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการบริโภคข่าวสาร ปัจจุบันสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดีย (Social media) เช่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคม โดยเฉพาะในการบริโภคข้อมูลข่าวสารเวลาเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เช่นที่อิหร่านเมื่อปีที่แล้วที่สื่อกระแสหลักถูกรัฐควบคุม ในเมืองไทยเองเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็ถือว่าสื่อ สังคมมีส่วนสำคัญในการนำเสนอข่าวสารซึ่งรวดเร็วกว่าสื่อกระแสหลักเช่นทีวี หรือหนังสือพิมพ์มาก สื่อสังคมเป็นสื่อที่ใครๆ ก็นำเสนอข่าวได้หรือที่เรียกว่าผู้สื่อข่าวประชาชน ปัญหาของสื่อสังคมคือการที่ใครๆ สามารถนำเสนอข่าวทำให้มีทั้งข่าวเท็จ และข่าวที่เกินจริง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความแตกแยกมากกว่าสมานฉันท์ ซึ่งธุรกิจบัณฑิตย์โพลทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วยการสอบถามโยตรงและทางออนไลน์ พบว่าร้อยละ 42 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความแตกแยกในสังคมให้มากขึ้น และร้อยละ 30 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความสมานฉันท์
อย่างไรก็ตามร้อยละ 56 ไม่แนใจว่าข่าวจากสื่อสังคมเป็นข่าวลวงหรือจริงมากกว่ากัน และส่วนใหญ่(ร้อยละ 26) ให้ความเชื่อถือข่าวเพียงครึ่งเดียวจากสื่อสังคม

นายนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ ผู้สื่อข่าวจากเนชั่นแชนแนล หนึ่งในผู้ที่ใช้ทวิตเตอร์ในการสื่อข่าวและมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากกล่าวถึง เรื่องนี้ว่าต้องดูก่อนว่าสังคมมันแตกแยกอยู่แล้วหรือไม่ บทบาทของสื่อสังคมในช่วงวิกฤตทางการเมือง เป็นหมือนทั้งพระเอกและผู้ร้ายพร้อมๆ กัน ขึ้นกับคนฟังมากกว่า เพราะข่าวเดียวกันมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ถ้าเป็นข่าวที่คนนั้นชอบ นักข่าวก็จะกลายเป็นพระเอก ในทางกลับกันหากเป็นข่าวที่คนนั้นไม่ชอบ นักข่าวก็จะกลายเป็นผู้ร้าย

“สื่อเองก็ต้องทบทวนบทบาทตนเองบ่อยๆ” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวและว่า “บางทีเรากดข่าวที่แรงเกินไป ก็กลับมีคนมาบอกว่าในฐานะสื่อต้องแสดงออกมาหมด”

นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวว่าหน้าที่ของสื่อคือต้องนำเสนอแต่ความจริง ต้องสื่อให้มากที่สุด ต้องยอมรับว่าในบางสถานการณ์นักข่าวสามารถเปลี่ยนมุมมองของข่าวได้ แต่ข้อดีของทวิตเตอร์คือการรวมตัวกันของผู้ติดตามและคนที่ติดตามเหล่านี้จะ เป็นตัวกรองข่าวที่ดี เพราะจะคอยเช็กได้เวลานักข่าวเขียนผิด คนที่รายงานข่าวเท็จบ่อยๆ ความน่าเชื่อถือจะลดลงไปเอง สรุปแล้วสามารถกรองข่าวในระดับหนึ่งด้วยจำนวนคน
“ถ้าหากผมยังไม่มีคนเชื่อถือเหมือนตอนนี้ คนอื่นจะมากรอง การเป็นนักข่าวก็ต้องกรองเองอยู่แล้ว เช่นเราจะไม่บอกว่าระเบิดเอ็ม79 ลง บอกแค่ว่าเสียงระเบิดเหมือนเอ็ม 79” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าว

นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวว่าในการรายงานข่าวจะต้องเขียนให้อารมณ์ความรู้สึกน้อย กว่าอารมณ์จริง ตนเคยทำผิดพลาดที่เหตุปะทะที่ตลาดไท ตนได้ยินตำรวจคนหนึ่งบอกว่าสะใจที่ทหารตายเลยอัดวีดีโอแล้วนำไปเผยแพร่ ปรากฏว่าคลิปนั้นสร้างอารมณ์ให้คนรับข่าวมากเกินไป บางคนบอกมันเป็นใครจะไปจัดการ สุดท้ายก็เอาคคลิปนั้นออกไป ตอนนี้ทางเนชั่นกำลังร่างจริยธรรมการใช้สื่อสังคมในการเสนอข่าว
“บางคนไม่คิดจะกรองข่าวเลย ไปตัดต่อคลิปแล้วก็เผยแพร่ คือจะหลอกลวง ของเราถึงไม่ได้ตัดต่อก็ต้องกรองออกอยู่ดี เช่นมันจะเป็นการละเมิดคนอื่นหรือไม่” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าว
ส่วนการอาผิดคนปล่อยเรื่องเท็จนายนภพัฒน์กล่าวว่าจะเป็นเรื่องลำบากมากเพราะ ในสื่อสังคมมีทั้งคนจริงเช่นสิทธิชัย หยุ่น และคนปลอม

ส่วนนายพงศ์พัฒน์ เกิดอินทร์ ตัวแทนของกลุ่ม ทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์ (Twitter for Thailand) กล่าวว่า เชื่อว่าสื่อสังคมสามารถสร้างความสมานฉันท์ได้ ตัวทวิตเตอร์เองมีพลังเยอะมาก เช่นตอนวันเฉลิมพระชนม์พรรษา คำว่า We Love King กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโลกในทวิตเตอร์ ทั้งที่คนไทยที่เล่นทวิตเตอร์เป็นส่วนน้อยมากของประชากรทวิตเตอร์ทั้งโลก

กลุ่มทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์เป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่ทำสิ่งดีๆ เพื่อชาติเพื่อสังคม เคยมีการนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางเพื่อเตรียมทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตามนายพงศ์พัฒน์กล่าวว่า สื่อสังคมคงไม่ยิ่งใหญ่ขนาดทำให้เกิดการสมานฉันท์ แต่สื่อสังคมสามารถช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ได้ ทวิตเตอร์ดีตรงที่รวมตัวหรือความเห็นได้รวดเร็วมาก ถ้ารวมตัวทำดีก็สามารถทำดีได้มหาศาล เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเซิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์

ในเรื่องบทบาทของสื่อสังคมในช่วงวิกฤตการเมือง นายพงศ์พัฒน์กล่าวว่าเรื่องนี้ต้องมองรอบด้าน เพราะถึงแม้ทวิตเตอร์จะมีพลังมากแต่บางครั้งข่าวที่ส่งกันก็เชื่อถือได้แค่ ครึ่งเดียว ซึ่งตนก็จะไม่ส่งต่อไปเพราะไม่อยากให้เกิดความไม่แน่นอน

ในการสำรวจของธุรกิจบัณฑิตย์โพลระบุอีกว่าผู้ตอบแบบสอบถามติดตามเรื่องความ ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับนปช. ผ่านเฟซบุ๊คมากที่สุดถึงร้อยละ 39 รองลงมาคือยูทูบร้อยละ16และไฟว์ร้อยละ 15 อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสอบถามก็ยังรับข่าวสารจากสื่อกระแสหลักอยู่และร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ชื่อว่าสื่อสังคมถูกกลุ่มบุคคลใช้เป็นเครื่อง มือแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง

“อนาคตสื่อสังคมจะขยายขึ้นอีกแต่คงไม่สามารถแทนที่สื่อกระแสหลัก เพราะข่าวในสื่อสังคมส่วนใหญ่มาจากสื่อกระแสหลักอีกที เช่นวิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์อีกที แต่สื่อสังคมทำให้เราเลือกที่จะรับข่าวสารได้ และมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น” นายพงศ์พัฒน์กล่าว

ในเรื่องการควบคุมเนื้อหาในสื่อสังคมนายพงศ์พัฒน์กล่าวว่ากรณีที่มีการทำผิด พลาดแล้วออกมายอมรับก็มีอยู่ ในกลุ่มทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์ก็เคยคิดกันเรื่องการเซ็นเซอร์ แต่เห็นว่าคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะทวิตเตอร์เป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา บางครั้งอาจมีการตัดต่อปลอมแปลงข้อความก่อนส่งต่อ การตรวจที่มาที่ไปของสารจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนรับสาร

ผศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่าสื่อสังคมเป็นได้ทั้งผู้ร้ายและพระเอกเช่นเป็นผู้ร้ายหากใช้โฆษนา ชวนเชื่อ บางคนบอกว่าสื่อสังคมเป็นผู้กำกับเช่นกลุ่มเฟซบุ๊คที่เรียกร้องให้ยุบและไม่ ยุบสภา พวกเว็บบอร์ดที่กลายเป็นเครื่องมือก็มีเยอะ เพราะเว็บบอร์ดมีกลุ่มคนอยู่แล้ว การเอาเรื่องเข้ามาปลุกปั่นก็จะง่าย ที่สำคัญผู้บริโภคต้องเท่าทันสื่อ เพราะเดี๋ยวนี้มีการใช้เฟซบุ๊คในการประชาสัมพันธ์พรรคการเมืองหรือภาพลักษณ์ รัฐบาล สื่อสังคมก็จะตกเป็นเครื่องมือได้
บางครั้งนักข่าวสื่อกระแสหลักก็เอาข่าวจากสื่อสังคมไปนำเสนอโดยไม่ได้กรอง ซึ่งเรื่องพวกนี้ผู้บริโภคจะต้องคอยระวัง แต่ท้ายทีสุดแล้วสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับผู้รับสารก่อน ต้องเชื่อว่าผู้ใช้สื่อสังคมเป็นพลังบริสุทธิ์ ต้องเชื่อมั่นในผู้บริโภคและช่วยกันตรวจสอบ การใช้ภาพและภาษาที่จะดึงดูดก็อาจทำให้เกิดการใช้ภาพที่ไม่หมาะสมได้ ดังนั้นสังคมต้องเอาพวกดีเข้ามา และเอาพวกที่ไม่ดีออกไปจากสื่อสังคม

ส่วนเรื่องที่บางคนบอกว่าสื่อสังคมจะเป็นผู้เขียนบทของสังคม ผศ.ดร.กุลทิพย์กล่าวว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะความจริงทุกคนเขียนเองได้ มันเป็นกฎของประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องเป็นผู้ออกแบบสังคมเอง
นายนภพัฒน์จักษ์ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่าคงยาก ถ้ามองจากบทบาท ณ ปัจจุบันนั้น ตนไม่ได้อยากเป็นผู้เขียนบท แค่เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค

ในสังคมแตกแยกเล้วจะใช้สื่อเพื่อสร้างความสมานฉันท์อย่างไร มันยากเพราะที่สื่อเสนอความจริง สามเดือนที่ผ่านมาความจริงทำให้เกิดการแตกแยก สื่อก็ลำบาก ต้องระวังเรื่องความเห็น ตอนจะเริ่มเจรจากันตนถึงกล้าให้ความเห็นว่าการเจรจาเป็นความหวังสูงสุดของ ประเทศ หรือย่างตอนวันที่ 18 มิ.ย. ก่อนการสลายการชุมนุมซึ่งหน้าเวทีมีแต่เด็กและผู้หญิง ตนก็นำเสนอข่าวนี้ไปให้รัฐบาลรู้ว่าสภาวะการณ์เป็นอย่างไร และให้แกนนำรู้ว่าประชาชนทุกคนรู้ว่าเช่นกันว่าที่ชุมนุมเต็มไปด้วยเด็กและ ผู้หญิง

หลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบผ่านพ้นไป ดูเหมือนว่าบทบาทด้านการเมืองของสื่อสังคมก็ค่อยๆ ซาลงเช่นกัน แต่ในอนาคตสื่อสังคมคงจะมีบทบาทในด้านการเมืองเพิ่มขึ้น นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว. กระทรวงไอซีทีเคยออกมากล่าวว่าจะให้สส. และสว. ทุกคนมีทวิตเตอร์ ปัจจุบันนักการเมืองหลายคนใช้เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์เช่นนายกฯอภิสิทธิ์และใน อนาคตคงจะมีนักการเมืองอีกมากที่หันมาใช้สื่อสังคมเช่นเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20100705/341346/โซเชียลมีเดียกำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร.html
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20100303/103124/10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-Social-Media-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html
http://www.thairath.co.th/content/tech/80098
• เอกสารประกอบการเรียนวิชา MIS เรื่อง แนวโน้ม IT นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต โดย ผศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ

ระบบโทรคมนาคมเชื่อมโลกสู่เครือข่ายสังคม (Social Networking)




พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
settapong_m@hotmail.com
ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

อุษา ศิลป์เรืองวิไล
นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
Ref: torakom.com


ระบบโทรคมนาคมเชื่อมโลก

ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีการ รับ-ส่งข้อมูลผ่านบอร์ดแบนด์ (Broadband) หรือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Hi-Speed Internet) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นใน อัตราที่สูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2552 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 16.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13.4 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากมุมมองของการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตเทียบกับจำนวน ประชากรทั้งประเทศกลับพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อประชากรอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อ เทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น สาเหตุสำคัญที่สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยยังค่อนข้างน้อย เพราะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของผู้สมัครใช้งานอินเตอร์เน็ต

บรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้สายก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อ เนื่อง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่แนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบธรรมดาในระบบความถี่แคบ (Narrowband) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up) กลับเริ่มมีปริมาณการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 นอกจากนั้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด และมีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง คือการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G เพื่อให้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือสามารถรองรับการให้บริการภาพและเสียง และการรับส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี WAP, GPRS, EDGE และ Bluetooth เป็นต้น

จากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal McCann (www.universalmccann.com) ที่ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของคนทั่วโลกปี 2008 พบว่า คนส่วนใหญ่ 82.9% นิยมดู Clip VDO, 72.8% นิยามอ่าน Webblog, 63.2% นิยมเว็บไซต์แชร์รูปภาพ, 57.3% Update Profile บนเว็บ Social network, 45.8% การแสดงความคิดเห็น หรือ Comment, 38.7% เริ่มเขียนและมี Webblog เป็นของตัวเอง, 38.5% Upload VDO และแชร์บนเว็บไซต์ และ 33.7% เคยใช้ RSS feeds

ด้านรายงาน 20 อันดับของ Social Media ปี 2008 ที่จัดทำโดย ComScore (www.comscore.com) ผู้นำในการรวบรวมสถิติในโลกดิจิตอลพบว่า Blogger ยังคงความเป็นผู้นำด้วยยอดผู้เข้าใช้ว่า 222 ล้านรายทั่วโลก ตามมาด้วย Facebook มีจำนวนผู้ใช้ 200 ล้านราย ส่วนอันดับต่อมาคือ MySpace ด้วยยอดผู้ใช้ 126 ล้านราย Wordpress 114 ล้านราย Windows Live Spaces 87 ล้านราย ส่วนอันดับ 6-10 ได้แก่ Yahoo Geocities 69 ล้านราย Flickr 64 ล้านราย Hi5 58 ล้านราย Orkut 46 ล้านราย และ Six Apart 46 ล้านราย และพบว่า จำนวนผู้ใช้ twitter มีการเติบโตขึ้น 95% หรือประมาณ 51.6 ล้านราย

สำหรับประเทศไทยผู้ที่เข้าใช้ twitter ยังมีจำนวนไม่มากนักเพียง 300,000 ราย และส่วนใหญ่เป็น Generation Y และ Generation D (Digital) ซึ่ง Alexa (www.alexa.com) ระบุว่า คนไทยให้ความนิยม twitter ติดอันดับที่ 27 ของโลก ดังนั้น จะเห็นว่า พฤติกรรมบนโลกออนไลน์นั้นได้ก้าวเข้าสู่เว็บ 2.0 อย่างเต็มตัว

ด้วยข้อมูลอ้างอิงข้างต้น ทำให้เห็นว่า แนวโน้มของการบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะโลกของสังคมเครือข่าย (Social Networking) ทั้งการอัพโหลดข้อมูล การแชร์รูปภาพ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บบล็อก ต่างก็กำลังเข้าสู่กระแสของสังคม ความนิยมมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่อายุ 15-30 ปี ที่เรียกกันว่า Generation Y, Z หรือ D ที่เป็นนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนวัยทำงาน ทั้งระดับพนักงาน ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิชาชีพ รวมถึง นักการเมือง ศิลปิน ดารา และคนสูงอายุที่หันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ผ่านสังคม เครือข่ายนี้อย่างมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น การสังคมเครือข่ายยังสามารถเข้าถึงได้ไม่จำกัดเวลา (Time) และพื้นที่ (Space) เพราะทุกที่ ทุกเวลาสามารถทำการติดต่อสื่อสารได้หากสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ที่สำคัญโลกของการสื่อสารออนไลน์ก็ได้ย้ายเข้ามาสู่โทรศัพท์มือถือที่สามารถ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และมี แอไพลิเคชั่น รวมทั้งแพลตฟอร์มต่างๆ ให้สามารถใช้สื่อสารได้ เช่น เว็บไซต์ www.shozo.com หรือ www.qik.com ที่อัพโหลดรูปถ่ายไปยังเว็บไซต์โฟโต้แชร์ริ่ง อย่าง www.flickr.com โทรศัพท์มือถือจึงได้กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต ทำให้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงโลกของสังคมเครือข่าย และยังเป็นการเพิ่มปริมาณของคนในสังคมออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนที่คลั่งไคล้ความเป็นดิจิตอลที่อยู่ในยุคที่เรียกว่า Generation D: Digital ที่เป็นผู้รับนวัตกรรมดังกล่าวนี้เข้ามาใช้ ได้เข้ามามีอิทธิพลในการขับเคลื่อนสังคมเครือข่ายให้มีพลังมากยิ่งขึ้น ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบการสื่อสารได้มีวิวัฒนาการจากการใช้นกพิราบสื่อสาร ไปเป็นการใช้โทรเลข โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และเข้าสู่ยุคของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบในติดต่อสื่อสารมาแล้ว 2 ยุคนั่นคือ


ยุคเว็บ 1.0 ยุคของการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point-to-point) เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บ (Webmaster) กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการบนเว็บนั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) ที่ผู้ใช้เว็บไม่สามารถตอบโต้ หรือแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งรูปแบบหรือเนื้อหาที่สื่อสารถึงกันนั้นจะมีลักษณะเป็นการรับ-ส่งอีเมล์ (E-Mail), เข้าแชตรูม (Chat Room), ดาวน์โหลดภาพและเสียง หรือไม่ก็ใช้การค้นหาผ่านเว็บ Search Engine เพื่อหาข้อมูลหรือรายงาน รวมทั้งการใช้ Web board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น Instant Messaging Program หรือ IM อาทิ MSN, Yahoo Messenger, Google Talk, Chat และ ICQ

ในขณะที่ ยุคเว็บ 2.0 เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บกับผู้ที่ใช้เว็บแบบตอบโต้กันไปมาได้ เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งเนื้อหาบนเว็บนั้นนอกจากผู้สร้างเว็บจะเป็นคนนำเสนอข้อมูลแล้ว ผู้ที่เข้ามาอ่านก็สามารถสร้างเนื้อหาหรือตอบโต้กันเองได้และมีการสื่อสาร กันเป็นจำนวนมากจาก 1 ไปเป็น 2 3 จนกลายเป็นสังคมเครือข่าย (Social Networking) ซึ่งลักษณะของการสื่อสารกันนั้นจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน การแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีในลักษณะของการร่วมกันผลิตเนื้อหาและข้อมูลภายในเว็บ การร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) ขยาย (Extend) และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Connect) ระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน อีกทั้ง ยังมุ่งเน้นให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและเป็นรูปแบบที่มีความเฉพาะ ตัวของแต่ละบุคคล เช่น Wikipedia, Weblog, Facebook, Hi5, YouTube, Myspace, Twitter เป็นต้น และหากจะพิจารณาความแตกต่างของ เว็บ 1.0 และ 2.0 สามารถสรุปได้ดังนี้


Web 1.0
Web 2.0
Webmaster หรือคนดูแลเว็บไซต์เท่านั้นที่สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ในหน้าเว็บได้ สามารถสื่อสารตอบโต้ได้ทั้งผู้สร้างเว็บและผู้ใช้เว็บ (Interactive) เช่น บล็อกหรือการโพสต์กระทู้ต่างๆ
การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) สามารถสร้างปรากฏการณ์แบบปากต่อปากได้อย่างรวดเร็ว จากการแนะนำผ่าน Social Networking
ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงช้า และไม่ค่อยทันสมัย เพราะ
จะต้องรอ Webmaster เป็นผู้เปลี่ยนแปลงแก้ไขเท่านั้น
ผู้ใช้เว็บมีส่วนร่วมและเป็นผู้สร้าง Content ได้อย่าง
ไม่จำกัด และข้อมูลจะถูกตรวจสอบคัดกรองจากสมาชิกในเครือข่ายอยู่ตลอด เช่น Wikipedia


ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมการสื่อสารแบบออนไลน์ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของแนวโน้มการสื่อสารที่สำคัญใน 2 ด้าน ได้แก่

1. รูปแบบการสื่อสาร (Communication Platform) ที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point-to-point) และแบบสองทาง (Two-way) ไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน (Many-to-many) มากขึ้น และมีการใช้ลิงก์, วิดีโอ, ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น โดยการขับเคลื่อนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Net Generation ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป คนกลุ่มนี้ชื่นชอบการแลกเปลี่ยนเนื้อหา การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และเติบโตมาพร้อมกับแนวคิด “ความฉลาดของฝูงชน” (Wisdom of Crowds) อาทิ การทำหน้าที่ให้คะแนน จัดอันดับผู้ใช้คนอื่นๆ รวมถึงจัดอันดับสินค้าและบริการ เป็นต้น สังคมออนไลน์จึงกลายเป็นช่องทางการสื่อสารหลักสำหรับคนกลุ่มนี้ ซึ่งในอนาคตอาจเข้ามาแทนที่อีเมล หรือโทรศัพท์
2. การควบคุมการสื่อสาร (Communication Control) การเปลี่ยนบทบาทของผู้ให้บริการโทรคมนาคมจากที่เคยเป็นผู้ควบคุม และออกแบบแพลตฟอร์มแบบปิด (Web 1.0) ไปสู่ผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มเปิดบนอินเทอร์เน็ต (Web 2.0) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีขึ้นและมีราคาถูกลง รวมถึงการใช้บรอดแบนด์ และเครือข่ายไร้สาย (Wireless) เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แพลตฟอร์มแบบเปิดอย่าง เว็บไซต์สังคมออนไลน์ กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับบริการสื่อสาร และผู้บริโภคก็ตอบสนองต่อแนวโน้มนี้อย่างกว้างขวาง
Social Networking คืออะไร
จากแนวโน้มของการของการใช้อินเตอร์ เน็ตที่มีอัตราเร่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอัตราการเติบโตของธุรกิจด้านบอร์ดแบนด์และธุรกิจด้านการตลาด โทรศัพท์มือถือออนไลน์ (Mobile Online Marketing) ที่มีความรุนแรงมาก ขึ้นนั้น พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ จึงเริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมเครือข่าย (Social Networking หรือ บ้างก็เรียกว่า Social Media) กันมากขึ้น ดังนั้น เราควรที่จะเรียนรู้ว่า สังคมเครือข่าย หรือ Social Networking คืออะไร...
Social Networking หรือ Social Media คือ สังคม หรือการรวมตัวกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มคนรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏตัวบน โลกออนไลน์หรือทางอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า ชุมชนออนไลน์ (Community Online) ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเสมือน (Virtual Community) สังคมประเภทนี้จะเป็นการให้ผู้คนสามารถทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยมีการขยายตัวผ่านการติดต่อสื่อสารกันอย่างเป็นเครือข่าย (Network)เช่น เว็บไซต์ Hi5, Facebook, Myspace, YouTube, Twitter เป็นต้น
จากสถิติการใช้ Social Networking ข้างต้น ทำให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่ใช้งานไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มวัยรุ่นอีกต่อไป แม้ว่า เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น โลกของ Social Networking อาจมุ่งไปที่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มวัยรุ่น แต่เมื่อรูปแบบของแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น

การใช้งานจึงการกระจายไปยังกลุ่มวัยอื่น ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีการใช้ประโยชน์จาก Social Networking ที่แตกต่างกัน คือ
กลุ่ม Generation Z มีอายุอยู่ระหว่าง 6-10 ปี คือ กลุ่มที่มีอายุที่น้อยที่สุด ซึ่งเกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคเทคโนโลยี Digital และ web 2.0 เป็นพวกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เด็กกลุ่มนี้จะมีความต้องการใช้เทคโนโลยีสูงมาก เพราะนอกจากจะเป็นผู้ใช้แล้ว ยังเป็นผู้สร้าง หรือดัดแปลงเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองได้ด้วย ชอบความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัว นิยมที่จะใช้ Social Networking เพื่อเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเองผ่านเกมส์ออนไลน์ เช่น Ragnarok, Lunia, Mario
กลุ่ม Generation Y และ Generation D (Digital) มีอายุระหว่าง 15-30 ปี คือ กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) กลุ่มนี้เติบโตมาพร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร (IT) สมัย ใหม่ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลถึงชีวิตของพวกเขา ที่เห็นชัดเจนก็คือโทรศัพท์มือถือ Analog กับ Web 1.0 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการสื่อสารแบบไร้สาย ดังนั้น คนรุ่นนี้จึงนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ชอบความทันสมัยของเทคโนโลยีดิจิตอล จะใช้เพื่อความบันเทิงและการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มเพื่อน เช่น เล่นเกมส์ Download เพลง ภาพ หรือวีดีโอต่างๆ อย่าง Hi5, Facebook, YouTube คน กลุ่มนี้จึงเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรากฐานให้แก่สังคมในปัจจุบัน ซึ่งต่อไปในอีก10-20 ปีข้างหน้า พวกเขาก็จะก้าวขึ้นไปรับผิดชอบดูแลสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมา แทน Generation X
กลุ่ม Generation X มีอายุระหว่าง 30-45 ปี คือ กลุ่มคนวัยทำงาน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักการเมือง นักสื่อสารมวลชน เป็นกลุ่มที่รับเทคโนโลยีแบบผู้ใช้ (User + Consumer) เป็นส่วนมาก จะ ใช้ประโยชน์ในการสืบค้นหาข้อมูลข่าวสาร ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าโดยการใช้เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารการตลาด การค้นหาความรู้ การอ่านข่าวสารประจำวัน เช่น Wikipedia, Google Earth, Twitter, Webblog, Website ของสำนักข่าวต่างๆ
นอกเหนือไปจากการใช้งานที่แตกต่างกันตามช่วงวัยแล้ว รูปแบบของการใช้ประโยชน์จาก Social Networking ก็ได้ขยายไปยังกิจกรรมต่างๆ เช่น
ด้านการสื่อสาร (Communication) โดยเฉพาะถูกนำมาใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวสารผ่าน Website ของสำนักข่าว อย่าง ผู้จัดการออนไลน์ (Manager.co.th) เนชั่นชาแนล (Nationchannel.com) หรือ ที่อยู่ในรูปแบบของ Webblog อย่าง oknation.net ที่มีผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเป็น Blogger หรือกรณีของนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเป็นนักข่าวได้ เพียงมีมือถือ หรือกล้องถ่ายรูปดิจิตอลก็สามารถ upload ข้อมูลข่าวสารไปยัง Webbolg ต่างๆ ได้ โดยไม่มีการปิดกั้น
ด้านการศึกษา (Education) ถูก นำมาใช้ในการสืบค้น ความรู้ ข้อเท็จจริง ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่มักเรียกว่า สารานุกรมออนไลน์ ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ อย่าง Wikipedia หรือ Google Earth
ด้านการตลาด (Marketing) ซึ่ง ถือว่าเป็นส่วนที่นำ Social Networking มาใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ ได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าถึง สร้างความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้ดีและวัดผลได้ทันที เช่น การโฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ผ่านเว็บไซต์ของ Starbucks (mystarbucksidea.force.com) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาแสดงและบอกถึงไอเดียต่างๆ ที่ลูกค้ามีต่อ Brand และเมนูของ Starbucks หรือการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ของบริษัทที่นิยมใช้ Webblog ในการแจ้งรายการส่งเสริมการการขาย หรือการใช้ Twitter เช่น @WeLoveFuji, @naiin ที่เชิญชวนให้ลูกค้าเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน นอกจากนั้น ในปัจจุบันสื่อดังกล่าวยังถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่เรียกว่า Marketing Influencer ที่อาศัย Bloggers ใน Twitters ที่มีจำนวนผู้ติดตาม (followers) มาก มาเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการนำเสนอสินค้าหรือแนะนำสินค้า เป็นต้น
ด้านบันเทิง (Entertainment) เป็น อีกส่วนหนึ่งที่นิยมหันมาใช้ประโยชน์จาก Social Networking เช่น การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง การสร้างแฟนคลับ ผ่าน Facebook หรือ Hi5 หรือการให้ Download เพลง มิวสิควีดีโอ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งรูปภาพของดารา ศิลปินที่ชื่นชอบ เช่น เว็บไซต์ดาวน์โหลดเพลงของ GMM Grammy (www.gmember.com) หรือ Sanook.com ที่มีให้ดาวน์โหลดเพลงประกอบภาพยนตร์ (blogger.sanook.com)
เป็นต้น
ด้านสื่อสารการเมือง (Communication Political) กลุ่มนี้จัดได้ว่า เป็นกลุ่มที่สร้างกระแสนิยม (แจ้งเกิด) ให้กับ Social Networking ระดับโลกเมื่อ บารัค โอบามา ใช้เป็นเครื่องมือ
หาเสียงจนได้รับการรับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ (
http://www.youtube.com)
จนมาถึง อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย อย่าง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ก็มีการใช้ Twitter ในการสื่อสารทางการเมืองกับประชาชน (ThaksinliVE)
ด้วยประโยชน์ที่มีความหลากหลายในการใช้งาน ทำให้ Social Networking กลายเป็นเครือข่ายทางสังคมขนาดใหญ่ที่ถูกเชื่อมต่อกันด้วยรูปแบบที่เฉพาะ เจาะจง ทั้งด้านมุมมอง ความคิด การแลกเปลี่ยน มิตรภาพ ความขัดแย้ง การค้า ซึ่งเป็นไปตั้งแต่ในระดับบุคคลที่มีความใกล้ชิดไปจนถึงระดับชาติ Social Networking จึงเป็นการรวมกันเข้าไว้ซึ่งความผูกพันและความสนใจร่วมกัน
ประเภทของ Social Networking
สำหรับประเภทของ Social Networking อาจมีผู้เชี่ยวชาญในแขนง ต่างๆ ได้จัดแบ่งไว้ซึ่งมีความแตกต่างกัน สำหรับผู้เขียนขอสรุปประเภทของ Social Networking ไว้ 7 ประเภท ดังนี้

1.
การเขียนบทความ (Weblog) เป็นระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS) รูป แบบหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเขียนบทความที่เรียกว่า โพสต์(Post) และทำการเผยแพร่ได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ซึ่งอาจจะถูกนำมาใช้ได้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) Blog ที่จัดทำโดยบริษัท (Corporate Blog) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพูดจา สื่อสารกับลูกค้า เช่น Starbucks Gossip 2) Microblog มีลักษณะเป็นการโพสต์ข้อความสั้นๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษรและสามารถที่จะส่งข้อความสั้นๆ ไปยังโทรศัพท์มือถือได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดอินเทอร์เน็ตเข้าอ่านเหมือน Blog ทั่วไป ซึ่งก็คือข้อความที่จะบอกว่า “ตอนนี้คุณทำอะไรอยู่” เช่น Twitter 3) Blog ที่เขียนจาก Blogger อิสระ ที่มีความสามารถเขียนเรื่องที่ตนถนัด และมีผู้ติดตามจำนวนมาก ซึ่ง Blog ในรูปแบบหลังนี้ปัจจุบันนักการตลาดนิยมให้ Blogger ได้เข้ามาทดลองใช้สินค้า (Testimonial) แทนการใช้ดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แล้วให้ Blogger เขียนข้อความในลักษณะสนับสนุนหรือแนะนำสินค้า จนกลายเป็นกลยุทธ์ Marketing Influencer


2. แหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) เป็นเว็บที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะเนื้อหาอิสระ ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยมุ่งเน้นให้บุคคลที่มีความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านั้นเป็นผู้เข้ามาเขียนหรือแนะนำไว้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น Wikipedia ที่ เป็นสารานุกรมออนไลน์หลายภาษา, Google earth เว็บดูแผนที่ได้ทุกมุมโลกให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์, การท่องเที่ยวเดินทาง, การจราจร หรือ ที่พัก, dig หรือ diggZy Favorites Online เป็นเว็บทำหน้าที่เก็บ URL ของเว็บไซต์ที่ชื่นชอบไว้ดูภายหลัง เป็นต้น


3. ประเภทเกมส์ออนไลน์ (Online games) เป็น เว็บที่นิยมมากเพราะเป็นแหล่งรวบรวมเกมส์ไว้มากมาย จะมีลักษณะเป็นวิดีโอเกมส์ที่เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกมออนไลน์นี้ ผู้เล่นสามารถที่จะสนทนา เล่น แลกเปลี่ยน items ในเกมส์กับบุคคลอื่นๆ ในเกมส์ได้ และสาเหตุที่มีผู้นิยมมากเนื่องจาก ผู้เล่นได้เข้าสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะมีเพื่อนเล่นเกมไปด้วยกันมากกว่าการ เล่นเกมคนเดียว อีกทั้ง มีกราฟฟิคที่สวยงามมากและมีกิจกรรมต่างๆ เพิ่ม เช่น อาวุธ เครื่องแต่งตัวใหม่ๆ ที่สำคัญสามารถที่จะเล่นกับเพื่อนๆ แบบออนไลน์ได้ทันที เช่น SecondLife, Audition, Ragnarok, Pangya เป็นต้น

4. ประเภทชุมชนออนไลน์ (Community) เป็น เว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการตามหาเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันนาน การสร้าง Profile ของตนเอง โดยการใส่รูปภาพ, กราฟฟิคที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของเรา (Identity) ให้เพื่อนที่อยู่ในเครือข่ายได้รู้จักเรามากยิ่งขึ้น และยังมีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรื่องราว ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน เช่น Hi5, Facebook, MySpace, MyFriend เป็นต้น


5. ประเภทฝากรูปภาพ (Photo management) เว็บ ที่เน้นฝากเฉพาะรูปภาพ (Photo) โดยไม่เปลืองฮาร์ดดิสก์ส่วนตัว โดยการ Upload รูปภาพจากกล้องถ่ายรูป หรือโทรศัพท์มือถือไปเก็บไว้บนเว็บ ซึ่งสามารถแชร์ภาพหรือซื้อขายภาพกันได้อย่างง่ายดาย เช่น Flickr, Photoshop Express, Photobucket ฯลฯ เป็นต้น

6. ประเภทสื่อ (Media) เว็บ ที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน (Sharing) ไฟล์ประเภท Multimedia อย่าง คลิปวีดีโอ ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็น Multimedia เช่น YouTube, imeem, Bebo, Yahoo Video, Ustream.tv ฯลฯ เป็นต้น

7. ประเภทซื้อ-ขาย (Business / commerce) เป็น เว็บที่ทำธุรกิจออนไลน์ที่เน้นการซื้อ-ขายสินค้า หรือบริการต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ (E-commerce) เช่น การซื้อ-ขายรถยนต์ หนังสือ หรือ ที่พักอาศัย ซึ่งเป็นเว็บที่ได้รับความนิยมมาก เช่น Amazon, eBay, Tarad, Pramool ฯลฯ แต่เว็บไซต์ประเภทนี้ยังไม่ถือว่าเป็น Social Network ที่แท้จริง เนื่องจากมิได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแชร์ ข้อมูลกันได้หลากหลาย นอกจากเน้นการสั่งซื้อและแนะนำสินค้าเป็นส่วนใหญ่

การแพร่กระจายและการยอมรับของ
Social Networking

ปรเมศวร์ กุมารบุญ ที่ปรึกษากลยุทธ์ธุรกิจโทรคมนาคม ได้กล่าวไว้ในบทความ “มารู้จักทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม” ตอนหนึ่งว่า “การที่สังคมมนุษย์จะมีการใช้เทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใดในสังคมได้ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประดิษฐ์ และผู้ใช้ในสังคม (Interactive between Innovator and User) กลับไปกลับมาหลายครั้งจนเกิด “การยอมรับ” หรือที่เรียกว่า Technology Adoption” ดังนั้น กระแสของการใช้ Social Networking ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่นั้น จึงเกิดมาจากกระบวน การถ่ายโอนพฤติกรรมและความคิดของคนกลุ่มคนแรก (Innovator) ในสังคมที่ชอบในความทันสมัยของเทคโนโลยี มีการทดลองใช้งานจนเกิดการยอมรับ แล้วจึงสื่อสารหรือถ่ายทอดต่อไปยังกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักการตลาดให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จาก ทฤษฎีของ Everett M. Roger ที่ว่าด้วย Diffusion of Innovation: DOI” ซึ่ง เป็นการอธิบายถึงการเผยแพร่ (Diffusion) นวัตกรรมให้ได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย โดยเริ่มจากผู้ที่มีศักยภาพที่จะรับนวัตกรรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวนวัต กรรมนั้น จนมีความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมอย่างดี และถูกชักนำโน้มน้าวให้เชื่อถือในตัวนวัตกรรม หลังจากนั้น จะมีการตัดสินใจว่าจะรับเอานวัตกรรมนี้มาใช้ เมื่อตัดสินใจแล้วก็ลงมือปฏิบัตินำเอานวัตกรรมสู่การปฏิบัติ และขั้นสุดท้ายคือ การยืนยัน (หรืออาจจะปฏิเสธ) การตัดสินใจยอมรับและใช้นวัตกรรมนั้นต่อไป ฉะนั้น การเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการที่นวัตกรรม (Innovation) จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางของการสื่อสาร(Communication Channels) ในช่วงเวลาหนึ่ง (Time) กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง (Social System) ให้เกิดการยอมรับ (Adoption) ซึ่งลักษณะของนวัตกรรม (Innovation) มีดังนี้
1. เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
2. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ต่อมาได้มีการนำมาใช้ประโยชน์
3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและเคยนำมาใช้ในช่วงเวลาหนึ่งแต่ไม่ได้รับความนิยม ต่อมานำมาใช้ใหม่ภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขใหม่ที่เปลี่ยนไป
4. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ดีในสังคมอื่น หรือประเทศอื่น แล้วนำมาใช้ในอีกสังคมหนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่ง
5. เป็นการพัฒนาปรับปรุงจากของเดิมที่มีอยู่ให้มีลักษณะต่างจากต้นแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ดังนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Social Networking สำหรับประเทศไทยจึงจัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็น “สิ่งใหม่” ที่มีอยู่แล้วในสังคมอื่น (ต่างประเทศ) แล้วประเทศไทยนำมาใช้ ส่วนลักษณะของกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายของนวัตกรรม Roger ได้แบ่งไว้เป็น 5 ลักษณะคือ
1. Innovators มีจำนวนเพียง 2.5% ของคนทั้งหมดที่จะใช้นวัตกรรม จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้ทันที คนกลุ่มนี้มีลักษณะกล้าเสี่ยง และมีความเป็นนักนวัตกรรมสูง มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ จึงมีความพร้อมจะยอมรับ และมีศักยภาพที่จะรับได้อย่างรวดเร็ว เช่น โปรแกรมเมอร์ นักประดิษฐ์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อย่าง www. Pantip.com ที่เริ่มต้นจาก Webboard มาสู่ Webblog หรืออย่าง เว็บข่าวอย่าง www.Oknation.net ที่ให้สมาชิกสามารถนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้ ซึ่งทั้งสองเว็บนี้ถือว่าที่เป็นคนกลุ่มแรกที่นำ Social Networking เข้ามาใช้ในการสื่อสารออนไลน์เพื่อสร้างสังคมเครือข่าย
2. Early Adopters กลุ่มนี้มีจำนวน 13.5% เป็นกลุ่มที่ยังมีความเชื่องช้าในการรับนวัตกรรมกว่าพวกแรก แต่ก็ยังไวต่อการรับนวัตกรรมหลังจากทราบว่ามีกลุ่ม Innovators ได้ยอมรับไปแล้ว เป็นกลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ อาจเป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม เช่น ดารา หรือนักการเมือง ที่มีการสร้าง Webblog, Facebook หรือ Twitter เพื่อให้คนเข้ามาติดตาม หรือเพื่อเป็นการสร้างกลุ่มแฟนคลับ
3. Early Majority มีจำนวนมากถึง 34% กลุ่มนี้จะตัดสินใจได้จะต้องผ่านการพิจารณาหลายรอบ นวัตกรรมต้องมีลักษณะการใช้งานง่าย และมีประโยชน์ การตัดสินใจเลือกนวัตกรรมมักดูจากการตัดสินใจของสองกลุ่มแรก ลักษณะของคนกลุ่มนี้อาจเป็นคนวัยทำงาน หรือคนที่ไม่กล้าเสี่ยงกับนวัตกรรมหรือความเป็นไฮเทคโนโลยีทันที จนกว่าจะเห็นว่ามีความสำคัญหรือความจำเป็นจริงๆ
4. Late Majority ถือเป็นคนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวนประมาณ 34% กลุ่มนี้จะมีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมช้า และจะใช้เมื่อมีความจำเป็นต้องการใช้งานจริงๆ ซึ่งกว่าที่จะยอมรับนวัตกรรม เทคโนโลยีนั้นอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้ว คนกลุ่มนี้อาจยอมรับนวัตกรรมใหม่เมื่อสังคมส่วนใหญ่ได้หมดความนิยมใน เทคโนโลยีนั้นแล้ว
5. Laggards มี จำนวน 16% เป็นกลุ่มที่ต่อต้านนวัตกรรม ถ้าจะยอมรับก็ยอมรับอย่างเสียมิได้ หรืออาจจะไม่ยอมรับเลยตลอดไป คนกลุ่มนี้เป็นอาจอยู่ในกลุ่มของคนยุค Baby Boomer คือ รุ่นคุณตา คุณยาย หรือยุคพ่อ แม่ที่ไม่ได้ใส่ใจและยอมรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
สำหรับความนิยมของ Social Networking ผู้เขียนเห็นว่า กลุ่มคนในสังคมที่ทำให้เกิดกระแสความนิยมนั้นคือ กลุ่มผู้นำทางความคิด หรือ กลุ่มของคนที่มีชื่อเสียง (Early Adopters) อย่างดารา คนดัง ผู้เชี่ยวชาญ นักการเมือง หรือที่นักการตลาดเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ไอคอน” (Icon) เพราะ คนกลุ่มนี้คือผู้นำในการแพร่กระจายนวัตกรรมไปสู่กลุ่มคนส่วนใหญ่ของสังคม แต่ทั้งนี้ ก็มิใช่ทุกคนที่จะยอมรับนวัตกรรมนี้ เพราะยังมีกลุ่มคนในสังคมอีกมากที่มีพฤติกรรมในการสื่อสาร และการชีวิตประจำวันที่ไม่ได้อาศัยประโยชน์จาก Social Networking

กระแสความนิยม Social Networking ในประเทศไทย

การที่สังคมหนึ่งจะยอมรับเทคโนโลยีหรือ นวัตกรรมใหม่ไปใช้ในชีวิตประจำวันนั้น จำเป็นต้องอาศัยการแพร่กระจายและถ่ายทอดนวัตกรรมจากกลุ่มคนกลุ่มแรกของสังคม ที่มีการยอมรับมาก่อน ไปยังกลุ่มคนในสังคมอื่นๆ ให้ยอมรับตามไปด้วย แต่การยอมรับนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่

1. ตัวเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม (Technology or Innovation) ศักยภาพ หรือความสามารถในการใช้งานได้มากหรือดีกว่าเทคโนโลยีเดิมหรือของที่มีอยู่เดิมได้มากน้อยเพียงใด (Relative Advantage) เทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับค่านิยม ประสบการณ์ และความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ (Compatibility) ง่ายต่อการนำไปใช้ (Complexity) สามารถทดลองใช้ได้ก่อนหรือไม่ (Trialability) และสามารถสังเกตเห็นผลได้ชัดเจน (Observeability) เพียงใด

2. ผู้ใช้นวัตกรรม (Users) ความ แตกต่างกันทั้งด้านเพศ การศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม ย่อมมีผลต่อระดับการยอมรับนวัตกรรมช้า-เร็วต่างกัน เช่น คนที่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความ รู้นานกว่าคนที่เชี่ยวชาญในการใช้อินเตอร์เน็ต หรือคนยุคเก่า หัวโบราณอาจไม่ยอมรับนวัตกรรมใหม่เพราะมีความเชื่อว่า เทคโนโลยีจะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อสังคม

3. ผู้ทรงอิทธิพล (Influencers) บุคคล ที่ถ่ายทอดนวัตกรรมต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสาร มีความรู้ มีความสามารถ มีความน่าเชื่อ และมีประสบการณ์ จึงจะสามารถโน้มน้าวใจ และเผยแพร่นวัตกรรมให้เกิดการยอมรับได้

4. สภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม (Environmental Factors) ปัจจัย แวดล้อมของแต่ละสังคมจะมีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมใหม่ เช่น หากกลุ่มวัยรุ่นเห็นว่าเพื่อนในกลุ่มมีการใช้งาน Social Networking กันมาก ก็มักจะใช้ตามเพื่อน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน หรือ นักการตลาดที่มักใช้ Social Networking เป็นช่องทางในการสื่อสารกับผู้บริโภคมากขึ้น

ปัจจัยดังกล่าวจึงต่างมีส่วนช่วยสนับสนุนการยอมรับนวัตกรรมให้รวดเร็ว ขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถ้าหากปัจจัยใดส่งผลในทางบวกน้อย อัตราการยอมรับนวัตกรรมของผู้รับก็จะเริ่มช้าลง หรือหากมีปัจจัยใดส่งผลในทางทางลบก็จะเกิดการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับนวัตกรรม นั้นๆ


สำหรับประเทศไทยในยุคปัจจุบันนั้น แม้ว่าจะมีกระแสความนิยม Social Networking มาก แต่ภายในปี 1-2 ปีนี้คงจะยังไม่ใช่สื่อหลัก (Mainstream Media) หากแต่เป็นเพียงสื่อเสริม หรือสื่อทางเลือก (Alternative Media) เท่านั้น เนื่องด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. วัฒนธรรมกระแสนิยม : ด้วย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเปิดที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายและเร็วเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้ประโยชน์กันเพียงเพื่อความบันเทิงที่เป็นไปตาม กระแสนิยม (Trend) มากกว่ามุ่งใช่เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อเหล่านี้อาจเป็นไปในลักษณะคลั่งไคล้ชั่วระยะหนึ่ง (Fad) ที่กระทำกันเหมือนเป็นแฟชั่นที่เห็นว่า ใครมี ก็ขอมีด้วย โดยเฉพาะเมื่อผู้นำทางสังคมอย่างดาราหรือนักการเมืองที่เป็นกลุ่มแรกๆ ในการนำสิ่งเหล่านี้เข้าสู่สังคม วัยรุ่นจึงต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อยากเป็นเหมือนดารา หรือคนดัง อีกทั้ง กลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีนิสัยชอบความแปลกใหม่ ทันสมัย ยอมรับสิ่งใหม่อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็เบื่อเร็ว อย่างกรณี Hi5 ที่เมื่อ 1-2 ปี นิยมเล่นกันทั่วไป แต่เมื่อมีของใหม่อย่าง Facebook ที่มีเกมส์ มี Application มากกว่า ใหม่กว่า และชวนให้หลงใหลมากกว่า Hi5 ก็ถูกลดความนิยมลงไป

2. สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันมาก : เห็น ได้จากสังคมไทยยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม ระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ยังไม่ทั่วถึง ระดับของรายได้ก็แตกต่างกันมาก การให้ความสำคัญ หรือความจำเป็นในการใช้ Social Networking คงมีแต่คนในสังคมเมืองเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสารรูปแบบนี้

3. สื่อมวลชนยังคงเป็นสื่อหลักในการนำเสนอข่าวสาร : สื่อมวลชน (Mass Media) อย่าง โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิวต่างๆ ยังคงถูกนำมาใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข่าวสาร การให้ความรู้ การรับชมรายการโทรทัศน์ ฟังวิทยุ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการต่างๆ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ยังคงทุ่มค่าใช้จ่ายไปที่สื่อมวลชนเป็นหลัก โดยมีการนำ Social Networking อย่าง YouTube, Wikipedia หรือ Twitter มาใช้เป็นสื่อเสริมหรือสื่อทางเลือก (Alternative Media) ควบคู่กันไป

4. ความเชื่อถือในสื่อหลัก : คนส่วนใหญ่ในสังคมยังคงมีพฤติกรรมในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากสื่อหลักหรือสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เนื่องจากสื่อหลักสามารถเข้าถึง สร้างความครอบคลุมคนในทุกระดับชั้น ทั่วประเทศ และเป็นสื่อที่มีมานาน คนในสังคมจึงยังคงให้ความเชื่อถือแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ผ่านมาจากสื่อหลัก มากกว่า อีกทั้ง คนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยยังคงปิดกั้นและต่อต้านนวัตกรรมใหม่ที่อาจมีผลกระทบ ต่อวิถีการดำเนินชีวิตแบบไทย (Laggards)

5. อินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ : แม้ว่าพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในสังคมไทยจะมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นช่องทางขยายการตลาดออนไลน์ ทั้งบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ต และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่ศักยภาพของเครือข่ายก็ยังไม่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ยังคงมีอีกหลายพื้นที่ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือหากเข้าถึงแล้ว ก็ยังไม่สามารถใช้ศักยภาพของเครือข่ายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. กระแสเริ่มต้นสังคมเครือข่ายออนไลน์ : อัตรา การเติบโตของพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของไทยนั้น เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกันถือว่าช้ามาก และยังมีจำนวนน้อย คงต้องใช้เวลาอีก 5-10 ปี กว่าที่คนไทยจะมีพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตกันอย่างเป็นกิจวัตร หรือใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

ดังนั้น แนวโน้มของ Social Networking ที่ว่าจะกลายเป็นสื่อหลัก (Mainstream) ในสังคมไทยหรือไม่นั้น อาจจะต้องใช้เวลาอีก 10-20 ปี เพราะทั้งอัตราการใช้อินเตอร์เน็ต และพฤติกรรมการใช้ Social Networking เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกันยังต่ำ คนในสังคมไทยยังคงมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ไม่มากนัก ซึ่งเห็นได้จากการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ยังคงให้ความสำคัญและมีความเชื่อ ถือในตัวสื่อมวลชน (Mass Media) อย่างโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ จะมีก็แต่กลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบัน (Generation Y, Z หรือ D (Digital)) ที่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มให้ความสำคัญและบริโภคสื่อนี้มากขึ้นทุกขณะ และในอนาคตหากวัยรุ่นกลุ่มนี้เติบโตขึ้นก็อาจจะกลายเป็นพลังอำนาจทางการสื่อ สารที่ทำให้กระแส Social Networking กลายเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น จนนำไปสู่การใช้ประโยชน์และบริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อนี้กันอย่างจริงจัง มิใช่เป็นเพียงกระแสสังคม หรือความนิยมระยะสั้นเท่านั้น เมื่อถึงวันนั้น Social Networking ก็มีแนวโน้มว่าอาจกลายเป็นสื่อหลัก (Mainstream Media) สำหรับสังคมไทยได้ในที่สุด

บทสรุป : Social Networking กระแสนิยมหรือแนวโน้มทางการสื่อสาร

กระแสนิยม หรือ แฟชั่น (Fashion) คือ ความนิยม ความคลั่งไคล้ ที่มีลักษณะแบบฉาบฉวย นิยมเร็ว เบื่อเร็ว เป็นไปตามแฟชั่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม การยอมรับในสังคม ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเทคโนโลยี เรื่องราว หรือพฤติกรรมต่างๆ ได้ถูกละเลยหรือมีสิ่งใหม่เข้ามาทดแทน สิ่งนั้นก็จะไม่เป็นกระแส (ความนิยม) ต่อไป

แนวโน้ม หรือ เทรนด์ (Trends) คือ การที่สังคมยอมรับ (Adoption) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม เทคโนโลยีหรือความคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ส่วนคำว่า “สื่อหลัก” (Mainstream Media) คือ ช่องทางการสื่อสารที่คนทั่วไปในสังคมให้ความสำคัญและมีความจำเป็นต้องใช้ใน การติดต่อสื่อสาร หรือบริโภคข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยสามารถใช้สื่อเหล่านั้นเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง และสร้างความเชื่อถือได้

Social Networking ในปัจจุบันอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ “กระแสความนิยม” ในลักษณะวิ่งตามแฟชั่น (Trends) เท่านั้น และความนิยมดังกล่าวจะยังกระจุกตัวอยู่ในสังคมเมือง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งกำลังอยู่ในยุค Net Generation ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมที่มีความนิยมในการใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Networking สูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการยอมรับในสังคม แต่ในอีก 10-20 ข้างหน้า เมื่อคนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับพัฒนาการของเทคโนโลยี พวกเขาจะกลายเป็นกลุ่มพลังสำคัญในการผลักดันให้อัตราเร่งของการใช้งาน Social Networking เพิ่มมากขึ้น อย่างต้าน

ไม่อยู่ และอาจกลายเป็น “สื่อหลัก” (Mainstream Media) แห่งการสื่อสาร สื่อที่ทุกคนในสังคมต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารแทนที่สื่อเดิม (Traditional Media) ที่ปัจจุบันกำลังถูกลดบทบาทลง เพราะตราบใดที่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุด ยั้ง มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย มีเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง 3G หรือ 4G ที่สามารถทำให้การติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น และตอบสนองได้อย่างทันทีทันใด (Real Time) รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือก็มีราคาถูก ผู้ให้บริการต่างก็หันมาพัฒนารูปแบบการให้บริการที่มีราคาไม่แพงและสามารถ ตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ กลุ่มวัยรุ่นที่เคยเป็นผู้นำกระแสความนิยมในยุคปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมที่มีบทบาทในการใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอนาคตคนในสังคมโลกมีแนวโน้มว่าอาจต้องใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร และเป็นไปได้ว่า รูปแบบการสื่อสารในสังคมโลกยุคต่อไปจะดำรงอยู่บนโลกเสมือนจริง (Virtual Communication) มากกว่าการสื่อสารที่อยู่บนโลกของความเป็นจริง ดังนั้น เราคงต้องให้ระยะเวลาเป็นตัวขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็น ค่อยไป...


อ้างอิง
http://starbucksgossip.typepad.com/
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2546). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง ทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม ให้กับนักศึกษาปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.4 ตุลาคม 2546.
รศ. ยืน ภู่วรวรรณ. ไอทีกับแนวโน้มโลก. http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/tech_it.html
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. เครือข่ายสังคม (Social Network) กรณีศึกษา: ยูทูบ (YouTube) วิดีโอ ออนไลน์ สื่อเพื่อสร้างสรรค์หรือเพื่อทำลายล้าง???. www.our-teacher.com/our-teacher/.../24-youtube.pdf

Sep 1, 2010

ผลวิจัยชี้โซเชียลมีเดียถูกใช้สร้างขัดแย้ง

มีเดียมอนิเตอร์เผยผลศึกษาเครือข่ายสังคมออนไลน์พบถูกใช้เป็น เครื่องมือสร้างความขัดแย้งแตกแยกเป็นหลักทั้งเฟซบุ๊ก-เว็บบอร์ด-ฟอร์เวิร์ด เมล-ทวิตเตอร์

นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) ได้นำเสนอผลการศึกษาเรื่องปรากฎการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในเครือข่าย สังคมออนไลน์ โดยพบว่า เครื่องมือการสื่อสารในสังคมออนไลน์ 4 อย่างคือ เว็บบอร์ด ฟอร์เวิร์ดเมล เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ล้วนกลายเป็นเครื่องมือที่สร้างความแตกแยกเป็นหลัก

 
นายธาม นำเสนอผลการศึกษาโวเชียลมีเดีย

ทั้งนี้ในเครือข่ายเฟซบุ๊กมีการตั้งกลุ่มผ่านชื่อที่มีเป้าหมายทางการ เมืองชัดเจน ซึ่งเป็นตัวจุดกระแสให้เกิดกลุ่มอื่นๆตามมาอีกมาก รวมทั้งมีการสอดแนม เผ้าระวังการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามเพื่อนำมาประจาณ ประณามต่อสาธารณะ

ขณะที่เว็บบอร์ดได้กลายเป็นพื้นที่ที่มีการโต้เถียงอย่างดุเดือด มีการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามด้วยข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าจริงเท็จเช่นไรและมัก เข้าข้างฝ่ายตนมานำเสนอ ส่วนฟอร์เวิร์ดเมล ได้กลายเป็นเครื่องในการแพร่กระจายรายละเอียดพฤติกรรมบุคคล ข้อมูลส่วนตัวและครอบครัว และชักจูงโน้มน้าวให้มีความเกลียดชัง บอยคอตฝ่ายตรงข้าม

ด้านทวิตเตอร์ แม้จะเข้ามามีบทบาทในลักษณะของการนำเสนอข่าวสารอย่าวรวดเร็วแบบนาทีต่อนาที แต่ก็มีข้อบกพร่องในแง่ของความสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือของเนื้อหา
ทั้งนี้พบว่าในทุกๆเครือข่ายช่องทางจะมีการสร้างความเกลียดชัง และการปฏิเสธการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการใช้ วาจาที่แสดงความเกลียดชัง เช่น การเสียดสี ประชดประชัน ส่อเสียด ซึ่งทำให้ความขัดแย้งครอบคลุมในทุกมิติของสังคม นอกจากนี้ยังรุนแรงถึงขั้นประกาศว่าคนอีกฝ่ายไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่มนุษย์ ไม่สามารถอยู่ร่วมประเทศหรือสมควรแบ่งแยกประเทศ

นายธามเสนอว่า การสื่อสารในสังคมออนไลน์สามารถนำมาใช้เป็นกลวิธีเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ทางการเมือง 5 วิธีดังนี้

1.การรวมกลุ่มโดยมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารสร้างความสามัคคี ผ่านกิจกรรมในทางสร้างสรรค์ปลอดความรุนแรง สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความเห็นทางการเมือง รวมทั้งการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

2.การแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ ในลักษณะประนีประนอม สร้างความรู้สึกคิดเห็นที่สุภาพผ่านการสนทนาแลกเปลี่ยนในเชิงมิตรภาพ

3.การตรวจสอบเฝ้าระวังการรายงานข่าวของสื่อ เพื่อสำรวจเนื้อหาการรายงานข่าวของทั้งสื่อไทยและต่างประเทศ ที่อาจมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อน และมีกระบวนการสืบค้นหาข้อเท็จจริงจากแหล่งข่าวอื่นๆมาตรวจสอบอย่างเสรี

4.การสร้างกลุ่มสื่อสารตรวจสอบ ขุดคุย นำเสนอข้อมูลความจริง และความรู้ที่ปราศจากอคติ ซึ่งเกิดขึ้นน้อยมากในปัจจุบัน โดยจะเป็นการนำข้อเท็จจริงต่างๆมาร่วมเผยแพร่ อาทิ ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ หลักฐาน ภาพถ่าย วีดีโอ ข่าวเก่า บทความวิชาการที่เกี่ยวข้อง

5.การสื่อสารวาทกรรมสันติภาพ การให้อภัย ความรักสามัคคี ซึ่งพบในทุกช่องทางสื่อสาร โดยบุคคลที่โพสต์ข้อความเหล่านี้มักใช้วาทกรรมในลักษณะวางตนเองเป็นผู้ ประสาน ประนีประนอม เป็นกลาง ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งลกบรรยากาศความรุนแรงทางการเมืองจากการวิวาทะลง

ผลการศึกษายังระบุด้วยว่าในเฟซบุ๊ก มีการตั้งกลุ่มทางการเมืองถึง 1,307 กลุ่ม โดยกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์ไปในทางเดียวกันมากที่สุดคือ กลุ่มต่อต้านคนเสื้อแดง 423กลุ่มคิดเป็น32.4% กลุ่มรักในหลวง/รักสถาบัน 144กลุ่ม 11% กลุ่มรักประเทศไทย 121กลุ่ม 9.3% กลุ่มสนับสนุนเสื้อแดง 118 กลุ่ม 9% กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล 77กลุ่ม 5.9% กลุ่มต่อต้านรัฐบาล 74กลุ่ม 5.7%

ขณะที่เนื้อหาการสื่อสารในทวิตเตอร์แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มที่เผยแพร่ข่าวการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักข่าวหรือองค์กรสื่อ กลุ่มที่เน้นวิพากษ์วิจารณ์การเมือง กลุ่มที่เน้นข้อมูลการจราจร กลุ่มเนื้อหาที่เน้นด้านธรรมะ และ กลุ่มที่เน้นการพูดคุยทั่วไป

---

posttoday.com

Comparing Political Cultures Through Political Websites

Australian Federal Election 2010 Social Media